เทคนิคการจัดการเรียนการสอนตาม TPACK แบบง่าย ๆ
สาระจากกิจกรรม Designing TPACK-OBE based course for the 21st Century
โดย รศ. ดร.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุก
และดร.จิรัฐิติกาล พิมพ์วิชัย บัวระพันธ์ นักวิจัยและผู้ช่วยวิทยากรสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
เรียบเรียงโดย ทีม CELT
______________________________________________________________________
TPACK (Koehler, Mishra, Kereluik, shin & Graham, 2014) หรือ Technological Pedagogical Content Knowledge คือแนวคิดการบูรณาการที่ใช้ในการออกแบบวิธีสอน ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการตั้งคำถามให้แก่ผู้สอนเวลาออกแบบ อาทิเช่น ผู้สอนจะสอนอะไร มีวิธีสอนอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร มีตัวอย่างประกอบอะไรบ้าง เป็นต้น
องค์ประกอบของ TPACK
TPACK เกิดจากองค์ประกอบ 3 ด้านที่มีความสัมพันธ์กัน และก่อให้เกิดความสัมพันธ์ 6 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
- ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge : TK) คือ ผู้สอนสามารถค้นหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสไตล์การสอนของตนเอง ผู้สอนสามารถใช้เครื่องมือในการกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้นและสนุกกับการเรียนในระยะแรก หลังจากนั้นให้ผู้สอนเปลี่ยนแอปพลิเคชันอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย เนื่องด้วยแต่ละแอปพลิเคชันจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน
- ความรู้ด้านเนื้อหา (Content Knowledge : CK) คือ สาระ ความรู้เนื้อหาองค์ประกอบสำคัญทั้งหมดที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุได้ตามผลการเรียนรู้ ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านเนื้อหาของผู้สอนเป็นอย่างมาก
- ความรู้ด้านวิธีการสอน (Pedagogical Knowledge : PK) คือ ความรู้ด้านกระบวนการ วิธีสอน กลยุทธ์ในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียนและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
- ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อวิธีสอน (Technological Pedagogical Knowledge : TPK) ตัวอย่างเช่น การใช้ YouTube โดยผู้สอนจะต้องมีความรู้ด้านเทคนิควิธีสอนและการเรียนรู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี
- ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อเนื้อหา (Technological Content Knowledge : TCK) ตัวอย่างเช่น การใช้ Google โดยผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหา
- ความรู้ด้านเนื้อหาผสานวิธีสอน (Pedagogical Content Knowledge : PCK) คือ ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการระหว่างความรู้ด้านเนื้อหากับความรู้ด้านการสอนในการสอนเนื้อหาเฉพาะเรื่องเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Shulman,1986)
การประยุกต์ใช้เทคนิคและวงจรการเรียนรู้ร่วมกับ TPACK
การออกแบบวิธีสอนสามารถนำ TPACK มาจับกับกรอบ/วงจรการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เป็นวิถีหรือขั้นตอนในการสอนได้ อาทิ
1.เทคนิคการสอน POE ได้แก่
- ขั้นทำนาย (Predict) คือ การสำรวจความรู้เดิม เพื่อให้ทราบพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน
- ขั้นสังเกต (Observe) คือ การลงมือปฏิบัติ ทดลอง เพื่อหาคำตอบจากสิ่งที่ได้ทำนายไว้
- ขั้นอธิบาย (Explain) คือ การสร้างองค์ความรู้ผ่านการอธิบาย ให้นักศึกษาพยากรณ์ สังเกต และอธิบาย ฝึกสร้างความรู้จากการอธิบาย
2. Model C2G
- ประกอบด้วย การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนรู้แบบเกม (Game Based Learning) และการเรียนรู้อย่างมีความหมายด้วยเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizer) โดยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม Bloom’s Taxonomy 6 ขั้น และผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้
3. Kolb’s Cycle เป็นการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์ มี Cycle ดังนี้
- รับประสบการณ์เชิงรูปธรรม (Concrete Experience)
- สังเกตและเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เดิม (Reflective Observation)
- สร้างแนวคิดเชิงนามธรรม (Abstract Conceptualization)
- ทดสอบแนวคิดใหม่ (Active Experimentation)
4. Roger Bybee 5E Learning Cycle
- กระตุ้นความสนใจ (Engagement) เช่น การ Pretest ด้วยแอปพลิเคชัน Kahoot การเปิดคลิปวิดีโอข่าว ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการสอน
- สำรวจและค้นหา (Exploration)
- อธิบายความรู้ (Explanation) ให้ผู้เรียนได้ฝึกอธิบาย
- ขยายความเข้าใจ (Elaboration) เช่น ทำการบ้าน แบบฝึกหัด
- ตรวจสอบผล (Evaluation) จากการทดลอง การอธิบาย
Tips ในการออกแบบการสอน
- ใช้ Bloom taxonomy ในการตั้ง Learning Outcome เพื่อบอกว่าเราเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ไปถึงระดับใด ได้แก่ จำ เข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า สร้าง
- การสอนแบบ Active learning ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เกิดการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking) รู้คิด รู้ตัดสินใจด้วยตนเอง (Metacognition) สามารถทำงานกับผู้อื่นอย่างร่วมมือจนนำไปสู่ความสำเร็จ กล้าแสดงออก มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ใช้ความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาพหุปัญญา จนเกิดความคงทนในการเรียนรู้ จากการปฏิบัติจริง ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้จะอยู่ในความจำระยะยาว (Long-term Memory)
- เลือกเครื่องมือให้เหมาะสม เน้นให้นักศึกษาได้จับสัมผัส และชวนให้นักศึกษาหาเหตุผลประกอบตามหลักการ
- มีกิจกรรมที่นำด้วยปัญหา (Creative Problem Base Learning) ให้ผู้เรียนหาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- มีคำถาม Check Misconception หรือ Alternative Conception นักเรียน แล้วนำผลมาวิเคราะห์ เพื่อปรับรูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ถูกต้องหรือเกิด Possible Misconception
- ใช้วงจร PT2R Plan-teach-Reflect-Revise สำหรับการพัฒนาการสอน
สาระจากกิจกรรม Designing TPACK-OBE based course for the 21st Century
โดย รศ. ดร.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุก
และดร.จิรัฐิติกาล พิมพ์วิชัย บัวระพันธ์ นักวิจัยและผู้ช่วยวิทยากรสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
วันพุธที่ 22 ธันวาคม 2564 เวลา: 13.30 – 16.30 น. ผ่าน Application ZOOM
Wendy’s is an American international fast food restaurant chain. It was founded on November 15, 1969 by Dave Thomas, in Columbus, Ohio.
https://wendys-breakfast-menu.info/
bad buddy the series