สาระจากกิจกรรม เตรียมพร้อมทักษะดิจิทัล สำหรับอาจารย์ในยุค New Normal
โดย อ.ผนวกเดช สุวรรณทัต นักวิจัย สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เรียบเรียงโดย ทีม CELT
ในยุค New Normal ทำให้เราต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ ทั้งการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล การสวมหน้ากากเพื่อป้องกันโรค การล้างมือบ่อย ๆ ทั้งนี้ ในด้านของการเรียนรู้บนสังคมออนไลน์นั้น YouTube ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ดังนั้น ในฐานะของผู้สอน หรือผู้ปกครอง จึงควรตระหนักถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเปลี่ยนผู้เรียนจาก Passive viewers เป็น Active watchers นั่นคือการทำให้ผู้เรียนสามารถจัดการและควบคุม YouTube ได้ด้วยตนเอง และผู้สอนเองก็ควรเป็น Active creators ที่มีทักษะความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยแอปพลิเคชัน YouTube
สิ่งที่ควรฝึกให้ผู้เรียนทุกคนทำได้บน YouTube
- การควบคุมวิดีโอขั้นเทพ
- การเปิดคำบรรยายใต้ภาพ
- การดาวน์โหลดไว้ชมภายหลัง
- การปิด Autoplay
- การจัดการประวัติการเข้าชม (History)
1. การควบคุมวิดีโอขั้นเทพ
หากผู้เรียนต้องการเพิ่ม-ลดความเร็วของวิดีโอ เช่น บางวิดีโอที่ผู้พูดใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร หากผู้เรียนไม่ถนัดหรือต้องการลดความเร็วของวิดีโอก็สามารถปรับความเร็วได้ด้วยตนเอง โดยมีวิธีการดังนี้
วิธีที่ 1 คลิกที่ Setting ใต้คลิปวิดีโอ เลือกความเร็วในการเล่น (Playback speed)
วิธีที่ 2 ใช้คีย์ลัด โดยกด Shift พร้อมเครื่องหมาย “น้อยกว่า” (<) บนคีย์บอร์ด เพื่อลดความเร็ว หรือกดเครื่องหมาย “มากกว่า” (>) เพื่อเพิ่มความเร็ว และหากกดเครื่องหมายซ้ำ ๆ ก็จะเป็นการเพิ่ม-ลด ความเร็วตามลำดับ
2. การเปิดคำบรรยายใต้ภาพ
อ่านคำบรรยายวิดีโอ โดยกดที่ไอคอน CC (Closed captioning) ใต้คลิปวิดีโอ หรือกดปุ่ม C บนคีย์บอร์ด
สามารถเปลี่ยนภาษาได้ โดยไปที่ Setting (ปุ่มเกียร์) เลือก Subtitles/CC และ Auto-translate จากนั้นเลือกภาษาที่ต้องการ ถึงแม้ว่าคำแปลจะไม่ถูกต้องสมบูรณ์ แต่สามารถช่วยให้เข้าใจได้ในระดับหนึ่ง
3. การดาวน์โหลดไว้ชมภายหลัง
หากผู้เรียนต้องการดาวน์โหลดวิดีโอเก็บไว้ดูภายหลัง กรณีที่ไม่มีอินเตอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดวิดีโอด้วยแอปพลิชัน YouTube บน Smartphone หรือ Tablet โดยมีขั้นตอนดังนี้
- เข้าแอปพลิเคชันบน Smartphone หรือ Tablet
- ค้นหาวิดีโอที่ชื่นชอบ
- เมื่อหน้าจอแสดงวิดีโออยู่ จะมีไอคอนดาวน์โหลด อยู่ใต้คลิปวิดีโอ ให้กดดาวน์โหลด
ข้อจำกัด
- ปัจจุบันสามารถดาวน์โหลดได้เฉพาะบน Smartphone, Tablet
- ไม่สามารถดาวน์โหลดเป็นไฟล์มาไว้บนคอมพิวเตอร์ได้
- ดาวน์โหลดได้เฉพาะบางวิดีโอเท่านั้น
- วิดีโอจะมีอายุประมาณ 1 เดือน
4. การปิด Autoplay
บน YouTube จะมีฟีเจอร์ เล่นอัตโนมัติ (Autoplay) คือ หลังจากผู้เรียนดูคลิปวิดีโอจนจบแล้ว YouTube จะเล่นวิดีโอที่เกี่ยวข้องอีกรายการหนึ่งโดยอัตโนมัติ ซึ่งอิงตามประวัติการรับชมของผู้เรียน ทั้งนี้ ผู้เรียนสามารถปิด-เปิด การใช้งานได้ด้วยตนเอง โดยคลิกที่แถบ Autoplay ที่อยู่ใต้คลิปวิดีโอ ให้ขึ้นคำว่า “Autoplay is off”
5. การจัดการประวัติการเข้าชม (History)
หากผู้เรียนต้องการรับชมวิดีโอที่เคยดูมาก่อน แต่จำไม่ได้แล้วว่าวิดีโอนั้นชื่ออะไร และต้องการดูซ้ำอีกครั้ง ผู้เรียนสามารถค้นหาได้จากประวัติการรับชม (History) โดยไปที่ไอคอน Hamburger ที่อยู่มุมซ้ายบน และเลือก History
จากนั้น YouTube จะแสดงวิดีโอที่ผู้เรียนเคยดูมาก่อน ผู้เรียนสามารถค้นหาวิดีโอด้วยการพิมพ์ข้อความที่ช่อง Search watch history โดยจะเป็นการค้นหาเฉพาะวิดีโอที่อยู่ในประวัติการรับชมเท่านั้น
สำหรับผู้สอน Application YouTube เป็นทางเลือกหนึ่งในการเผยแพร่วิดีโอการสอน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น โดยมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากและไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้สอนสามารถเริ่มต้นด้วยการสร้างช่อง (Channel) สำหรับการอัปโหลดวิดีโอ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ไอคอนกล้องและเลือก Upload video
ผู้สอนจำเป็นต้องมีบัญชี Google เพื่อใช้งาน YouTube โดยมีขั้นตอนการสร้างบัญชี ดังนี้ https://bit.ly/3z9ksUL
2. คลิกปุ่ม Get started
3. YouTube จะแสดงชื่อ Channel ที่อิงตามชื่อบัญชีผู้ใช้ในช่องทางซ้าย หากผู้สอนต้องการตั้งชื่อช่องด้วยตนเอง สามารถคลิก Select ในช่อง Use a custom name
4. ตั้งชื่อช่องและกด Create
สิ่งที่อาจารย์ควรทำได้บน YouTube
- การสร้าง Playlist
- การแชร์แบบระบุเวลา
- การดาวน์โหลดขั้นเทพ
- การอัปโหลดวิดีโอ
- การทำ Chapters
1. การสร้าง Playlist
หากผู้สอนต้องการรวบรวมวิดีโอหลายวิดีโอ เพื่อส่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผู้สอนสามารถทำการสร้าง Playlist ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- เมื่อผู้สอนต้องการเพิ่มวิดีโอลงบน Playlist ให้คลิกที่ save ที่อยู่ใต้วิดีโอ
- คลิก Create new playlist
- ตั้งชื่อ Playlist และตั้งค่าความเป็นส่วนตัว เป็น Public หรือ Unlisted
- คลิกที่ไอคอน Hamburger จะเห็น Playlist แสดงขึ้นมา
- ผู้สอนสามารถ Share Playlist โดยกดปุ่ม Share และ Copy ลิงก์เพื่อส่งให้ผู้เรียนได้
2. การแชร์แบบระบุเวลา
หากผู้สอนต้องการแชร์คลิปวิดีโอบน YouTube ที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเริ่มดูตั้งแต่ต้นคลิป ผู้สอนสามารถแชร์คลิปวิดีโอแบบระบุเวลาได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
วิธีที่ 1 หลังจากหยุดคลิปวิดีโอในเวลาที่ต้องการแล้ว ให้คลิกขวา และเลือก Copy video URL at current time เพื่อคัดลอกลิงก์ตามเวลาที่ต้องการ
วิธีที่ 2 คัดลอก URL ของวิดีโอ และเพิ่มข้อความหลังลิงก์วิดีโอ ดังนี้
?t=(ตัวเลขนาที)m(ตัวเลขวินาที)s
ตัวอย่างเช่น https://youtu.be/e1OJxb3DYfk?t=13m11s
3. การดาวน์โหลดวิดีโอขั้นเทพ
กรณีที่ผู้สอนต้องการดาวน์โหลดวิดีโอบน YouTube เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ www.YouTube-dl.org
ทั้งนี้ ผู้สอนควรใช้อย่างระมัดระวัง โดยมีข้อพึงปฏิบัติ ดังนี้
- ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
- ใช้โดยไม่แสวงหากำไร
- ไม่ส่งต่อไฟล์ให้คนอื่น
- ไม่ดาวน์โหลดงานที่สงวนลิขสิทธิ์
- ไม่ลดยอดวิวที่พึงได้ของคลิปต้นฉบับ
4. การอัปโหลดวิดีโอ
เมื่อผู้สอนต้องการอัปโหลดวิดีโอการสอนของตนเอง สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
- คลิกที่ไอคอนกล้องและเลือก Upload video
- ลากคลิปวิดีโอที่ต้องการอัปโหลดลงบนพื้นที่ดังกล่าว หรือคลิกปุ่ม Select files เพื่อเลือกที่อยู่ของคลิปวิดีโอ
- ตั้งค่ารายละเอียดของคลิป ได้แก่ ชื่อคลิป คำอธิบาย ภาพปก Playlist และประเภทของผู้ชม จากนั้นกด Next
การเลือกประเภทของผู้ชมนั้น หากกลุ่มเป้าหมายหลักไม่ใช่เด็ก ให้เลือกที่ “No, it’s not made for kids”
การตั้งค่าการแชร์
การตั้งค่าระดับความเป็นส่วนตัวของการแชร์คลิปวิดีโอ
- ส่วนบุคคล (Private) คือคลิปวิดีโอที่เจ้าของช่องสามารถดูได้คนเดียว
- ไม่แสดงรายการ (Unlisted) คือคลิปวิดีโอที่ไม่สามารถค้นหาจากช่องค้นหาบน YouTube หรือ Google ได้ ผู้ที่มีลิงก์วิดีโอเท่านั้น ที่สามารถเข้าชมได้
- สาธารณะ (Public) คือคลิปวิดีโอที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
การอัปโหลดวิดีโอนั้น ผู้สอนพึงปฏิบัติ ดังนี้
1. ต้องปฏิบัติตามกฎหมายทุกข้อ
- ลิขสิทธิ์
- กฎหมายคุ้มครองเยาวชน
- การโฆษณาสุรา ฯลฯ
2. การอัปโหลด = ความเสี่ยง ผู้สอนควรรู้ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้
3. ถ้ามีวิดีโอหรือเสียงของคนอื่นจะทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น
4. ถ้ามีเด็กอยู่ในวิดีโอจะทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น
5. ต้องใช้วิจารณญาณก่อนการอัปโหลดทุกครั้ง
5. การสร้าง Chapters
Chapters คือการที่ผู้สอนแบ่งคลิปวิดีโอออกเป็นตอน ๆ ตามบทหรือหัวข้อการสอน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาและหัวข้อที่ต้องการรับชมได้อย่างง่ายดาย โดยมีขั้นตอนดังนี้
- กดปุ่ม Edit video ด้านล่างวิดีโอ
- จากนั้นไปที่ Description ให้พิมพ์เวลาและหัวข้อ เพื่อแบ่ง Chapters โดยจะต้องเริ่มจาก 0:00 น. ตามด้วยหัวข้อ โดยเวลาในแต่ละบรรทัดจะต้องห่างกันอย่างน้อย 10 วินาที
- กด Save เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง
ผู้เรียนสามารถคลิกที่ตัวเลขเวลาใน description ได้เลย หรือจะใช้เมาส์ลากไปมาเพื่อดูชื่อหัวข้อบน timeline ก็ได้
สาระจากกิจกรรม เตรียมพร้อมทักษะดิจิทัล สำหรับอาจารย์ในยุค New Normal
โดย อ.ผนวกเดช สุวรรณทัต นักวิจัย สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00-12.00 น.
ดูวิดีโอย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3xIGuxf
watch all spanish daramas here in HD quality ·pandrama
I searched a lot on this subject and finally found it. I read your post and I am very impressed. We often visit this site to appreciate your opinion.. Would you like to visit? 메이저토토
I hope you appreciate the time you spent reading this wonderful book!!! I definitely enjoy all the small parts of it and I’ve bookmarked a blog you must read to check out the new things on your blog! I bookmarked it on my bookmark internet site list and am checking back soon. 메이저토토