การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลด้วย iPad และ Mac สำหรับ iPadOS15 โดย คุณภานุวิชญ์ จันทระ Apple Professional Learning Provider (APLP) เรียบเรียงโดย ทีม CELT เทรนการศึกษาในยุคปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเพื่อสอดรับกับวิถีชีวิตและสถานการณ์โลกในปัจจุบัน สถานการณ์วิกฤติโควิด-19 เป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้ภาคการศึกษาต้องเกิดการปรับรูปแบบการเรียนการสอนอย่างเร่งด่วน โดยการเรียนการสอนนั้นจะไม่ถูกจำกัดแค่ในชั้นเรียน แต่ยังสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ เทคโนโลยีจึงเป็นหนึ่งกลไกสำคัญที่สถาบันการศึกษาพยายามผลักดันให้ผู้สอนนำมาปรับใช้ในกระบวนการสอนและการเรียนรู้ 4 หัวใจหลักในการนำเทคโนโลยีไปใช้ ตามแนวคิดของ Apple เชื่อมโยง จัดสรรนักเรียนในแง่ของเครื่องมือค้นหาเพื่อสำรวจเนื้อหาคุณภาพดีที่สุดที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในชีวิต เรียนรู้ร่วมกัน เป็นมากกว่าการประชุมทางไกลหรือการแชร์ข้อมูลออนไลน์ แต่เป็นเรื่องของการร่วมมือเพื่อเป้าหมายร่วมกันจากที่ไหนก็ได้และกับใครก็ได้ คิดสร้างสรรค์ ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมจินตนาการจะทำให้นักเรียนได้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ หรืออาจทำผิดพลาดซึ่งจะได้เรียนรู้ทักษะการแก้ปัญหา มีความเฉพาะตัว เพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ แสดงมุมมองของแต่ละบุคคลในแบบที่แตกต่างเฉพาะตัว นักเรียนสามารถกำหนดแนวทางการเรียนของตนเองได้ เป็นการปลูกฝังนิสัยความเป็นอิสระและการพึ่งพากันและกัน วิธีค้นหา Application ด้านการเรียนการสอน ผู้สอนสามารถค้นหา Application ใหม่ ๆ บน Appstore โดยมีขั้นตอนดังนี้ เข้าไปที่ App Store ไปที่แถบแอป (Apps)…
Tag: online learning
Hybrid Learning and Assessment as Learning
โดย รศ. ดร.ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียบเรียงโดย ทีม CELT ปัจจุบันระบบการศึกษาได้มีการปรับกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบ Hybrid มีการใช้ Learning Management System (LMS) เข้ามาช่วยในการจัดการห้องเรียนเป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมออนไลน์ ทั้งการฝากไฟล์การเรียนการสอน การรับ-ส่งงานระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน การทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ การดูสื่อดิจิทัลเพื่อทบทวนการเรียน รวมทั้งการเก็บหลักฐาน การติดตามพฤติกรรมเพื่อประเมินผลการเรียนและให้ข้อมูลป้อนกลับ นอกจากนี้อาจใช้ในการออกแบบหลักสูตรและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ได้อีกด้วย แนวคิดด้านการออกแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบ TPACK (Technological Pedagogical Content Knowledge) เป็น Framework หนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในสภาวะปัจจุบันที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้บูรณาการร่วมกับการสอนมากขึ้น โดยประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ TCK (Technological Content Knowledge) คือ ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย น่าสนใจ และเหมาะสมกับเนื้อหา รวมทั้งสามารถพิจารณาได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศใดที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเข้าใจเนื้อหาตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective) ที่ตั้งไว้ TPK…
Hybrid Learning และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา
Hybrid Learning และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา โดย ศ. ดร.เนาวนิตย์ สงคราม อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียบเรียงโดย ทีม CELT ปัจจุบันสถานการณ์โรคระบาด COVID – 19 ทำให้อาจารย์ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนให้เป็น Online มากขึ้น และทำความรู้จักเครื่องมือหรือเทคโนโลยีช่วยสอนต่าง ๆ เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ อาทิ ZOOM Application จากเดิมที่เป็นเพียงจัด VDO Conference ก็สามารถใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันต่าง ๆ ได้อีกมากมายทั้งการสร้าง Poll หรือสร้าง Quiz เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการทำวิจัยด้านการศึกษา การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาที่จะนำมาปรับใช้กับบริบทการเรียนการสอนในปัจจุบันและอนาคต และถึงแม้สถานการณ์ของโรคระบาดจะเริ่มดีขึ้นแต่นวัตกรรมทางการศึกษาก็จะยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ โดยปัจจุบันจะถูก เรียกว่า Hybrid Learning ในบทความนี้ชี้ให้เห็นถึงความหมาย และแนวทางการจัดการสอนแบบ Hybrid Learning ในปัจจุบัน นิยามและทฤษฎี Hybrid Learning มีคนให้ความหมายไว้หลากหลายรูปแบบตามสัดส่วนของการเรียนการสอนในห้อง (Face to…
ร่ายมนต์สร้างห้องเรียน online ให้มีชีวิต ผ่าน ZOOM
สาระจากกิจกรรมหัวข้อ “ร่ายมนต์สร้างห้องเรียน online ให้มีชีวิต ผ่าน ZOOM” โดย ผศ.ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เรียบเรียงโดย ทีม CELT ในช่วงก่อนสถานการณ์โควิดที่มีการเรียนการสอนในห้องเรียน ผู้สอนจะยึดหลักการจัดกระบวนการแบบกระบวนกร หรือที่เรียกว่า Facilitator เพื่อสร้างมณฑลพลังแห่งการเรียนรู้ (Flow) ด้วยเทคนิคการจัดกระบวนการไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางกายภาพ การจัดพื้นที่การเรียนรู้ การใช้โทนเสียง (Voice and tone) การให้ฟีดแบ็กเชิงบวก (Positive feedback) เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนอยู่บนพื้นที่พร้อมเปิดรับและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนและการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย ผู้สอนจำเป็นต้องปรับการสอนเป็นออนไลน์ จึงทำให้เกิดความกังวลว่า ผู้สอนจะมีวิธีการสร้างพลังและห้องเรียนออนไลน์ให้มีชีวิต ผ่านเทคนิค กระบวนการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ อย่างไรได้บ้าง สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนอย่างฉับพลันนี้ คือ Team teaching ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาแนวทางร่วมกันของทีมผู้สอนเอง หรือการได้รับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ เทคนิคการสอน และเครื่องมือ จากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยก็ตาม โดยบทความนี้จะกล่าวถึงหลักการ ทฤษฎี เครื่องมือ ที่ผู้สอนสามารถนำมาปรับใช้ในการสอนออนไลน์ได้ การสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ Comfort…
กิจกรรม New Learning Platform #10 เรื่องเล่าจากครู…“การจัดการเรียนรู้แบบ Hybrid Learning”
เอกสารประกอบกิจกรรม วิชา Psychology for teachers – อ.เป๋า แนวคิดบางอย่างที่ใช้ในออนไลน์ – อ.บอย แนวทางการปรับใช้ในรายวิชา – อ.โตโต้ มุมมองจากการนิเทศการสอน – อ.เอ๋ Why students do not turn on their video cameras during online classes – อ.เอ๋ วิดีโอย้อนหลังกิจกรรม Part 1 Part 2 Part 3
กิจกรรม New Learning Platform #9 เรื่องเล่าจากครู… “การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด ที่ออนไลน์เข้าถึงได้ยาก”
เอกสารประกอบกิจกรรม โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา – รศ. ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา โครงการอาสาสมัครการศึกษาประจำหมู่บ้าน (อศม.) – ผศ. ดร.ปณัตดา ยอดแสง ราชบุรีโมเดล การเรียนการสอนในโรงเรียนชายขอบ – ดร.รัตนา รุ่งศิริกุล วิดีโอย้อนหลัง Part 1 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน จ.ราชบุรี ในช่วงโควิด (โครงการ อศม.) – ผศ. ดร.ปณัตดา ยอดแสง Part 2 ราชบุรีโมเดล – การเรียนการสอนในโรงเรียนชายขอบ – ดร.รัตนา รุ่งศิริกุล Part 3 โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา – รศ. ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา Part 4 แลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ Part 5 ข้อค้นพบและบทสรุป Part 6 Q&A
กิจกรรมร่ายมนต์สร้างห้องเรียน Online ให้มีชีวิต ผ่าน ZOOM
เอกสารประกอบกิจกรรม เอกสารประกอบการบรรยายร่ายมนต์สร้างห้องเรียนonline วิดีโอย้อนหลังกิจกรรม Part 1 – เครื่องมือ Quizizz – กิจกรรมแชร์ความสุข Part 2 – แอปพลิเคชันสำหรับสอนออนไลน์ Part 3 – การก้าวข้าม Comfort Zone – สมองกับการเรียนรู้ – ทฤษฎีตัวยู Part 4 – กิจกรรมผู้นำ 4 ทิศ Part 5 – เครื่องมือ Padlet และ Annotate Zoom – Learning Journey – ครูสมพรคนสอนลิง Part 6 – การรับรู้กับการเรียนรู้ – อวัยวะรับสัมผัส – แอปพลิเคชัน Snap Camera
เทคนิคการใช้ YouTube ขั้นเทพ
สาระจากกิจกรรม เตรียมพร้อมทักษะดิจิทัล สำหรับอาจารย์ในยุค New Normal โดย อ.ผนวกเดช สุวรรณทัต นักวิจัย สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรียบเรียงโดย ทีม CELT ในยุค New Normal ทำให้เราต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ ทั้งการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล การสวมหน้ากากเพื่อป้องกันโรค การล้างมือบ่อย ๆ ทั้งนี้ ในด้านของการเรียนรู้บนสังคมออนไลน์นั้น YouTube ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ดังนั้น ในฐานะของผู้สอน หรือผู้ปกครอง จึงควรตระหนักถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเปลี่ยนผู้เรียนจาก Passive viewers เป็น Active watchers นั่นคือการทำให้ผู้เรียนสามารถจัดการและควบคุม YouTube ได้ด้วยตนเอง และผู้สอนเองก็ควรเป็น Active creators ที่มีทักษะความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยแอปพลิเคชัน YouTube สิ่งที่ควรฝึกให้ผู้เรียนทุกคนทำได้บน YouTube การควบคุมวิดีโอขั้นเทพ การเปิดคำบรรยายใต้ภาพ การดาวน์โหลดไว้ชมภายหลัง การปิด Autoplay การจัดการประวัติการเข้าชม (History) 1. การควบคุมวิดีโอขั้นเทพ หากผู้เรียนต้องการเพิ่ม-ลดความเร็วของวิดีโอ…
เทคนิคการตัดต่อวิดีโอการสอนด้วย iMovie
สาระจากกิจกรรม เตรียมพร้อมทักษะดิจิทัล สำหรับอาจารย์ในยุค New Normal โดย ดร.ปิยธิดา กล่ำภู่ อาจารย์สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรียบเรียงโดย ทีม CELT ปกติเวลาสอนออนไลน์นั้น ผู้สอนมักจะบันทึกวิดีโอระหว่างการสอนเอาไว้ด้วย ซึ่งวิดีโอก็จะมีความยาวตามระยะเวลาของคาบเรียนนั้น ๆ บางครั้งอาจจะยาวเกิน 1 ชั่วโมง ดังนั้น การตัดต่อคลิปวิดีโอการสอนก็จะช่วยย่นระยะเวลาการเรียนของผู้เรียนได้ โดยการจัดทำคลิปวิดีโอสั้น ๆ สรุปใจความสำคัญของเนื้อหารายวิชา รวมถึงการใส่สื่อประกอบ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ จัดเตรียมคลิปวิดีโอที่นำมาใช้ในการตัดต่อ นำคลิปวิดีโอเข้าสู่โปรแกรม iMovie ตัดต่อคลิปวิดีโอการสอน Upload คลิปวิดีโอบน Youtube 1. จัดเตรียมคลิปวิดีโอที่นำมาใช้ในการตัดต่อ ผู้สอนสามารถบันทึกวิดีโอจากอุปกรณ์การสอนไปพร้อม ๆ กัน เพื่อนำมาตัดต่อทำเป็นสื่อวิดีโอภายหลังได้ ตัวอย่างคลิปวิดีโอที่สามารถนำมาใช้ตัดต่อ มีดังนี้ คลิปวิดีโออัดผู้สอนหน้าตรง โดยจะบันทึกจากกล้อง Webcam บน Computer หรือบันทึกจากกล้องของ Smart phone ก็ได้ คลิปวิดีโอบันทึกหน้าจอ iPad โดยจะเป็นวิดีโอการเขียนกระดาน…
การสอนออนไลน์ด้วย Microsoft Teams และ iPad
สาระจากกิจกรรม เตรียมพร้อมทักษะดิจิทัล สำหรับอาจารย์ในยุค New Normal โดย ดร.ปิยธิดา กล่ำภู่ อาจารย์สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรียบเรียงโดย ทีม CELT จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้สอนต้องปรับรูปแบบการสอนเป็นออนไลน์ โดยทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สนับสนุนผู้สอนให้ใช้โปรแกรม Microsoft Teams ซึ่ง ดร.ปิยธิดา กล่ำภู่ อาจารย์สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะมาแบ่งปันประสบการณ์สอน และเทคนิคในการสอนออนไลน์ ดังนี้ การเตรียมอุปกรณ์และสถานที่สำหรับการสอนออนไลน์ การสอนออนไลน์นั้น ผู้สอนสามารถถ่ายทอดสด หรือบันทึกวิดีโอการสอนที่ใดก็ได้ แต่ถ้าหากจำเป็นต้องสอนที่บ้าน ผู้สอนสามารถเตรียมพื้นที่บริเวณหนึ่ง และจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมสำหรับการสอนออนไลน์ โดยอุปกรณ์ที่สามารถช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีดังต่อไปนี้ 1. ไมโครโฟน เพื่อให้ผู้เรียนได้ยินเสียงชัดเจน ลดเสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมได้ กล้องจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Laptop, Smartphone, iPad เป็นต้น ไฟส่องสว่าง เช่น Ring Light…
แนะนำ 6 โปรแกรมตัดต่อวิดีโอการสอน
แนะนำ 6 โปรแกรมตัดต่อวิดีโอการสอน สาระจากกิจกรรม เตรียมพร้อมทักษะดิจิทัล สำหรับอาจารย์ในยุค New Normal โดย อ.ผนวกเดช สุวรรณทัต นักวิจัย สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรียบเรียงโดย ทีม CELT ปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับการตัดต่อวิดีโอหลากหลายโปรแกรมที่รองรับทั้งระบบปฏิบัติการ macOS และ Windows นอกจากนี้ยังรวมไปถึงความนิยมในการตัดต่อง่ายๆ บนอุปกรณ์ Smartphone หรือ Tablet ซึ่งมีโปรแกรมที่รองรับระบบปฏิบัติการ Android ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้สอนสามารถศึกษาและทดลองใช้เพื่อสร้างสื่อการสอนด้วยตนเอง โดยสามารถพิจารณาจากข้อมูลการใช้งานและข้อจำกัดเบื้องต้น ของโปรแกรมที่นำมาแนะนำทั้ง 6 โปรแกรม ดังต่อไปนี้ 1. Adobe Premiere Pro การใช้งาน: สามารถตัดต่อได้หลากหลายเมื่อเทียบกับ iMovie แต่การใช้งานค่อนข้างยุ่งยากสำหรับผู้เริ่มต้น ระบบที่รองรับ : ระบบ Windows และ MacOS ค่าใช้จ่าย: ราคาประมาณ 748 บาท/เดือน หรือปีละ…
Visual Thinking เป็นได้มากกว่าการจดบันทึก
Visual Thinking เป็นได้มากกว่าการจดบันทึก เรียบเรียงโดย ทีม CELT ในการฟังบรรยาย การสอน สัมมนา การประชุม หรือการนำเข้าข้อมูลจำนวนมากในระยะเวลาอันจำกัด เราจะมีวิธีจดจำข้อมูลเหล่านั้นอย่างไร ปัจจุบันได้มีเครื่องมือ ที่ชื่อว่า Visual Note Taking เข้ามาช่วยในการจดบันทึก โดยเป็นการใช้ภาพวาด สัญลักษณ์ต่าง ๆ เข้ามาช่วยให้การจดบันทึกนั้นมีประสิทธิภาพ เห็นภาพรวมและสวยงามน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากการคิดให้เห็นถึงการเชื่อมโยงเนื้อหาเข้ากับภาพต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า Visual Thinking บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นถึงมุมมองอื่นของการประยุกต์ใช้หลักการของ Visual Thinking ไปใช้ในงานรูปแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน นอกเหนือจากการสอน และการจดบันทึก ดังนี้ Visual Thinking ในการบริหารงานและบริหารทีม โดย น.ส.กุลชรีย์ พิมพิน นักพัฒนาการศึกษา สำนักงานพัฒนาการศึกษาและบริการ การทำงานร่วมกัน (Teamwork) เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ เพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการ หรืองานต่าง ๆ ซึ่งการบริหารทรัพยากรบุคคล หรือสมาชิกในทีมจึงเป็นทักษะที่สำคัญ และมีความท้าทายอย่างมาก เพราะนอกจากการบริหารงานตามหลักการเหตุผลแล้วยังต้องคำนึงถึงการจัดการอารมณ์ของสมาชิกอีกด้วย…
E-Portfolios as teaching, learning, and assessment tools
e-Portfolios หรือแฟ้มสะสมผลงานออนไลน์ ไม่ได้เป็นแหล่งรวบรวมผลงานในรูปแบบดิจิตอล…เพียงเท่านั้น แต่เป็นทั้งวิธีการ (method) และเครื่องมือ (tool) ในกิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินหลักฐานการเรียนรู้ที่ผู้เรียนรวบรวมไว้ตลอดเส้นทางของประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ได้ทั้งในระดับรายวิชาและระดับหลักสูตร จากผลการวิจัยที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพของการใช้ e-Portfolios ในการเรียนการสอน ในปี 2016 Association of American Colleges and Universities (AAC&U) จึงได้ระบุให้ e-Portfolios เป็นหนึ่งในเทคนิคการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างสูง (High Impact Practice) e-Portfolios ที่ดีจะเป็นทั้งผลงาน (product) และกระบวนการ (process) ของการเรียนรู้ พอร์ตโฟลิโอที่ดีควรนำเสนอเนื้อหาที่มีความสอดคล้องกัน (align) ระหว่างหลักฐานการเรียนรู้ (evidence of learning) เช่น ชิ้นงาน การนำเสนอ ที่แสดงถึงสมรรถนะดังที่ระบุในผลการเรียนรู้ (learning outcome) และ การเล่าเรื่องเพื่อสะท้อนความคิด (reflective narrative) ที่แสดงถึงกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการที่เกิดขึ้นตลอดเส้นทางของการเรียนรู้ (learning journey) (Yancey, 2009)…
กิจกรรม Teaching Clearly with Visual Thinking แก่ คณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
กิจกรรม Teaching Clearly with Visual Thinking แก่ คณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภายใต้โครงการ การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการสอนอย่างมืออาชีพ วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 12.00 น. ผ่านแอพพลิเคชั่น ZOOM วิทยากร โดย ผศ. ดร. กฤติกา ตันประเสริฐ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ นาย ไพฑูรย์ อนันต์ทเขต นักพัฒนาการศึกษา สถาบันการเรียนรู้ เอกสารสำคัญ >> เอกสารประกอบการอบรม >> กำหนดการ 1. กิจกรรมแบ่งปันประสบการณ์ การนำ Visual thinking ไปใช้ในการเรียนการสอน วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การนำ Visual thinking ไปใช้ในการเตรียมการเรียนการสอน รูปที่ 1 กิจกรรมแบ่งปันประสบการณ์ การนำ…
Learning reflection as an assessment
Learning reflection: การสะท้อนการเรียนรู้ คือ กระบวนการที่ให้ผู้เรียนได้ทบทวนไตร่ตรอง ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และการกระทำของตนเองจากสถานการณ์ที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมหรือจากประสบการณ์ที่ได้รับ การหาเหตุผลมาสนับสนุน ทำให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์หรือเหตุการณ์นั้น นำไปสู่การตระหนักและให้ความหมายการกระทำของตนเองและให้คุณค่าต่อประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น ในกระบวนการสะท้อนการเรียนรู้ ตามแนวคิดของ Gibbs มีกระบวนการสะท้อนการเรียนรู้ที่เป็นระบบและมีขั้นตอนที่ชัดเจน ช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นหาความหมายของพฤติกรรม ทัศนคติของตนเอง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและสามารถประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่การลงมือทำได้ ผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้กระบวนการ Reflective Cycle เพื่อประเมินผลการจัดการเรียนรู้ได้ทั้งในการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative assessment) และการประเมินวัดผลการเรียนรู้ (Summative assessment) Ref: รัตติกร เหมือนนาดอน และคณะ (2562, พษภาคม-สิงหาคม). การพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 35 (2): 13-25. ในกระบวนการสะท้อนคิดตามแนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย 1. ขั้นบรรยาย (Description) – เป็นขั้นแรกของการเริ่มต้นกระบวนการสะท้อนคิด คือการเริ่มด้วยการบรรยายเหตุการณ์ กิจกรรม หรือประสบการณ์ อาจารย์สามารถใช้คำถามต่อไปนี้ เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนได้เรียนรู้หรือได้รับประสบการณ์ตามที่อาจารย์คาดหวังหรือไม่ เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน…
Student evaluations of teaching ถามอย่างไร ให้เข้าใจประสบการณ์เรียนรู้ทางไกลของนักเรียน
Student evaluations of teaching (SET) หากแปลความตามคำศัพท์ SET คือการประเมินผลการเรียนการสอนโดยนักเรียน แต่หากทำความเข้าใจตามวัตถุประสงค์แล้ว SET คือการประเมินเพื่อพัฒนา (develop) เพราะช่วยให้แนวทางแก่ผู้สอนว่ามีสิ่งใดที่ควรปรับปรุงในการสอน และมีสิ่งใดที่จะช่วยเรื่องการเรียนรู้ของนักเรียนได้ โดยรู้จากความคิดเห็นของนักเรียน แต่โดยทั่วไป การทำ SET มักจะเกิดขึ้นในช่วงท้ายภาคเรียน หรือเกือบปลายทางของกระบวนการเรียนการสอนในวิชาหนึ่ง ๆ จึงเท่ากับว่าเสียโอกาสที่จะได้ยินเสียงสะท้อนจากนักเรียนให้อาจารย์ได้รู้ข้อติติงหรือคำชื่นชมที่มีต่อการสอนของตนได้ทันในระหว่างทางของกระบวนการเรียนรู้ ประสบการณ์ใหม่ (เพิ่ม)คำถามใหม่ เมื่ออาจารย์จำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนทางไกล (remote teaching) โดยเป็นการปรับเปลี่ยนแผนการสอนอย่างกะทันหันเพราะสถานการณ์แวดล้อมที่ไม่สามารถหยุดรอให้อาจารย์เตรียมความพร้อมได้ ทีมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลของ EDUCAUSE ได้รวบรวมรายการคำถามที่สกัดมาจากการแลกเปลี่ยน และข้อสังเกตต่าง ๆ ภายในกลุ่มประชาคมด้านการเรียนการสอน และที่เป็นประเด็นในระดับสาธารณะ และสร้างเทมเพลท (template) ของแบบสำรวจสั้น ๆ ขึ้น เพื่อใช้เก็บฟีดแบ็กเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนการสอนและการทำงานทางไกล (EDUCAUSE DIY Survey Kit: Remote Work and Learning Experiences) ประกอบด้วยชุดคำถามสำหรับคน 3 กลุ่ม คือ Student-Centered…
Online Course การวัดและประเมินผลทางการศึกษา
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้สอนสามารถบอกได้ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้หรือไม่ อีกทั้ง ยังเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้ผู้สอน สามารถนำไปปรับปรุงรูปแบบการสอนของตนเอง และสะท้อนผลการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้ วันนี้ ศูนย์ CELT อยากจะเชิญชวน บุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน มาทำความเข้าใจในเรื่องของการวัดและประเมินผลทางการศึกษาในระดับเบื้องต้น ผ่านการเรียนออนไลน์ บนเว็บไซต์ https://www.udemy.com ที่ทางเรา ได้จัดทำไว้แล้ว วิชานี้เป็นวิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษาเบื้องต้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจหลักการและทฤษฏีทางการวัดและประเมินผลทางการศึกษา และสามารถประยุกต์ใช้วิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผล ผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ ในหัวข้อ Constructive alignment, Learning Outcomes and Bloom’s taxonomy, Assessment and Evaluation, Type of assessment, Rubric Design, และการประเมินโครงงานและการออกข้อสอบ ผู้สอนหลัก ผศ. ดร.กฤติกา ตันประเสริฐ ผู้อำนวยการ สถาบันการเรียนรู้…
Feedback Strategies: Feed อย่างไร ให้ Forward สู่การเรียนรู้
Feedback Strategies: Feed อย่างไร ให้ Forward สู่การเรียนรู้ การให้ฟีดแบ็กที่ดี คือหนึ่งในวิธีที่ทรงพลังในการกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสู่เป้าหมายที่ชัดเจน (deliberate practice) และยังสร้างความรู้สึกเชื่อมต่อระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี…..หากแต่ฟีดแบ็กที่ดีนั้นย่อมต้องมาจากการวางแผนและการออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ Checklist ต่อไปนี้ คือวิธีการออกแบบฟีดแบ็กที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และประยุกต์ใช้ได้กับการสอนทั้งแบบ face-to-face และแบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม สำหรับฟีดแบ็กให้ผู้เรียนออนไลน์ จะพบว่า keyword ที่สอดแทรกอยู่ในที่มาของทุกวิธีการ คือ connectedness และ social presence* ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ในสภาพแวดล้อมแบบ remote teaching and learning * Social Presence คือ 1 ใน 3 องค์ประกอบสำคัญของการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ออนไลน์ ตามกรอบแนวคิด Community of Inquiry (Garrison, Anderson and Archer, 2000) ว่าด้วยการมีปฎิสัมพันธ์ 3 รูปแบบ ได้แก่…
Teacher Presence …เรื่องน่ารู้ เมื่อสอนออนไลน์
Teacher Presence …เรื่องน่ารู้ เมื่อสอนออนไลน์ มีงานวิจัยที่พบว่า ในการเรียนออนไลน์ ยิ่งผู้เรียนรู้สึกว่าพวกเขาได้มีปฎิสัมพันธ์กับอาจารย์มากเท่าไหร่ พวกเขายิ่งพอใจกับประสบการณ์การเรียนรู้นั้นมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ผู้เรียนที่มีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์มากกว่า จะมีผลการเรียนที่ดีกว่าผู้เรียนที่มีปฎิสัมพันธ์กับอาจารย์น้อยกว่าอีกด้วย (Community College Research Center, 2013) แต่ปฎิสัมพันธ์ทางสังคมในบริบทของการสื่อสารออนไลน์ ย่อมทำได้ยากกว่าการสอนแบบชั้นเรียนปกติที่มีการสื่อสารกันได้แบบ face-to-face …การจัดการชั้นเรียนออนไลน์แบบไหนจึงจะส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อการเรียนรู้ Community of Inquiry (Garrison, Anderson and Archer, 2000) คือกรอบแนวคิดที่มองว่าประสบการณ์การเรียนรู้ออนไลน์ควรประกอบด้วยปฎิสัมพันธ์ 3 แบบ ได้แก่ Cognitive Presence, Teaching Presence และ Social Presence 1. Cognitive Presence ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนนั้น ๆ หรือเป็นส่วนที่ผู้เรียนเรียนรู้ ฝึกฝนความรู้และทักษะต่าง ๆ จากเนื้อหา กระบวนการสอน หรือกระบวนการอำนวยการเรียนรู้ (facilitation) กิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงแนวคิดที่เรียนกับชีวิตจริง กับสังคมรอบตัว ผ่านการสังเกต ค้นคว้า…
Practical Tips to Create Better Online/ Video Demonstration
Practical Tips to Create Better Online/ Video Demonstration ทำวิดีโอสาธิตอย่างไร ให้น่าสนุกและเข้าใจง่าย ในช่วงเวลาที่ผู้สอนจำนวนมากต้องปรับตัวเข้าหาออนไลน์มากขึ้น และไม่สามารถสอนแบบสาธิตในชั้นเรียนได้ การสอนโดยใช้วิดีโอสาธิตก็สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีได้ไม่น้อยไปกว่ากัน… ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย Harvard ศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการสอนแบบสาธิตในห้องเรียน (live demonstration) กับการใช้วิดีโอสาธิต (online/video demonstration) ในวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน หัวข้อ Mechanics โดยใช้การทดลองแบบสุ่มไขว้ (randomized crossover study design) แบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะได้เรียน 2 หัวข้อ ซึ่งแต่ละหัวข้อมีเนื้อหาบรรยายเหมือนกัน และผู้สอนคนเดียวกัน แตกต่างกันตรงส่วนของวิธีการสาธิต ผลการทดลอง พบว่าทั้งสองกลุ่มสามารถทำคะแนนในหัวข้อที่สอนโดยใช้วิดีโอสาธิตได้สูงกว่าหัวข้อที่ใช้การสาธิตในชั้นเรียน ประมาณ 25-30 % และเมื่อนักวิจัยถามถึงความรู้สึกต่อการเรียนทั้งสองรูปแบบ พบว่า นักศึกษารู้สึกสนุกกับการเรียนผ่านวิดีโอสาธิตไม่น้อยไปกว่าอีกแบบเลย และยังสนุกมากกว่าอีกด้วยซ้ำจากการเรียนผ่านวิดีโอสาธิตของหนึ่งในสองหัวข้อที่ได้เรียน (Kestin et al., 2020) Kestin et al. ชี้ให้เห็นถึง…
กิจกรรม “Smart Online Education Solution”
วิดีโอย้อนหลัง Part 1 : Check-in, Tip การเตรียมการสอนออนไลน์ Part 2 : การใช้งานเครื่องมือบน Office 365 Part 3 : Interactive Presentation Part 4 : สื่อประกอบการสอน Sketchlab, QR code Part 5 : การติดตั้ง และใช้งาน Zoomit Part 6 : 10 Tips การใช้ microsoft tools สรุปกิจกรรม แนะนำการสอนออนไลน์โดยใช้ PowerPoint Live บันทึกวิดีโอด้วย PowerPoint ได้คุณภาพของวิดีโอที่คมชัด ตัดต่อได้ ทำได้โดยไม่จำเป็นต้องออนไลน์ Present live นำเสนอแบบสด สามารถส่งลิงค์ หรือ สร้างเป็น QR Code…
กิจกรรม “เข้าถึงผู้เรียนด้วย Podcast”
เอกสารประกอบการอบรม https://bit.ly/2KW8upS วิดีโอย้อนหลัง Part 1 : แนะนำการอบรม Part 2 : สร้าง Podcast แบบ Basic Part 3 : Podcast ในฐานะผู้ฟัง Part 4 : Review Podcast Part 5 : Podcast ในฐานะผู้สร้าง สรุปกิจกรรม Podcast คืออะไร? Podcast คือการถ่ายทอดเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตคล้ายรายการวิทยุ แต่สามารถเลือกหัวข้อที่ตนเองอยากฟัง แล้วดาว์นโหลดเข้ามาในอุปกรณ์ เช่นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ipod Tablet mp3 ฯลฯ เพื่อฟังตามเวลา และสถานที่ที่สะดวก โดยที่เป็น offline ได้ เช่น ขับรถ ทำงานบ้าน ข้อดีของ Podcast ไม่ต้องรวยก็เรียนได้ : รายการส่วนมากของ…
กิจกรรม Visual thinking to clarify + communicate
สรุปเนื้อหากิจกรรม Visual thinking to clarify & communicate 4 หลักการของ Visual thinking สื่อสารโดยใช้ทั้งคำและภาพ (verbal & visual) จะช่วยให้การรับรู้ของสมองทำงานได้ดี ช่วยให้ความคิดชัดเจนขึ้น ดึงความทรงจำได้มากขึ้น Visual thinking เป็นตัวช่วยปรับความเข้าใจ ใช้เสริมกับการพูดคุยทำให้เห็น “ความต่างของสิ่งที่เราเข้าใจ” ได้ ถ้าไม่วาดภาพออกมา ทั้งผู้พูดและผู้ฟังอาจจะคิดไปว่าเข้าใจตรงกัน แต่การวาดภาพช่วยให้รู้ว่าอาจมีความเข้าใจที่เหลื่อมกันอยู่ Thinking ideas, Not art: ประเด็นสำคัญของ Visual thinking คือ การคิด นั่นคือใช้ภาพเพื่อให้ความคิดชัดเจนขึ้น จึงไม่เน้นที่ความสวยงาม หรือจำเป็นต้องมีทักษะการวาดภาพ ใช้จินตนาการ และปล่อยให้ “มือพาไป” คือวาดด้วย speed ที่เร็ว วาดไปคิดไป เพื่อให้รูปทันความคิดของเรา จะช่วยให้ความคิดเรากระจ่างขึ้น ต่อความคิดไปได้เรื่อย ๆ และใช้ keyword เป็นตัวช่วย ในการคิดโดยใช้ภาพช่วยนั้น 80…
3 Ways Online Students Might Take Exams
3 Ways Online Students Might Take Exams แนวทางการจัดสอบของการเรียนออนไลน์ มีดังนี้ Proctored exams in person: ในกรณีที่นักเรียนอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย โรงเรียนให้จัดเป็นศูนย์สอบมีผู้คุมสอบและกำหนดเวลา ส่วนที่ห่างไกลอาจจะมอบหมายหัวหน้างาน ผู้ปกครองทำหน้าที่แทน Online exams that are monitored by humans: จัดทีมเพื่อทำการคุมสอบผ่านเว็บแคมหรือซอฟแวร์พิเศษ ซึ่งปริมาณของผู้เข้าสอบอาจจะจำกัด เนื่องจากข้อจำกัดของผู้คุมสอบ Online exams that are monitored by computers: ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้ตรวจสอบหาความผิดปกติ หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นบนหน้าจอ ซึ่งบางพฤติกรรมอาจแสดงถึงการโกง How Do Tests, Exams and Assignments Work for Online Degrees? การเรียนออนไลน์อาจจะต้องแบ่งเป็นส่วน ๆ 4 ส่วน ดังนี้ forum discussions :…
กิจกรรม CoPs ในหัวข้อ Student Engagement to online course
เอกสารประกอบการอบรม เอกสาร ผศ. ดร.อรรถพล อนันตวรสกุล เอกสาร ผศ. ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ วิดีโอย้อนหลัง Part 1 : ผศ. ดร.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Part 2 : ผศ. ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ฯ มจธ. Part 3 : Q&A สรุปเนื้อหากิจกรรม ทั่วโลกและประเทศไทยกำลังเผชิญสถานการณ์โควิด การเรียนการสอนในห้องเรียนแบบ Face to Face ต้องเปลี่ยนไปอยู่บน platform ใหม่ เป็นการเรียนรู้ทางไกล (Online Learning) 100% สิ่งที่ต้องเรียนรู้ก็เปลี่ยนแปลงไป ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ความพร้อมของผู้เรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน (Space) บรรยากาศทางสังคมรอบ ๆ ตัวก็เปลี่ยนแปลง (Time/Space) ไม่สามารถเรียนแบบปกติได้ และความเครียดมีผลอย่างมากกับตัวผู้เรียน ยิ่งเรียนนานพลังงานของผู้เรียนจะยิ่งลดลง คุณครูจึงต้องพยายามที่จะรักษาความสัมพันธ์ในชั้นเรียนหลากหลาย พยายามสร้างความรู้สึกที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชั้นเรียน ผ่านวิธีการที่หลากหลาย เช่น ออกแบบหลักสูตร และเลือกใช้เครื่องมือการสอน (Tools) พยายามทำห้องเรียนให้มีความหมาย (Value) ปรับบทบาทของตัวเอง…
กิจกรรม CoPs หัวข้อ เรื่องเล่าจากครู…การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ออนไลน์
เอกสารประกอบการอบรม เอกสาร รศ. ดร.ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง (อ.นิล) เอกสาร ผศ. ดร.มนต์สิทธิ์ ธนสิทธิโกศล (อ.แบงค์) เอกสาร ผศ. ดร.ประภัสสร วงษ์ดี (อ.แตน) เอกสาร ดร.จุลพจน์ จิรวัชรเดช (อ.จุล) เอกสาร ดร.ภาณุ แสง-ชูโต (อ.โอม) วิดีโอย้อนหลัง Part 1 : รศ.ดร.ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Part 2 : ผศ. ดร.มนต์สิทธิ์ ธนสิทธิโกศล ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. Part 3 : ผศ. ดร.ประภัสสร วงษ์ดี ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ฯ มจธ. Part 4 : ดร.จุลพจน์ จิรวัชรเดช ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. Part…
5 Tips Student Engagement : 5 กลยุทธ์ในการกระตุ้นผู้เรียนทางออนไลน์
จิตวิทยาการศึกษาได้จำแนกแรงจูงใจออกเป็น 2 ประเภท คือ แรงจูงใจภายใน และ แรงจูงใจภายนอก (Bligh, 1971; Sass, 1989) แรงจูงใจภายใน เป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวร ได้แก่ Interest : ความสนใจ Perceptions : การรับรู้สิ่งเร้า Desire : ความต้องการ Self-confidence : ความมั่นใจในตัวเอง Self-esteem : การเห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งส่งผลต่อความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต Patience : ความอดทน Persistence : ความพากเพียร แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันจากสิ่งเร้าภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมไม่ถาวร แต่หากเกิดการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องจะสามารถเปลี่ยน แรงจูงใจภายนอกเป็นแรงจูงใจภายในได้ ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมเปลี่ยนค่อนข้างถาวร วิธีการกระตุ้นให้เกิดการสร้างแรงจูงใจภายนอก เพื่อให้กระตุ้นการสร้างแรงจูงใจภายใน ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการมีส่วนร่วมในการทำงานและเรียนรู้ มีดังนี้ 1: ให้รางวัลแก่นักเรียนที่ทำสำเร็จ เกณฑ์การให้คะแนนพิเศษ หรือสิทธิพิเศษบางอย่าง นอกเหนือจากคะแนนปกติ เมื่อทำงานได้รับมอบหมาย / โครงการ อย่างสม่ำเสมอตลอดการเรียนจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนอยากมีส่วนร่วมมากขึ้น (Interest+Perceptions+Desire+Self-confidence…
8 Tips for Evaluating Student Learning Online & 4 Typical Online Learning Assessment Mistakes
8 Tips for Evaluating Student Learning Online 1.แบ่งงานเป็นส่วนย่อยๆ ถ้าชิ้นงานที่กำหนดให้นักศึกษาทำมีความซับซ้อนและมีหลายส่วน จะดีกว่าไหมหากอาจารย์แบ่งงานนั้นออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อที่จะได้สามารถประเมินผลได้ตรงจุดมากขึ้นและสามารถให้ผลสะท้อนกลับตามส่วนย่อย ๆ นั้นได้ 2.บอก Rubrics สำหรับการวัดประเมินชิ้นงานให้ชัดเจน อาจารย์ต้องบอก Rubrics สำหรับการวัดประเมินชิ้นงานให้ชัดเจน เพื่อทำให้นักศึกษาเห็นว่าผู้สอนคาดหวังให้นักศึกษาทำอะไรได้จากชิ้นงานนั้น ๆ 3.ลองทดสอบ สำหรับการสอนเนื้อหาที่ยาก ลองใช้ควิซเพื่อให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตัวเอง โดยไม่คิดเป็นคะแนน.. เป็นการประเมินเพื่อที่จะทราบถึงการเรียนรู้ของนักศึกษา และช่วยให้อาจารย์ทราบว่าควรปรับปรุงการสอนอย่างไร 4.ใช้ช่องทางการสื่อสารออนไลน์แบบ Real time ใช้ช่องทางการสื่อสารออนไลน์แบบ Real time เพื่อติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาเป็นระยะ สำหรับการชี้แจงหรือตอบข้อสงสัยระหว่างทาง โดยการประชุมในแต่ละครั้งควรทำการบันทึกเก็บไว้ เพื่อให้นักศึกษาที่ไม่สามารถร่วมประชุมได้ในเวลาที่กำหนด สามารถมาเปิดดูย้อนหลังได้ เช่น Zoom, MS Team, G Hangout Meet, LMS, LEB2(KMUTT) 5.ใช้ Self and peer assessments การใช้ Self…
กิจกรรม CELT Webinar ในหัวข้อ LMS กับการเรียนการสอน online
เอกสารประกอบการอบรม http://celt.li.kmutt.ac.th/km/file/2563/OnlineLearning_CourseVille_S1_8Apr.pdf วิดีโอย้อนหลัง Part 1 : การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ online Part 2 : แนะนำ myCourseVille Part 3 : 8 Tips and Strategies for Effective Online Learning สรุปเนื้อหากิจกรรม LMS กับการเรียนการสอน Online ปัจจุบันทุกคนกำลังอยู่ในยุคการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Education & lifelong learning transformation) มีสาเหตุดังนี้ ยุคของ Digital age Interruption National pain ของประเทศไทย ยุคของ Digital age – ผู้เรียนสามารถเข้าถึงความรู้ได้จากอุปกรณ์ต่าง ๆ -สะท้อนให้เกิดคำถามว่าหน้าที่ของระบบการศึกษาคืออะไร? Interruption -มีเหตุเข้ามาแทรก หรือเข้ามาทำให้การศึกษาสะดุด เช่น เหตุการณ์ทางการเมือง ภัยธรรมชาติ…
Student satisfaction with learning online
เมื่อผู้เรียนถูกถามว่าพวกเขามีความพึงพอใจอย่างไรกับประสบการณ์การเรียนออนไลน์ คุณคิดว่าคำตอบของพวกเขาจะเป็นอะไรได้บ้าง? ในทางกลับกัน ผู้สอนควรคำนึงถึงอะไรบ้างเมื่อสอนออนไลน์… Bradford (2011) วิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) ผลสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาจำนวน 1,401 คน ที่เคยเรียนออนไลน์ (แบบออนไลน์ 100% และแบบออนไลน์บางส่วนของคอร์ส) พบว่ามี 3 ปัจจัยหลักที่จะช่วยสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้เรียนออนไลน์ ได้แก่ Awareness, Challenge และ Engagement 1. Becoming aware of criteria for success in an online course นักศึกษาจะมีความพึงพอใจกับการเรียนออนไลน์มากขึ้น เมื่อพวกเขาได้รู้ถึงสิ่งที่ควรทำตามเงื่อนไขของรายวิชา ได้รู้คำแนะนำจากอาจารย์ และได้ตระหนักถึงระดับความสามารถของตนในการเรียนวิชาดังกล่าว สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความเพียงแค่ให้นักศึกษารับรู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง แต่หมายถึงกระบวนการที่กระตุ้นและสนับสนุนให้พวกเขาได้ปรับตัว ปรับเป้าหมาย และปรับวิธีการเรียนรู้ของตนได้ ดังนั้นสิ่งที่คอร์สออนไลน์ควรมี ผู้เรียนสามารถติดตาม (track) ความก้าวหน้าของตนเองได้ มีคำอธิบายรายวิชา (course syllabus) และการมอบหมายงานที่ชัดเจน แบ่งการส่งงานออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้มีจุดตรวจสอบการเรียนรู้ (check…