เมื่อวันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ตั้งแต่เวลา 13:30 -16:30 น. ที่ผ่านมา ศูนย์ CELT และทีมกระบวนกร มจธ. จัดกิจกรรมในหัวข้อ “บทบาทของ Facilitator 3.0 สำหรับการทำ KM” เนื่องด้วยทีมกระบวนกรได้จัดกิจกรรมระดมสมองแก่ผู้ประกอบการหลักสูตรนานาชาติ วิศวกรรมโยธา ซึ่งเกิดผลตอบรับจากกิจกรรมที่ดีมาก และเป็นประโยชน์อย่างสูงแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทีมกระบวนกรจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพด้าน facilitator ทั้งการเพิ่มพูนศักยภาพของนักพัฒนาการเรียนรู้ให้มีทักษะที่ดีขึ้น รวมถึงเชิญชวนบุคลากร มจธ. ที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาทักษะด้าน facilitator อันประกอบไปด้วย ทักษะทางด้านการประชุมสมอง (Conducting Brainstorm Meeting) ทักษะการจัดกิจกรรมเพื่อระดมสมอง (Activities for Brainstorm Meeting) ทักษะในการการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (Data Analyzing and Conclusion) ทักษะการเขียนกระดาน (Flip Chart Writing) และทักษะการนำและการเกื้อหนุนวงสนทนา (Lead of Group Communication) ทักษะดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมอบรม เพื่อนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆ การระดมสมองเพื่อแก้ปัญหาภายในองค์กร รวมถึงการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) โดยในกิจกรรมวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 นี้ เป็นการประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดในขั้นต้น แก่คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ นำโดย ผศ.เอกรัตน์ รวยรวย และทีมกระบวนการ มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้
Month: November 2016
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม OUTCOME-BASED EDUCATION : How to write and assess learning outcomes
ศูนย์ CELT ขอเรียนเชิญอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร มจธ.ทุกท่าน เข้าร่วมกิจกรรม OUTCOME-BASED EDUCATION : How to write and assess learning outcomes ซึ่งเป็นกิจกรรมในโครงการพั
มหาวิทยาลัยมหิดล มาร่วมถ่ายทอดวิธี
กิจกรรมดังกล่าว ใช้เวลาการอบรมจำนวน 2 วัน ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม พ.ศ.2559 ตั้งแต่เวลา 08.30 -16:30 น. ณ. ห้องประชุมใหญ่ สำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ ตึกนวัตกรรมการเรียนรู้ ชั้น 12
— ผู้เข้าร่วมกิจกรรม โปรดนำรายละเอียดวิชาของท่าน มาในวันอบรม —
ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://goo.gl/forms/
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-470-8392 (คุณธนพร)
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เยี่ยมชม CELT
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน (CELT) เปิดบ้านต้อนรับผู้เยี่ยมชมจากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดยผศ.ดร.สกล ธีระวรัญญ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ กล่าวต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชม พร้อมอธิบายความเป็นมาของศูนย์ CELT และพาเยี่ยมชมภายในห้องทั้ง 4 ห้องด้วยกัน ซึ่งจัดแบ่งเป็นโซนต่างๆ อาทิ การนำเลโก้มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะกระบวนการเรียนรู้ การจัดพื้นที่การเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมกับการเรียนการสอน การรวบรวมเทคนิคการวัดประเมินผลในรูปแบบของการ์ด (Formative Assessment Card), การเรียนรู้ตามทฤษฏีจิตตปัญญา ชุมชนกระบวนกร(CoPs) และการผลิตสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ณ ศูนย์สร้างเสริมการเรียนรู้และการสอน (CELT) ชั้น 14 อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังพาเยี่ยมชม Science Learning Space ซึ่งเป็นพื้นที่สนับสนุนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยอีกด้วย
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม “บทบาทของ Facilitator 3.0 สำหรับการทำ KM”
ศูนย์ CELT และทีมกระบวนกร มจธ. ขอเชิญชวนคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร มจธ.ทุกท่าน เข้าร่วมกิจกรรมในหัวข้อ “บทบาทของ Facilitator 3.0 สำหรับการทำ KM” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรใน มจธ. ด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ผ่านกระบวนการ Facilitate โดยในครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดในขั้นต้น แก่คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่สนใจพัฒนาทักษะด้าน Facilitator เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาภายในองค์กร และการจัดการเรียนการสอน นำโดย ผศ.เอกรัตน์ รวยรวย และทีมกระบวนกร มจธ. มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้
กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ตั้งแต่เวลา 13:30 -16:30 น. ณ. ห้อง Pedagogy ชั้น 14 ศูนย์ CELTสถาบันการเรียนรู้ ตึกนวัตกรรมการเรียนรู้
ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://goo.gl/forms/S5Xnjdqm8RLbDPdw1
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 8385 (พลอยพชร)
กิจกรรม “Instructional Improvement Tools for Teaching and Learning in 21st Century”
ผ่านไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับกิจกรรม “Instructional Improvement Tools for Teaching and Learning in 21st Century” เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา
กิจกรรมในครั้งนี้ ดร. พัฒนาช พัฒนะศรี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย และ ดร. วรวิทย์ อิศรางกูร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มาเล่าถึงเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักศึกษารุ่นใหม่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ถูกนำมาปรับใช้กับการดำเนินงานภายใต้โครงการ USAID COMET (องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา) ที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล และรวมถึงประเทศอื่นๆ อีก 4 ประเทศด้วยกัน โดยโครงการ USAID COMET ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ที่แสดงให้เห็นว่าสถาบันการศึกษาสามารถเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาให้มีทักษะการทำงานที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานเพียงร้อยละ 16 เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างระหว่างการศึกษากับความต้องการของตลาดแรงงาน โครงการ USAID COMET จึงได้นำร่องในการปรับปรุงการเรียนการสอน การพัฒนาผู้สอน การออกแบบแผนการสอน ฯลฯ ดังนั้น เครื่องมือจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยปรับปรุงการเรียนการสอน พัฒนาบัณฑิตเพื่อส่งออกสู่ตลาดแรงงานได้ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง
กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างเวลา 14:00 -16:00 น. ณ. ห้อง Pedagogy ชั้น 14 ศูนย์ CELT สถาบันการเรียนรู้ ตึกนวัตกรรมการเรียนรู้
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
>>USAID COMET Program Toolkits
ชม VDO ย้อนหลังได้ที่