Category: activities
อบรมเชิงปฏิบัติการ LEGO/logo ให้แก่พนักงานจากบริษัท เบทาโกร จำกัด
เมื่อวันที่ 29-30 มกราคม 2558 สถาบันการเรียนรู้ได้จัดการ
LEGO EDUCATION: STEM CAMP
วันที่ 25-26 มีนาคม 2558 คณะครุศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้เชิญบุคลากรของสถาบันการเรียนรู้ไปจัดกิจกรรมอบรม LEGO EDUCATION ภายในงาน “ส่งเสริมการพัฒนากลุ่มผู้เรียน ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศ” ซึ่งน้องๆที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้ฝึกฝนทักษะการคิดและเรียนรู้ด้วยตนเองตามหลักทฤษฏี Constructionism ผ่านการลงมือทำชิ้นงาน LEGO นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมแข่งขันโครงการ LEGO ของน้องๆที่เข้าร่วมการอบรม เพื่อความท้าทายและความสนุกสนานในการเรียนรู้
กว่าจะมาเป็นจิตตปัญญาศึกษา มหิดล (CoPs ครั้งที่ 11)
เมื่อวันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2558 สถาบันการเรียนรู้ ร่วมกับ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา ผ่านกระบวนการ Facilitate เพื่อรองรับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกผ่านการทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ณ.อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้ ชั้น14 ซึ่งกิจกรรมเรียนรู้ประสบการณ์ตรงผ่านกระบวนกรมืออาชีพ ครั้งที่11ในหัวข้อ กว่าจะมาเป็นจิตตปัญญาศึกษา มหิดล ได้เชิญ ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร รองผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล มาเล่าความเป็นมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกลุ่มภาคี ที่มีสมาชิกด้านการศึกษาที่สนใจในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และสลับกันมาถ่ายทอดเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆ พร้อมทั้งถอดองค์ความรู้เพื่อ นำมาปรับใช้ และพัฒนาหลักสูตรการสอน จนกลายมาเป็นจิตตปัญญาศึกษาในปัจจุบัน
โครงการพัฒนาบุคลากรใหม่สายวิชาชีพ
วัตถุประสงค์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่ใฝ่เรียนรู้ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงพยายามสนับสนุนให้อาจารย์และนักวิจัยแสวงหาความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง สถาบันการเรียนรู้ได้รับมอบหมายให้ทำงานร่วมกับส่วนพัฒนาทรัพยากรบุคคล ในการจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรใหม่สายวิชาการ โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 เพื่อพัฒนาอาจารย์และนักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีความเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม อีกทั้งได้รับรู้และเข้าใจบริบทของมจธ. ให้ครบทุกด้าน ทั้งนี้เป้าหมายหลักในการพัฒนาบุคลากรใหม่มี 4 ประการ คือ 1. การสร้างความเป็นครูมืออาชีพตามแบบของ มจธ. 2. การพัฒนาความสามารถด้านการวิจัย 3. การมีจิตอาสาในการบริการวิชาการ 4. การทำความรู้จัก มจธ.
ผู้เข้ารับการพัฒนา
พนักงานใหม่สายวิชาการ (อาจารย์และนักวิจัย) ที่บรรจุตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 โดยแบ่งออกเป็นรุ่น รุ่นละประมาณ 20-30 คน แต่ละรุ่นใช้เวลาอบรมประมาณ 4-5 เดือน หรือคิดเป็นประมาณ 43 วันทำการ
ประเภทของกิจกรรม
กิจกรรมต่างๆจะถูกจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ และบางครั้งจะรวมวันเสาร์-วันอาทิตย์ กรณีทำกิจกรรมนอกสถานที่ ซึ่งกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรใหม่สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. การบรรยาย/เสวนา
เป็นกิจกรรมที่เน้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริบททางการศึกษา บริบทด้านการวิจัย และการทำงานที่มจธ. เช่น
– ความท้าทายของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
– ADVANCE EDUCATION IN THE NEW GLOBAL LANDSCAPE
– ทิศทางการพัฒนาการศึกษาของมจธ.ในทศวรรษหน้า
– นโยบายวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย
– การรู้จักกลไกบริหารของมจธ. เพื่อความมั่นคงในการทำงาน
2. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เป็นกิจกรรมที่เน้นพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครูมืออาชีพ ทั้งเรื่อง การให้คำปรึกษา และการใช้เครื่องมือทันสมัยช่วยในการเรียนการสอน การสอนแบบ ACTIVE LEARNING ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่
– หลากวิธีในการสอน
– เทคนิคการให้คำปรึกษา
– LEARNING TOOLS
3.การศึกษาดูงาน
การศึกษาดูงานของแต่ละรุ่นจะจัดประมาณเดือนละ 1 ครั้ง มีระยะเวลา 1-3 วัน ซึ่งโดยรวมแล้วจะทำให้นักวิชาการรุ่นใหม่ได้ค้นพบหัวข้อวิจัยที่เ็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เกิดจิตสำนึกที่จะทำงานเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม และเข้าใจในการทำงานของมจธ. ในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะโครงการที่สนับสนุนโครงการหลวง และโครงการตามพระราชดำริ รวมทั้งเกิดความตระหนักถึงหน้าที่ของครู ได้เห็นตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบต่างๆ ตัวอย่างสถานที่ที่ไปศึกษาดูงาน ได้แก่
– โครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน
– การจัดการศึกษาในรูปแบบ WORK-INTERGRATED LEARNING (WiL) ที่บริษัทไทยออลย์ บริษัท IRPC และบริษัทเบทาโกร
4. การทำโครงงาน
เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรใหม่ได้ทำงานร่วมกันเป็นทีม มีความสนิทสนมกันมากขึ้น และได้พัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ โครงงานที่ทุกรุ่นทำเหมือนกัน ได้แก่
– NAS MAGAZINE
– TEACHING REFLECTION
สัมมนาวิชาการ เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน: สร้างคุณค่าแห่งนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยงานวิจัย” (Scholarship of Teaching and Learning: The Value Creation of Teaching and Learning Innovation)
ในการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นพลเมืองที่ดีและเก่งของโลกในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนการสอนในระบบการศึกษาของไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นถ่ายทอดความรู้ในสาขาวิชาชีพ (Teaching) มาเป็นการสนับสนุนการสร้างความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเองด้วยการฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ (Teaching and learning) เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่สามารถปรับใช้ในการทำงานได้จริง และเป็นพลเมืองของสังคมที่มีคุณธรรมจริยธรรมโดยที่การปรับเปลี่ยนวิธีการสอนยังต้องสามารถตอบสนองต่อความท้าทายที่มาจากคุณลักษณะและตัวตนของผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ วิธีคิดและทัศนคติที่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ทำให้การเข้าถึงความรู้เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และไม่จำกัดสถานที่ และช่วยเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ ไม่จำกัดอยู่เพียงแต่ห้องเรียนเท่านั้น
ด้วยบริบทดังกล่าวการพัฒนาผู้เรียนจะเกิดขึ้นไม่ได้หากผู้สอนไม่เปลี่ยนบทบาทของตน จากการเป็นผู้ให้ความรู้เป็นผู้กระตุ้นและพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รวมถึงการปรับตัวเพื่อทันกับความท้าทายในการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปในมิติต่างๆ เช่น การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นผลการเรียนรู้ (Outcome based course design) การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก การกระตุ้นความสนใจและสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียน (Student engagement) การพัฒนาทักษะการคิด และ Soft Skills ต่างๆ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ เป็นต้น การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน (Scholarship of Teaching and Learning) เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้มีการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามารถพิสูจน์ได้ และนำไปใช้ต่อยอดความรู้เพื่อการพัฒนาต่อไปได้
ปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาได้ให้ความสนใจด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาบัณฑิตที่มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยมีนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมผลักดันให้เกิดความตระหนักและความเข้าใจในการทำวิจัยด้านการเรียนการสอนอย่างรูปธรรมมากขึ้น เช่น คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.) กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ กำหนด Trackใหม่ ว่าด้วยการขอตำแหน่งวิชาการ ด้านการสอน นอกเหนือไปจากผลงานวิจัยในด้านวิชาชีพของตนเอง เพื่อกระตุ้นอาจารย์ให้ทำงานวิจัยด้านการเรียนการสอนมากขึ้น นอกจากนี้ สถาบันคลังสมองของชาติร่วมกับคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้จัดสัมมนาวิชาการในเรื่องนวัตกรรมและวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพื่อให้แนวคิด หลักการและวิธีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนซึ่งผู้เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าวได้เสนอแนะให้มีการสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิจัย/มหาวิทยาลัยในด้านนี้ รวมทั้งให้มหาวิทยาลัยที่สนใจเวียนกันเป็นเจ้าภาพเพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนและเรียนรู้การทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยต่อไป
ในการนี้ สถาบันคลังสมองของชาติ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพร่วมในครั้งนี้ จึงได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน: สร้างคุณค่าแห่งนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยงานวิจัย”ขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเกิดความตระหนัก และได้ทราบแนวทาง/แนวปฏิบัติของการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยจากวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้สอนได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันผลิตบัณฑิตที่ดีและเก่งให้กับประเทศไทยต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด หลักการ ตลอดจนวิธีการในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทั้งจากวิทยากรชาวไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐในการทำงานวิจัยด้านนี้
2. เพื่อแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาและตัวอย่างที่ดีในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3. เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่าย และความร่วมมือระหว่างอาจารย์และนักวิจัยที่ทำงานด้านนี้ของประเทศไทย
หน่วยงานสนับสนุนการจัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน: สร้างคุณค่าแห่งนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยงานวิจัย”
1. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
2. สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
3. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4. คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
5. สถาบันคลังสมองของชาติ