เอกสารประกอบ Adult brain never stops generating new neurons วิดีโอย้อนหลัง Part 1 Part 2
Tag: brain
กิจกรรม Brain science seminar ครั้งที่ 5 หัวข้อ “Growth Mindset: Developing Intrinsic Motivation to Learn”
เอกสารประกอบการอบรม Brain Science Seminar_Growth Mindset วิดีโอย้อนหลังการอบรม Part 1 Part 2
เราสามารถสร้างความเท่าเทียมในการเรียนรู้ให้แก่เยาวชนทั้งประเทศได้หรือไม่?
PDF download : Growth Mindset เราสามารถสร้างความเท่าเทียมในการเรียนรู้ให้แก่เยาวชนทั้งประเทศได้หรือไม่? คำถามนี้ท้าทายวงการวิจัยด้านการศึกษาและการเรียนรู้เป็นอย่างมากเพราะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในปี 2016 จากทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย Stanford ชี้ว่ามีความเป็นไปได้1 โดยพิจารณาจากปัจจัยหลักสองตัวที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ในระดับชาติ คือ รูปแบบแนวความคิดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ (mindset) และฐานะทางการเงิน (socioeconomic status) ในทางจิตวิทยา ผู้ที่มีแนวความคิดอยู่กับที่ (fixed mindset) เชื่อว่าเชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ในขณะที่ผู้ที่มีแนวความคิดก้าวหน้า (growth mindset) เชื่อว่าเชาวน์ปัญญาสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้เสมอ2 ซึ่งการมีแนวความคิดอยู่กับที่ขัดขวางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในขณะที่การมีแนวความคิดก้าวหน้าสามารถนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนและความรู้สึกมีส่วนร่วมในห้องเรียน3 ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อผลการศึกษาคือฐานะทางการเงินที่เป็นตัวชี้วัดระดับความยากจน สถานะทางสังคม และระดับการศึกษา4 โดยมากแล้วเด็กที่มาจากครอบครัวรายได้สูงมีแนวโน้มที่มีแนวความคิดก้าวหน้ามากกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวรายได้ต่ำ แต่ทีมวิจัยพบว่าการฝึกให้เด็กนักเรียนที่เดิมมีแนวความคิดอยู่กับที่ให้มีแนวความคิดก้าวหน้ามากขึ้นช่วยป้องกันเด็กเหล่านี้จากอุปสรรคในการศึกษา เช่น ความยากจน นำไปสู่คะแนนเฉลี่ยสะสมผลการเรียน (GPA) ที่สูงขึ้นในกลุ่มนักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยอย่างมีนัยสำคัญ ดังแสดงในกราฟด้านล่างที่จำลองผลลัพธ์งานวิจัย ทรงกลมสีส้มแสดงถึงเด็กกลุ่มที่มีแนวความคิดก้าวหน้า ทรงกลมสีน้ำเงินแสดงถึงเด็กกลุ่มที่มีแนวความคิดอยู่กับที่และขนาดของทรงกลมแทนจำนวนเด็ก ผลการศึกษาเชิงประสาทวิทยาศาสตร์พบว่าการมีแนวความคิดก้าวหน้าเชื่อมโยงกับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้นในสมองหลายส่วน เช่นส่วนที่ควบคุมความสนใจ (attention) ทักษะด้านการควบคุมและการคิดเชิงบริหาร (executive control functions) และการประมวลผลรางวัล คือ prefrontal cortex, anterior…
ทำความรู้จักกับ ทักษะการคิดเชิงบริหาร (Executive Function; EF)
PDF download >Executive FunctionEF ทำความรู้จักกับ ทักษะการคิดเชิงบริหาร (Executive Function; EF) ทักษะการคิดเชิงบริหาร คือ ทักษะทางการรู้คิดขั้นสูง ที่ช่วยให้เรากำกับตนเองเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายได้ โดยสมองส่วนหน้าสุด (Prefrontal Cortex; PFC) มีบทบาทสำคัญ เปรียบเสมือนเป็น CEO ทำงานร่วมกันกับสมองอีกหลายส่วน ช่วยให้เราควบคุมและจัดการพฤติกรรม อารมณ์ และความคิด เพื่อทำงานหรือทำสิ่งต่าง ๆ ได้สำเร็จตามเป้าหมาย ทักษะการคิดเชิงบริหารประกอบด้วยทักษะพื้นฐาน 3 ทักษะย่อยด้วยกัน ทักษะแรก คือ ความจำขณะทำงาน (Working memory) เป็นทักษะความจำที่เก็บข้อมูลที่ได้รับเข้ามาในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อนำมาแปลผลและปฏิบัติการต่อ ตัวอย่างของการใช้ความจำขณะทำงานที่เห็นได้ชัดเจน คือ การคิดคำนวณ ที่ต้องจำชุดข้อมูลตัวเลขเอาไว้ และนำมาตัวเลขเหล่านั้นมาคิดคำนวณต่อ ทักษะที่สอง คือ การยับยั้ง/การหยุด (Inhibition) เป็นทักษะที่ช่วยให้เราไม่หุนหันพลันแล่น หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งภายในหรือภายนอกโดยปราศจากการยั้งคิดไตร่ตรอง แต่จะช่วยให้มีความยับยั้งชั่งใจ รอคอยเป็น มีสมาธิ ตั้งใจจดจ่อ คิดและแสดงออกได้อย่างเหมาะสม และทักษะที่สาม คือ…
สมองส่วน prefrontal cortex กับการวางแผน
PDF download >Prefrontal Cortex กับการวางแผน prefrontal cortex คือเปลือกสมองที่อยู่ส่วนหน้าสุดของสมองบริเวณหน้าผาก ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นส่วนที่มีวิวัฒนาการสูงที่สุดในมนุษย์เมื่อเทียบกับสัตว์ประเภทอื่น หน้าที่หลักของสมองส่วนนี้คือการบริหารจัดการพฤติกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะพฤติกรรมหรือเป้าหมายที่ไม่เคยเจอมาก่อน มีความเกี่ยวข้องกับตัวแปรด้านเวลา หรือมีความไม่แน่นอนสูง หน้าที่นี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประมวลผลข้อมูลชั้นสูงที่มีความซับซ้อนของสมอง เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การใช้เหตุผล หรือภาษา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในการจัดลำดับการกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและการทำหน้าที่ชั้นสูงนั้น เพียง prefrontal cortex ส่วนเดียวไม่สามารถทำงานเหล่านี้ได้ ต้องอาศัยการทำงานร่วมกับสมองส่วนอื่น ๆ ด้วย สัญญาณจากสมองส่วนต่าง ๆ ทั้งสัญญาณภายนอกจากสิ่งแวดล้อมและสัญญาณภายในจะถูกประมวลมวลมาเป็นลำดับชั้น แล้วจึงเข้าสู่ prefrontal cortex ซึ่งจะส่งสัญญาณที่เป็น feedback กลับไปเป็นวงจรจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย การวางแผนคือกระบวนการคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะต้องทำและการจัดลำดับกิจกรรมเหล่านั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการสร้างแผนการ การเตรียมดำเนินแผนการในแต่ละขั้นตอน และการคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดขึ้น มีการค้นพบว่าผู้ที่สมองส่วน prefrontal cortex ได้รับบาดเจ็บจะมีปัญหาในเรื่องการวางแผน โดยเฉพาะแผนการใหม่ ๆ สำหรับการทดลองเพื่อทดสอบความสามารถในการวางแผนของมนุษย์มักจะใช้เกมที่ชื่อว่า Tower of London โดยเกมนี้จะมีแท่งไม้เล็ก ๆ เป็นเสา 3…
กิจกรรม Brain science seminar ครั้งที่ 3 หัวข้อ “Executive function ทักษะสมองเพื่อชีวิตและการเรียนรู้ “
เอกสารประกอบการอบรม >>Executive function (EF) วิดีโอย้อนหลัง Part 1 Part 2 Part 3 Part 4
กิจกรรม Brain science seminar ครั้งที่ 2 หัวข้อ “User experience in interactive media and cognitive science”
เอกสารประกอบการอบรม UX-InteractiveMedia วิดีโอย้อนหลัง Part 1 : Goal, What is user experience (UX) Part 2 : Crossword study Part 3 : MU.EF website Part 4 : Heuristics evaluation Part 5 : Covid-19 Part 6 : Conclusion
กิจกรรม Brain science seminar ครั้งที่ 1 หัวข้อ “Study the brain through the eyes: tracking the eyes to reveal how the brain works”
เอกสารประกอบการอบรม download Slide ประกอบกิจกรรม วิดีโอย้อนหลัง Part 1 Part 2 Part 3 Part 4 Part 5
Why can’t we stop putting things off?
PDF download > http://celt.li.kmutt.ac.th/km/file/brain/Why_can%E2%80%99t_we_stop_putting_things_off.pdf Do you ever wonder why you keep putting things off? What is the usefulness of this procrastination tendency, if any? Rather than blaming yourself for succumbing to laziness, could there be underlying brain mechanisms that explain why some people are more prone to procrastination than others? And with this understanding, do…
Sensing Emotion from the Brain
Have you ever wondered about mindreading and mind control? What would it be like to be able to read your friend’s mind? To see if they really mean what they are saying, for instance. What about using mindreading as a lie detector since the system that has been in use is…
Frontal theta is a signature of successful working memory manipulation
Authors : Sirawaj Itthipuripat, Jan R Wessel, Adam R Aron Publication date : 2013/1 Journal : Experimental Brain Research Volume : 224 Issue : 2 Pages : 255-262 Publisher : Springer-Verlag Abstract It has been proposed that working memory (WM) is updated/manipulated via a fronto-basal-ganglia circuit. One way that this could happen is via the…