ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน สถาบันการเรียนรู้ ต้อนรับทีมงาน It’s about time ผู้เชี่ยวชาญด้าน STEM และ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย (Kenan Institute Asia) เยี่ยมชมนิทรรศการ และร่วมแลกเปลี่ยนการทำงานของศูนย์ CELT เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร ร่วมนำการสนทนาแลกเปลี่ยนด้านการพัฒนาการเรียนการสอน ตามกรอบของ มจธ. ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน สถาบันการเรียนรู้ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในครั้งนี้
Month: April 2016
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เยี่ยมชมศูนย์ CELT
เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2559 ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน สถาบันการเรียนรู้ ต้อนรับฝ่ายพัฒนาการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เยี่ยมชมนิทรรศการของทางศูนย์ กิจกรรมในช่วงเช้า เริ่มต้นด้วยการบรรยายภาพรวมการดำเนินงานของศูนย์ CELT และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดย ผศ.ดร.สกล ธีระวรัญญู ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ และ อ.วุฒิชัย พลวิเศษ ที่ปรึกษาศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน จากนั้นพาเยี่ยมชมนิทรรศการที่ได้จัดแบ่งไว้เป็นโซนต่างๆ อาทิ เทคนิคกระบวนการจัดเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาการเรียนการสอน การออกแบบหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ เป็นต้น ก่อนรับประทานอาหารได้พาเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของ ดร.ก้องกาญจน์ วชิรพนัง ที่ X-Classroom ณ อาคารเรียนรวม 2 (CB2) ชั้น 4 กิจกรรมในช่วงบ่ายเชิญผู้เข้าชมเข้ากิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอน Active Learning โดยทีมกระบวนกร และพาเยี่ยมชม Science Learning Space ณ อาคารปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมก้าวแรกสู่การสอน
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2559 ตั้งแต่เวลา 08.30-17.00 น .สถาบันการเรียนรู้ จัดกิจกรรมหัวข้อ “ก้าวแรกสู่การสอน” ซึ่งเป็นกิจกรรมในโครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอนตามกรอบ KMUTT Professional Standard Framework (PSF) ปี 2559 โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พิเชษฐ์ พินิจ ผศ.ดร.อนุศิษฏ์ อันมานะตระกูล และรศ.ดร.สันติรัฐ นันสะอาง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้ โดยกิจกรรมในช่วงเช้า จัดที่ห้อง Teacher Learning Space และช่วงบ่ายจัดกิจกรรมที่ห้อง Pedagogy Training Studio ณ ศูนย์เสริมสร้างการเรียนการสอน อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้ ชั้น 14 ก่อนที่จะเริ่มต้นการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจในตนเอง เข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการเรียนการสอน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเข้าใจผู้เรียน หากผู้สอนสามารถเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างชัดเจน ผู้เรียนมีความสนใจ เปิดใจที่จะรีบฟังแล้ว การจัดกระบวนการเรียนการสอนก็จะเป็นเรื่องง่ายขึ้น
ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ
Teach Like Your Hair’s On Fire : Methods and Madness inside Room 56 (ชื่อภาษาไทยว่า “ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ เขียนโดย ครูเรฟ เอสควิท) หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ยกให้เป็นหนังสือปลุกกระแสการปฏิรูปวิธีการจัดการศึกษาของเด็ก ๆ ในอเมริกา และถูกยกให้เป็น bestseller ในปี 2007 สสค. จึงร่วมแปลเป็นฉบับภาษาไทย เพื่อให้ครูได้เรียนรู้สรรพวิธีและกลเม็ดการสอนนอกกรอบ ของครูเรฟ เอสควิท
CoPs#26 เกมและการเรียนรู้
เมื่อวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2559 สถาบันการเรียนรู้ ร่วมกับ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ชุมชนกระบวนกร มจธ. และสำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา ผ่านกระบวนการ Facilitate เพื่อรองรับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกผ่านการทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ณ.อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้ ชั้น14 ซึ่งกิจกรรมเรียนรู้ประสบการณ์ตรงผ่านกระบวนกรมืออาชีพ CoPs#26 ในหัวข้อ เทคนิคกระบวนกรกับการสอนห้องเรียนขนาดใหญ่ ได้เชิญ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด และทีม จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาเล่าประสบการณ์การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ ที่นำเกม มาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ในห้องเรียนขนาดใหญ่ พร้อมทั้งนำเกมที่ใช้มาให้ผู้เข้าฟังได้ทดลองเล่น เพื่อให้ผู้เข้าฟังได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนรู้จากเกมที่แตกต่างจากการเรียนรู้แบบอื่นๆ และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดซักถามจากผู้ที่สนใจ
ต้อนรับผู้เยี่ยมชมศูนย์ CELT
ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน (Center for Effective Learning and Teaching) ต้อนรับผู้เยี่ยมชมงาน เพื่อศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือพัฒนาหลักสูตร เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา ณ อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 14 ตั้งแต่เวลา 14.00 น. โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหลายท่าน มาเยี่ยมชมงานในครั้งนี้ อาทิ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รองประธานกรรมการ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, ดร.นพ.ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการทั่วไป มหาวิทยาลัยนเรศวร, คุณชุติมา อินทรประเสริฐ รักษาการเลขาธิการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม, คุณกษิดิ์เดช พูลสุขสมบัติ โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง Teach for Thailand และท่านอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวข้างต้น ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอนขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจต่อเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาการเรียนการสอน ผลงานวิจัยด้านการเรียนการสอน กระบวนการจัดการเรียนการสอนของทางศูนย์ และกิจกรรมอื่นๆของทางศูนย์
อบรม หัวข้อ การวัดและประเมินผลเบื้องต้น
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 เวลา 9.00 -16.00 น. ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน (Center for Effective Learning and Teaching) สถาบันการเรียนรู้ได้จัดกิจกรรม หัวข้อ “การวัดและประเมินผลเบื้องต้น” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน หลักสูตร Beginner ณ อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 14 ห้อง Pedagogy Training Studio การอบรมในครั้งนี้ ทางโครงการได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์ จากภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มาเป็นวิทยากร โดยเนื้อหาของการอบรม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์เข้าใจหลักการวัดและประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา สามารถออกแบบข้อสอบวัดประเมินผลได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้
อบรมโมดูล Teaching and Learning หัวข้อ “Classroom Management”
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา ศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน (Center for Effective Learning and Teaching) สถาบันการเรียนรู้ได้จัดกิจกรรมอบรมโมดูล Teaching and Learning หัวข้อ “Classroom Management” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน หลักสูตร Beginner ณ อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ห้อง Pedagogy Training Studio ชั้น 14 กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์ใหม่/นักวิจัยใหม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีด้านการเรียนการสอนเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (outcome-based learning) ในโอกาสนี้ทางโครงการฯ ได้รับเกียรติจาก Assoc.Prof.Michele Scoufis จากThe University of Sydney Business School และ International Society of Scholarship of Teaching and Learning เป็นวิทยากร วิทยากรได้สอดแทรกแนวคิดและเทคนิคของการจัดการชั้นเรียนผ่านหลากหลายกิจกรรมทิ่ให้ผู้เข้าร่วมได้ปฏิบัติตลอดช่วงเวลาของการอบรม พร้อมทั้งให้ข้อคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่อาจารย์ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหาความรู้มาเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ (facilitator) วิธีการสอนแบบ Think-Pair-Share วิธีการสอนแบบให้ผู้เรียนช่วยกันเรียนรู้ผ่านกระบวนการเพื่อนสอนเพื่อน (Peer learning) เป็นต้น นอกจากนี้ วิทยากรยังทำให้เห็นถึงการใช้เทคนิคของการอำนวยการเรียนรู้ (facilitation) ที่กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกการคิดผ่านกระบวนการตั้งคำถามและขั้นตอนของการทำกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างการทำกิจกรรมกลุ่มย่อยและการแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มใหญ่ได้เป็นอย่างดี การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดังกล่าวช่วยให้อาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ได้เห็นถึงกระบวนการของ Active Learning ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในห้องเรียนของตนเพื่อการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา