เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2559 ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน (CELT) นำโดย ผศ.ดร.สกล ธีระวรัญญู และ ดร.กลางใจ สิทธิถาวร ต้อนรับผู้ศึกษาดูงาน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยลงกรณ์ สุรินทร์ และเครือข่ายมหาวิทยาลัย เยี่ยมชมบูท ซึ่งแบ่งเป็นโซนต่างๆ อาทิ การเล่นเลโก้สำหรับผู้ใหญ่ (LEGO Serious Play) กระบวนการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เทคนิคการเรียนการสอนต่างๆ เช่น Plicker, Formative Assessment Card, การปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนตาม Outcome Based Education จาก ETS, Curriculum dashboard, การผลิตสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตามทฤษฏีจิตตปัญญา ชุมชนกระบวนกร
Month: December 2016
อบรมการใช้งาน myle
กิจกรรมในวันที่หก ภายใต้โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน หลักสูตร Beginner จัดขึ้น ณ สถาบันการเรียนรู้ อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 11 ในวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา อบรมในหัวข้อ “การพัฒนาแผนการสอนที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Developing outcome based syllabus) (ต่อ)”นำโดย ดร.กลางใจ สิทธิถาวร และทีมงาน ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. โดยในครั้งนี้ มาอบรมการใช้งาน myle แก่อาจารย์ใหม่ เพื่อให้อาจารย์ใหม่สามารถออกแบบผลลัพธ์รายวิชา ออกแบบแผนการสอน ไปจนถึงการวัดประเมินผลและติดตามผลลัพธ์เหล่านั้น ให้สามารถตอบรับผลลัพธ์การเรียนรู้ของชั้นเรียนที่ตั้งไว้ได้
การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (Assessing Learning Outcomes) โดย รศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์
กิจกรรมในวันที่ห้า ภายใต้โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน หลักสูตร Beginner จัดขึ้น ณ ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน (CELT) อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ห้อง Pedagogy Studio ชั้น 14 ในวันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา อบรมในหัวข้อ “การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (Assessing Learning Outcomes)” โดย รศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มาบรรยายถึงหลักการวัดและการประเมิน การเขียนรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) ให้ถูกต้อง และการใช้ Rubric เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลงานของนักศึกษา เป็นต้น
การใช้ทรัพยากรการสอนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ โดย รศ.พิชิต ตรีวิทยรัตน์
กิจกรรมในวันที่สี่ ภายใต้โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน หลักสูตร Beginner จัดขึ้น ณ ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน (CELT) อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ห้อง Pedagogy Studio ชั้น 14 ในวันพุธที่ 21 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา อบรมในหัวข้อ “การใช้ทรัพยากรการสอนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ (Using Effective instructional resources)” โดย รศ.พิชิต ตรีวิทยรัตน์ ประธานหลักสูตรรังสีเทคนิคคณะสหเวชศาสตร์ มธ. ศูนย์รังสิต มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้ กล่าวถึงการสร้าง e-learning นั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ประกอบด้วยอะไรบ้าง จะต้องคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ และอาจารย์ควรเลือกใช้โปรแกรมใดเพื่อสร้าง e-learning ให้มีความเหมาะสมกับนักศึกษาปัจจุบันในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ ทางทีมงานจาก ETS ได้มานำเสนอเทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนแก่อาจารย์ใหม่
ณ ขณะเดียวกัน ศูนย์ CELT มีความยินดีที่ได้ต้อนรับ อาจารย์จากวิชาการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเข้าเยี่ยมชมศูนย์ CELT นำโดย ผศ.ดร. สกล ธีระวรัญญู ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ พาเยี่ยมชมกิจกรรมในห้องต่างๆ
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ FA 3.0 for KM
ศูนย์ CELT และทีมกระบวนกร เชิญชวนอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร มจธ. ทุกท่านที่สนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาศั
พัฒนาทักษะด้าน facilitator อันประกอบไปด้วย 5 ทักษะสำคัญ ดังนี้
1. ทักษะทางด้านการประชุมสมอง (Conducting Brainstorm Meeting)
2. ทักษะการจัดกิจกรรมเพื่อระดมสมอง (Activities for Brainstorm Meeting)
3. ทักษะในการการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (Data Analyzing and Conclusion)
4. ทักษะการเขียนกระดาน (Flip Chart Writing)
5. ทักษะการนำและการเกื้อหนุนวงสนทนา (Lead of Group Communication)
ทักษะดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์
สมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ htt
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 10 มกราคม 2560
** จำกัด 30 ที่นั่ง หรือจนกว่าจะครบจำนวน
ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมวันที่ 13 มกราคม 2560
หมายเหตุ
ตารางกิจกรรมจะประกาศให้
vdo ประชาสัมพันธ์โครงการ
กิจกรรม OUTCOME-BASED EDUCATION : How to write and assess learning outcomes
เมื่อวันที่ 7-8 ธันวาคม พ.ศ.2559 ตั้งแต่เวลา 08.30 -16:30 น. ณ. ห้องประชุมใหญ่ สำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ ตึกนวัตกรรมการเรียนรู้ ชั้น 12 ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน ได้จัดกิจกรรม OUTCOME-BASED EDUCATION : How to write and assess learning outcomes โดยเรียนเชิญอาจารย์ 3 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.ปิยะฉัตร จิตต์ธรรม, ผศ.ดร.วัชรี เกษพิชัยณรงค์ และ ผศ.ดร.น้ำค้าง ศรีวัฒนาโรทัย จากสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้ กล่าวถึงการเรียนการสอนที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องตามศตวรรษที่ 21 วิธีการเขียนแผนการสอนที่ดีเป็นอย่างไร โดยใช้หลักการ ABCD method ซึ่งประกอบด้วย A = ผู้เรียน, B= พฤติกรรมที่สังเกตและวัดได้, C= เงื่อนไข/สถานการณ์ และ D= ระดับพฤติกรรมที่ยอมรับได้ หรือเทคนิค SMART เพื่อเขียนแผนการสอนที่สามารถระบุพฤติกรรมของผู้เรียนได้อย่างชัดเจน วัดได้ สอดคล้องกับหลักสูตร และครอบคลุมทุกมิติการเรียนรู้ นอกจากนี้การวัดประเมินผลการเรียนรู้ที่ดีจะต้องบอกได้ว่าผู้เรียนมีพัฒนาการเรียนรู้มากแค่ไหน เป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยการจัดการเรียนการสอนแบบ active ด้วยการสร้างกิจกรรมในห้องเรียน การใช้ Game, Pairs check , การระดมสมอง (Brainstorming), การเดินชมผลงาน (Gallery Walk) และการสร้างเกณฑ์การประเมินให้ครอบคลุมทั้ง 3 ทักษะการเรียนรู้ Cognitive Domain, Psychomotor Domain และ Affective Domain
เอกสารประกอบการอบรม
จรรยาบรรณและความเป็นครู ความแตกต่างของผู้เรียนและการเข้าถึงผู้เรียน การสะท้อนและสะสมการเรียนรู้ สะสมความทรงจำ
กิจกรรมในวันที่สาม ภายใต้โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน หลักสูตร Beginner จัดขึ้น ณ ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน (CELT) อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ห้อง Pedagogy Studio ชั้น 14 ในวันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา อบรมในหัวข้อ “จรรยาบรรณและความเป็นครู ความแตกต่างของผู้เรียนและการเข้าถึงผู้เรียน การสะท้อนและสะสมการเรียนรู้ สะสมความทรงจำ” โดย ผศ.ดร.พิเชษฐ์ พินิจ ผศ.ดร.อนุศิษฏ์ อันมานะตระกูล และดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ จากทีมกระบวนกร มจธ. มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้ ทีมกระบวนกรเล็งเห็นว่าก่อนที่จะเริ่มต้นการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจในตนเอง สภาวะ อารมณ์ของตนเอง เข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการเรียนการสอน เพื่อเป็นแนวทางให้เข้าใจความแตกต่างของผู้เรียน เพื่อนำไปใช้ในการ “เชื่อมต่อ” กับผู้เรียน ให้เกิดความพร้อมในการรับความรู้ และใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อผู้เรียนมีความสนใจ เปิดใจที่จะรับฟังแล้ว การจัดกระบวนการเรียนการสอนก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
เทคนิคการสอนเพื่อผลลัพธ์การเรียนรู้ โดย รศ.ดร.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์
กิจกรรมในวันที่สอง ภายใต้โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน หลักสูตร Beginner จัดขึ้น ณ ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน (CELT) อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ห้อง Pedagogy Studio ชั้น 14 ในวันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา อบรมในหัวข้อ “เทคนิคการสอนเพื่อผลลัพธ์การเรียนรู้ (Teaching Approaches for Learning Outcomes)” โดย รศ.ดร.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ จากสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมอบรมในรูปแบบของการจัดกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมการสอนแบบจุลภาค (micro teaching) และสอดแทรกเนื้อหาภายในกิจกรรม เพื่อให้อาจารย์ใหม่สามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจน กิจกรรมในครั้งนี้
การเขียนวัตถุประสงค์ที่เน้นผลลัพธ์ โดยใช้หลักการเขียน Smart Outcome Objective นั่นคือ การเขียนวัตถุประสงค์ที่มีความเจาะจง (Specific) วัดได้ (Measurable) ส่าเร็จได้ (Achievable) เป็นจริง (Realistic) และภายใต้เวลา (Time-bound) ซึ่งหลักการ Smart จะทำให้อาจารย์สามารถเขียน Learning Outcome ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
การจัดกิจกรรมในห้องเรียนโดยใช้ รูปแบบกิจกรรม POE ที่ประกอบด้วย
P คือ Predict (ทำนาย)
- ได้ตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน
- กระตุ้นการคิด/การมีส่วนร่วม
O คือ Observe (สังเกต/ทดลอง/ สำรวจ)
- ได้ลงมือปฏิบัติ
- พัฒนาทักษะกระบวนการ
- เข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
E คือ Explain (อธิบาย)
- สร้างองค์ความรู้
การสอนที่ดีนั้น นอกจากผู้สอนจะต้องมีความรู้ด้านเนื้อหา (content) ที่จะสอนแล้ว ผู้สอนจำเป็นจะต้องเข้าใจและรู้จักเลือกใช้วิธีการสอน (pedagogy) ที่เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มุ่งหวังไว้นั้น
KMUTT 3.0 และการพัฒนาแผนการสอนที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้
เมื่อวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลร่วมกับศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน (CELT) จัดกิจกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน หลักสูตร Beginner ณ อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ห้อง Pedagogy Studio ชั้น 14
กิจกรรมในช่วงเช้า อบรมในหัวข้อ “KMUTT 3.0 และ Outcome based education” โดย รศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร ซึ่งกิจกรรมเน้นการให้แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา การทำหน้าที่เป็นผู้สอนที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมโลก การศึกษาไม่ใช่การให้เพียงความรู้เท่านั้นแต่ยังต้องสร้างให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่จำเป็นและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ นั่นจึงเป็นที่มาของการเกิดนโยบาย KMUTT 3.0
ต่อมา กิจกรรมในช่วงบ่าย อบรมในหัวข้อ “การพัฒนาแผนการสอนที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Developing outcome based syllabus)” โดย ดร.กลางใจ สิทธิถาวร กล่าวถึงการออกแบบรายวิชาให้เป็น Outcome based โดยยึดสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้เป็นหลักหรือต้องบอกได้ว่าเมื่อเรียนวิชานี้ไปแล้วผู้เรียนจะทำอะไรได้บ้าง นอกจากนี้ Learning Outcome จะต้องเห็นพัฒนาการของผู้เรียน ผู้สอนจะต้องสามารถบอกได้ว่าผู้เรียนทำอะไรได้ ทำได้ดีขึ้นขนาดไหน ต้องระบุได้ว่าสมรรถนะที่ผู้เรียนควรทำได้/ควรมี/ควรเป็น คืออะไรบ้าง และออกแบบการเรียนการสอน (Pedagogy) กิจกรรมการเรียนรู้ให้สามารถตอบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังนั้นๆ