Videos on YouTube
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
- สร้างแรงบันดาลใจ
เริ่มวีดิโอด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจใกล้ตัว แล้วจึงอธิบายรายละเอียดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้ผูกพันกับเรื่องราว - ค้นพบและแบ่งปันได้ง่าย
ใช้ metadata เพื่อระบุคำสำคัญ (keywords) ตรวจสอบแนวโน้มผ่าน Google Trends สร้างเนื้อหาเป็นชุด (series) และวิเคราะห์ผู้ชมด้วย YouTube Analytics - มีปฏิสัมพันธ์
ตั้งคำถาม รับฟังความคิดเห็นของผู้ชม ตอบคำถามใน comments ผ่านทางวีดิโอ ให้โอกาสผู้ชมได้แนะนำแนวคิดสำหรับตอนถัดไป - มีความน่าเชื่อถือ
เนื้อหาต้องเป็นของแท้ ไม่ปลอมแปลงหรือคัดลอกโดยไม่ระบุแหล่งที่มา ข้อมูลถูกต้อง บอกประวัติและวิทยฐานะของผู้บรรยาย - ออกแบบโดยเฉพาะ
วีดิโอสำหรับการสอนออนไลน์ควรถ่ายทำโดยคำนึงถึงผู้ชมออนไลน์เป็นพิเศษ วีดิโอที่บันทึกจากการสอนในห้องเรียนทั่วไปอาจขาดความน่าสนใจ
เคล็ดลับ
- สั้นและสม่ำเสมอ
ดึงดูดความสนใจผู้ชมด้วยวีดิโอที่สั้น (< 6 นาที) สร้างฐานผู้ชม (fan club) ด้วยเนื้อหาที่สม่ำเสมอ มีความสอดคล้องใช้หัวเรื่องและคำทิ้งท้ายเพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างวีดิโอ - ผู้ชมมีส่วนร่วม
ให้โอกาสผู้ชมได้ร่วมตอบคำถามชิงรางวัล แสดงความคิดเห็น และยื่นข้อเสนอแนะ ตอบสนองต่อความคิดเห็นเหล่านั้น นำแนวคิดของผู้ชมมาใช้ในการผลิต - แสดงหน้าผู้สอน
ตัดต่อวีดิโอให้มีหน้าผู้สอนสลับกับสไลด์ หรือแสดงไปพร้อมกัน ผู้สอนที่นั่งพูดจากโต๊ะทำงาน ได้รับความสนใจมากกว่าผู้สอนที่ยืนพูดหน้าห้อง - ฉากเป็นกันเอง
ฉากโต๊ะทำงาน หรือฉากธรรมชาติ อาจได้รับความสนใจจากผู้ชมมากกว่าฉากห้องเรียนหรือสตูดิโอราคาแพง ผู้สอนควรสบตากับกล้องเพื่อสร้างความรู้สึกเป็นกันเอง - เขียนด้วยลายมือ
วีดิโอที่เขียนสดด้วยลายมือ แบบ Khan Academy ได้รับความสนใจมากกว่าสไลด์ที่พิมพ์ไว้แล้ว แต่หากจำเป็นต้องใช้สไลด์ ผู้สอนอาจเขียนลงไปบนสไลด์ผ่าน tablet ก็ได้
การนำไปใช้
- รู้จักใช้และสร้าง subtitle
ผู้เรียนควรรู้วิธีเปิด/ปิด subtitle ผู้สอนควรพิจารณาสร้าง subtitle ภาษาไทยขึ้นเอง ผ่านทาง community contribution - ควบคุมวีดิโอได้คล่อง
ควรฝึกฝนการใช้ฟังก์ชันพื้นฐาน เช่น การกระโดดไปข้างหน้า/หลังอย่างรวดเร็ว, การปรับความเร็ว, ระบบ auto-play - รู้จักการใช้ offline videos
สามารถดาวน์โหลดผ่าน wifi ไว้รับชมภายหลังได้ (ในรูปแบบวีดิโอหรือไฟล์เสียง) โดยไม่พึ่ง 4G ทั้งนี้ ต้องเคารพลิขสิทธิ์ - แบ่งปัน
รู้จักการ share ผ่าน URL และการระบุตำแหน่งเวลา, การ embed บนเว็บ รวมถึงการสร้างและการ share playlist - ใช้ทำการบ้าน
มอบหมายให้ผู้เรียน สร้างสื่อความรู้สำหรับรุ่นน้องผ่าน YouTube โดยอาจให้ส่งเป็น unlisted video เพื่อลดความเสี่ยง - ใช้เป็น formative assessment
ตั้งคำถามเพื่อทดสอบความเข้าใจระหว่างการรับชม โดยใช้ซอฟท์แวร์เช่น EDpuzzle
ตัวอย่างแหล่งเรียนรู้
- ormschool
มีคติว่า “ออมวิชา ออมความรู้ ออมสกูล” สอนหลากหลายวิชา ระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย ความยาวรวมกันเกิน 10,000 ชั่วโมง ส่วนใหญ่เป็นการเขียนบรรยายบนแผ่นกระดาษ (คล้าย Khan Academy) - Adam Bradshaw
ชาวอเมริกัน พูดไทยชัดเจน สอนภาษาอังกฤษแบบตลกปนทะลึ่ง ใช้ภาษาวัยรุ่นเพื่อดึงดูดความสนใจ (แต่ไม่หยาบคาย) เน้นสอนเทคนิคการพูดคุยในชีวิตประจำวัน - TEDx
บันทึกการพูดแบบ TED Talk จากทั่วทุกมุมโลก โดยแต่ละภูมิภาคจัดงานและเลือกวิทยากรเอง TED ย่อมาจาก Technology, Entertainment and Design - Smarter Every Day
Destin Sandlin ทำวีดิทัศน์สอนความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เนื้อหาเป็นการทดลองเช่นการยิงปืนในน้ำ การสำรวจวัตถุน่าสนใจเช่นยานสำรวจดาวอังคาร เรื่องแปลกเช่นจักรยานที่เลี้ยวกลับทิศ - ครูนกเล็ก
คุณครูจีรภัทร์ สุกางโฮง โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร) สอนเด็กเล็กด้วยการร้องเพลง เต้นตามเพลง เนื้อหาได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ดนตรี และศิลปะ ดึงดูดผู้ชมโดยจับกระแส เช่น PPAP หรือหน้ากากผลไม้ - Crash Course
สอนวิชาทางประวัติศาสตร์ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ และดาราศาสตร์ มี animation ประกอบคำบรรยาย ชัดเจน สวยงาม และสนุก
Credits
ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอผลงาน “โครงการศึกษาวิจัยรูปแบบการเรียนรู้สำหรับคนรุ่นใหม่” ดำเนินการวิจัยโดย สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) จัดเผยแพร่ผลงานภายใต้หัวข้อ
Make Learning Great, Again and Again and Again!
วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 เวลา 8:30 – 12:30 น.
ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์ อาคารเรียนรวม 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
website: http://MLGAAA.com
Some images are taken from FreePik.com. Those images are created by FreePik.
I read this post fully regarding the comparison of newest and preceding technologies,
it’s remarkable article.