http://iammock.com/cs2017
การประชาสัมพันธ์หลักสูตรวิทยาการคำนวณ (2560)
ตอบข้อสงสัย
มีผู้ตั้งคำถามว่า สสวท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการประชาสัมพันธ์และการเตรียมความพร้อมครูอย่างไร เพื่อรองรับหลักสูตรใหม่ วิทยาการคำนวณ ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาไว้ในนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์กับครูผู้สอนและผู้ปกครอง: iammock.com/cs2017
นักเรียนอาจได้รับประโยชน์ด้วย แต่จุดประสงค์หลักนี้คือเพื่อครูที่จะสอนวิชานี้ครับ
รายการนี้ผมจะอัพเดตเรื่อยๆ เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 บางทีข้อมูลอาจจะยังไม่ครบถ้วน หรืออาจมีข้อผิดพลาด ท่านใดมีข้อแนะนำขอความกรุณาทิ้งคอมเมนต์ไว้หรือติดต่อผมที่ mocksk@gmail.com ครับ ขอบคุณครับ
แหล่งข้อมูล
- สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
- สื่อมวลชนแขนงต่างๆ
การถ่ายทอดสด
ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ไม่เคยมีหลักสูตรใดที่มีการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook Live ทุกสัปดาห์ เหมือนหลักสูตรวิทยาการคำนวณ
ท่านสามารถรับชม Facebook Live (ถ่ายทอดสด) ได้ทุกวันพฤหัสเวลา 14:00 น. เพื่อถามตอบคำถามคาใจเกี่ยวกับหลักสูตรได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/pg/oho.ipst/videos/
คุณครูสามารถเข้าไปชมและถามคำถามสดๆ เลยก็ได้ หรือจะตามดูย้อนหลังได้ทุกตอนเลยครับ
เช่น ตอนที่ 10 ผม (ผนวกเดช) จะโผล่มาประมาณนาทีที่ 15: https://www.facebook.com/oho.ipst/videos/1753535891377952/
หรือตอนที่ 24 (31 พฤษภาคม 2561) อ.จ๊อบ และ Mock ตอบข้อกังขาเกี่ยวกับหลักการของหลักสูตร และอธิบายแนวทางการใช้หนังสือประถมศึกษา
https://www.facebook.com/oho.ipst/videos/1875540482510825/
นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดสดพิเศษ ระหว่าง Dek-D.com และ Code.org ในหัวข้อ “Live! สอนเขียนโปรแกรมตั้งแต่ป. 1 เหมาะสมหรือยังกับประเทศไทย 4.0”
- รับชมได้ที่ https://www.facebook.com/kidcoding/videos/2071640933114057/
หรือ https://youtu.be/O8-nsYho9J0 - จัดรายการโดยคุณโน้ต Dek-D ให้สัมภาษณ์โดยผนวกเดช (กทม.) และ Pat Yongpradit (Maryland, USA) เผยแพร่เมื่อ 9 เมษายน 2561
- อ่านสรุปโดย ครูโน้ต (คุณวโรรส โรจนะ) ได้ที่ https://school.dek-d.com/blog/วิทยาการคำนวณ/kid-coding-live/
การอบรมครู
- มีการอบรมครูแกนนำ แบบพบหน้า ไปแล้วเมื่อ ส.ค. 2560
- เชิญชมภาพบรรยากาศ การประชุมปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพวิทยากรแกนนำคอมพิวเตอร์ รุ่นที่ 4 ปีที่ 2 หลักสูตร Computing Science วันที่ 2 – 6 สิงหาคม 2560
https://photos.app.goo.gl/WzXHVgbG3UPmCDy43
[]
- ตัวอย่างการบรรยายเรื่อง Computational Thinking (บรรยายรวมสำหรับครูประถมและมัธยม หลังจากนี้ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง)
https://youtu.be/zNokDfKzQbY
- เชิญชมภาพบรรยากาศ การประชุมปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพวิทยากรแกนนำคอมพิวเตอร์ รุ่นที่ 4 ปีที่ 2 หลักสูตร Computing Science วันที่ 2 – 6 สิงหาคม 2560
- มีการอบรมครูออนไลน์ ตามข้อมูลนี้ [ข้อมูลจาก สสวท]
- ท่านสามารถเข้าศึกษาบทเรียนและทำแบบฝึกหัด/แบบทดสอบด้วยตนเองเวลาใด เมื่อใดก็ได้ครับ ตามความสะดวก เรียนได้จนถึง 16 กันยายน 61 หรือถ้าเรียนเสร็จก่อนก็จบก่อนครับ (ไม่มีกำหนดเวลาแบบ STEM แต่มีกำหนดระยะเวลาเผยแพร่เอกสารตามข้อกำหนดและคำชี้แจงของแต่ละรายวิชาที่ท่านลงทะเบียนเรียน)
-ลงทะเบียนเลือกรายวิชาได้จนถึง 31 พ.ค.
-เรียนเมื่อไรก็ได้ จนถึง 16 กันยายน - ร่วมอบรมได้ที่ IPST Learning Space: http://teacherpd.ipst.ac.th
- ฟรี แถมยังมีวุฒิบัตรให้อีก
- อ่านคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการอบรมออนไลน์ได้ที่ FAQ: goo.gl/QK4TV7
- ท่านสามารถเข้าศึกษาบทเรียนและทำแบบฝึกหัด/แบบทดสอบด้วยตนเองเวลาใด เมื่อใดก็ได้ครับ ตามความสะดวก เรียนได้จนถึง 16 กันยายน 61 หรือถ้าเรียนเสร็จก่อนก็จบก่อนครับ (ไม่มีกำหนดเวลาแบบ STEM แต่มีกำหนดระยะเวลาเผยแพร่เอกสารตามข้อกำหนดและคำชี้แจงของแต่ละรายวิชาที่ท่านลงทะเบียนเรียน)
คู่มือครู และเอกสารแจกฟรีอื่นๆ
[ข้อมูลจาก สสวท.]
📝”เอกสารของ สสวท. ดังกล่าวเผยแพร่ภายใต้ โดเมน ipst.ac.th เท่านั้น ห้ามนำไปเผยแพร่ให้ดาวน์โหลดภายใต้โดเมนหรือเซิร์ฟเวอร์อื่น เพื่อให้มั่นใจว่าท่านได้ไฟล์ที่ถูกต้องและเป็นไฟล์ที่ได้รับปรับปรุงล่าสุด โปรดอ้างอิง URL ที่อยู่ภายใต้โดเมน ipst.ac.th” และด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู จึงควรปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ อย่างเคร่งครัด
- 📚 คู่มือครู (ควรใช้คู่กับหนังสือเรียน และแบบฝึกทักษะของ สสวท.) ลงทะเบียนและดาวน์โหลดที่ www.scimath.org/ebooks
- 📚 คู่มือการใช้หลักสูตร http://oho.ipst.ac.th/cs-curriculum-teacher-guide/
- 📚 คำอธิบายรายวิชา http://oho.ipst.ac.th/ipst-cs-course-description/
- 📚 เอกสารจัดการเรียนรู้ Scratch และสื่ออื่นๆ ที่ http://oho.ipst.ac.th
หนังสือจัดจำหน่าย
📚 สำหรับหนังสือเรียน และแบบฝึกทักษะสามารถสั่งซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร้านค้าตัวแทน หรือผ่านระบบออนไลน์ที่
bit.ly/ipstcubook
หมายเหตุ:
- ผมมีส่วนร่วมในการเขียนหนังสือ ป.1 และ ป.4 โดยทำหน้าที่ในคณะกรรมการยกร่าง คณะกรรมการพิจารณาร่าง และคณะบรรณาธิการ ร่วมกับอาจารย์ท่านอื่นจาก สสวท. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันอื่นๆ อีกหลายแห่ง รวมถึงคุณครูผู้สอนวิชานี้จากโรงเรียนทั่วประเทศ (มีรายชื่อผู้มีส่วนร่วมอยู่ท้ายเล่ม)
- ผมได้รับค่าตอบแทนในการยกร่างหนังสือ แต่ไม่ได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายหนังสือเป็นรายเล่ม จากทางศูนย์หนังสือจุฬาฯ หรือ สสวท. และหนังสือที่ผมมีอยู่ท้ายรถ 100 ชุด ที่ขายไปบ้างและแจกจ่ายไปบ้าง ผมซื้อด้วยเงินส่วนตัวจากศูนย์หนังสือจุฬาโดยได้รับส่วนลด 10-15% — ข้อความนี้เขียนไว้เพราะมีหลายคนอยากถามแต่ไม่กล้าถาม และเพื่อให้ท่านสบายใจได้ว่าผมไม่ได้รับกำไรจากการขายหนังสือ และการโฆษณาของผมแบบ super hard sell นั้นไม่ได้มีผลประโยชน์ทางการเงินเกี่ยวข้อง แต่ผมทำไปเพราะหนังสือเหล่านี้เป็นหนังสือที่ตั้งใจทำและมั่นใจว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีประโยชน์กับลูกหลานของเราจริงๆ
ชมรีวิวหนังสือ #โป้งก้อยอิ่ม ได้ที่
- รีวิวหนังสือเรียนวิทยาการคำนวณ สสวท. ชั้น ป. 1 โดย อ.ท็อป อ.ม็อค อ.อ้อม และ อ.จิ๊บ (ลองดูดีๆ จะพบได้ตอนท้ายคลิป)
https://www.facebook.com/oho.ipst/videos/1833125330085674/ - รีวิวหนังสือเรียนวิทยาการคำนวณ สสวท. ชั้น ป. 4 โดย อ.ท็อป อ.อ้อม อ.ม็อค และ อ.แคท (ลองดูดีๆ จะพบ อ.แคท ได้แว้บหนึ่ง)
https://www.facebook.com/oho.ipst/videos/1875768715821335/ - #โป้งก้อยอิ่ม ตะลุยแม่ฮ่องสอน
https://www.facebook.com/iammock/videos/10101868686020079/ - #โป้งก้อยอิ่ม ตะลุย สวทช. โดย Mock และ อ.กวาง
https://www.facebook.com/iammock/videos/10101785599206719/ - รีวิวหนังสือเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ในวันแถลงข่าวร่วมกันระหว่าง สสวท. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย อ.จิ๊บ และ อ.หญิง
https://www.facebook.com/oho.ipst/videos/1753377668060441/
อ่านรีวิวได้ที่
REVIEW หนังสือ วิทยาการคำนวณ ชั้น ป.1 ของ สสวท. โดย ครูน้ำ สอนลูกเขียนโปรแกรม by Dek-D.com
REVIEW หนังสือวิทยาการคำนวณ ชั้น ป.4 ของ สสวท. โดย ครูน้ำ สอนลูกเขียนโปรแกรม by Dek-D.com
REVIEW หนังสือวิทยาการคำนวณ ชั้น ม.1 ของ สสวท. โดย ครูน้ำ สอนลูกเขียนโปรแกรม by Dek-D.com
REVIEW หนังสือวิทยาการคำนวณ ชั้น ม.4 ของ สสวท. โดย ครูน้ำ สอนลูกเขียนโปรแกรม by Dek-D.com
- บทความโดย programmerthai เกี่ยวกับหนังสือ ป.1: ถ้าเอาวิชาโค้ดดิ่งไปสอนเด็กตั้งประถม จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร? 🔥
https://www.facebook.com/programmerthai/posts/2053741131582394 - บทความโดย programmerthai เกี่ยวกับหนังสือ ม.1: ถ่ายรูปตัวอย่างเนื้อหาหนังสือ “วิทยาการคำนวณ” ชั้น ม.1 จะมี 6 บท
https://www.facebook.com/programmerthai/posts/2053249278298246
ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือในสื่อมวลชน
ช่อง 9 อสมท. รายการบ่ายนี้มีคำตอบ: ติดอาวุธให้เด็กนักเรียนไทย จากผู้เสพติดไอทีเป็นผู้ควบคุมและสร้างได้
- https://youtu.be/X6ibn0AK07E
- ผู้สัมภาษณ์: คุณวิศาล ดิลกวณิช และ คุณสุนทรี อรรถสุข
- ผู้ให้สัมภาษณ์: ผนวกเดช สุวรรณทัต และ ผศ. ดร. ธนาวินท์ รักธรรมานนท์
- ถ่ายทอดสดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2561
- กดแชร์บน Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/1333915556668484/videos/1789710281089007
- ดาวน์โหลดสไลด์ทั้ง 90 แผ่นได้ที่นี่: PDF: CS_KhunWisarn_v3.pdf (82 MB)
หรือแอบดูบน Google Photos album: https://photos.app.goo.gl/4s74xLGLNLX5gVac8
TNN Focus New เปิดประเด็นร้อน: สสวท.-จุฬาฯ พลิกโฉมแบบเรียนมิติใหม่
- https://youtu.be/XU2fX2TzDeA
- นี่เป็นครั้งแรกที่สาธารณชน ได้รู้จักหนังสือวิทยาการคำนวณ #โป้งก้อยอิ่ม
ตู้ ปณ. ข่าว 3: สกู๊ปข่าว พลิกโฉมแบบเรียน สสวท. ทันใช้เปิดเทอม
- https://youtu.be/2V-nTDN8XAU
- เนื้อหาข่าวถูกต้อง แต่การเกริ่นนำของพิธีกร 1 นาทีแรก อาจสื่อให้เข้าใจผิดไปได้ว่าวิชานี้เป็นวิชาคณิตศาสตร์
ประกาศ และคำสั่งต่างๆ
[ข้อมูลจาก สสวท.] 📚 ประกาศคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)
- คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. 1239/2560 เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560
- คำสั่ง สพฐ. ที่ 30/2561 เรื่อง ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561
- ประกาศ สพฐ. เรื่อง การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดที่: http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=48 - คำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 921/2561 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยีและสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้
- คำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 922/2561 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างวิชาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ดาวน์โหลดที่: http://oho.ipst.ac.th/obec-cs-dt/
ช่องทางพูดคุย ถามคำถาม
- fb: วิชาวิทยาการคำนวณ และ สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. www.facebook.com/oho.ipst/
ที่เพจนี้จะมีข้อมูลเพิ่มเติมมากมายเลยครับ รวมถึงการถ่ายทอดสดด้วย- คำถามคำตอบที่คุณครูสงสัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (เช่น จะให้ครูวิทย์หรือครูคอมฯ สอนวิชานี้?)
https://www.facebook.com/notes/สาขาคอมพิวเตอร์-สสวท/คำถามคำตอบที่คุณครูสงสัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ/1818055461592661/
- คำถามคำตอบที่คุณครูสงสัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (เช่น จะให้ครูวิทย์หรือครูคอมฯ สอนวิชานี้?)
- fb วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี: www.facebook.com/dtthailand
- กลุ่ม Facebook ครู CS ระดับประถมศึกษา https://www.facebook.com/groups/1539337796147432
- กลุ่ม Facebook: ครู CS ระดับมัธยมศึกษา https://www.facebook.com/groups/2044079289182993
- กลุ่ม Facebook: พูดคุยตอบคำถาม หนังสือเรียนและแบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษา https://www.facebook.com/groups/414806525597879
หลักสูตรอบรมครู/ผู้ปกครอง/นักเรียน (ที่ไม่ใช่ของ สสวท.)
มีหน่วยงานมากมาย ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ช่วยกันทำกิจกรรมอบรมครู และกิจกรรมเสริมความรู้ ความเข้าใจต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเกี่ยวข้องโดยทางอ้อม ผมจะรวบรวมมาไว้ในที่นี้เพื่อประโยชน์ของท่านผู้อ่าน หากท่านมีข้อสงสัยขอให้ติดต่อผู้จัดได้โดยตรง
*** (ผมไม่มีหุ้นส่วน และไม่ได้รับสตางค์ค่าโฆษณาจากบริษัท/องค์กร เหล่านี้) ***
- หลักสูตรอบรมของ ม.เกษตรศาสตร์ และท่าน รศ.ยืน ภู่วรวรรณ (คูปองครู)
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10213896009692025&id=1162233576 - โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน ระดับชั้นปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ประจำ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม 2561 (ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการอบรม) โดย มูลนิธิ อุดมพร – สมศักดิ์ (เซี่ยงใช่) ศักดิ์พรทรัพย์ มีท่าน รศ.ยืน ภู่วรวรรณ เป็นวิทยากร
http://www.kusol.org/หลักสูตรอบรมประจำเดือน/
(ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวิทยาการคำนวณโดยตรง แต่เกี่ยวข้องในทางอ้อม) - https://www.trainkru.net/ โดยรุ่นน้องของผม อ.ดร.เอกพล ช่วงสุวนิช และอาจารย์ท่านอื่นจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
(หลักสูตรสอนการสอน Scratch มีค่าใช้จ่าย อาจจะใช้คูปองครูได้แต่ผมไม่แน่ใจ) - เพื่อนผมที่ Dek-D’s School: https://school.dek-d.com/ ได้แก่ นอต แชร์ และเพียว (แต่ละคน เก่งกว่าผมทั้งนั้น) เปิดคอร์สออนไลน์ สอนวิทยาการคำนวณ ปัจจุบันพบอยู่สามคอร์สคือ
- คอร์สเริ่มต้นเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กอายุ 9 – 12 ปี (ฟรี)
- วิทยาการคำนวณ ป.4 (เก็บค่าเล่าเรียน) (สำหรับนักเรียน)
- วิทยาการคำนวณ ม.1 (เก็บค่าเล่าเรียน) (สำหรับนักเรียน)
- เข้าใจว่าคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กำลังจะจัดอบรมครู ตามโครงการคูปองครู ถ้าผมทราบรายละเอียดจะนำมาเขียนไว้ต่อไป
ใจความและรายละเอียดของหลักสูตร
เอกสารอธิบายหลักสูตร
- ท่านสามารถอ่านตัวชี้วัดของหลักสูตรได้ทั้งจากเอกสารที่เผยแพร่เป็นทางการ และเอกสารคู่มือครูของ สสวท.
- (ความเห็นส่วนตัว) เอกสารทางการจัดรูปแบบได้ค่อนข้าง…. เป็นทางการ ไม่สวยงามเท่าไรนัก
- ผมแนะนำให้อ่านจากคู่มือการใช้หลักสูตรดีกว่า สามารถดาวน์โหลดได้จาก link ด้านบน หรือจะแปะให้อีกครั้งตรงนี้ก็ได้ครับ: http://oho.ipst.ac.th/cs-curriculum-teacher-guide/ (ไฟล์ Computing-Science-Teacher-Guides.pdf)
- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สามารถดาวน์โหลดได้ที่
- http://designtechnology.ipst.ac.th/2018/03/08/ตัวชี้วัดและสาระการเรี/
- และที่ https://drive.google.com/file/d/1LIXPGnVE7S6ZUqcZuPdVG1W33dFHSGtI/view?usp=sharing (ที่มา: สสวท.)
- ดูที่ไฟล์ ตัวชี้วัดวิทยาศาสตร์.pdf หน้า 199 (ของ pdf) หรือเลขหน้า 113 ที่สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐาน ว ๔.๒
- สรุปภาพรวมหลักสูตรและเปรียบเทียบตัวชี้วัดฯ: ทาง สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ได้ทำการเทียบเคียงตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนกลางฯ ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี ไว้ดังนี้
- http://oho.ipst.ac.th/cs4-2-vs-ict3-1/
- ดูที่ไฟล์ 3. การเทียบเคียงตัวชี้วัดกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีและกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์.pdf
บทความเกี่ยวกับหลักสูตร
บทความโดย สสวท. หรือนักวิชาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตร
- IPST Thailand: หลักสูตรไทยให้เด็กเขียนโปรแกรม คิดดีแล้วหรือ?
- https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/1717354814967566
- เผยแพร่เมื่อ 29 พฤษภาคม 2561
- IPST Thailand: การคิดเชิงคำนวณ โดย โปรเฟสเซอร์เจนเนตต์ วิง
- bit.ly/ipstct1
- เผยแพร่เมื่อ 16 พฤษภาคม 2561
- IPST Thailand: Computational Thinking ในห้องเรียนจะมีลักษณะอย่างไร
- bit.ly/ipstct2
- เผยแพร่เมื่อ 18 พฤษภาคม 2561
- รศ. ยืน ภู่วรวรรณ: สรุปแนวคิดของหลักสูตรวิทยาการคำนวณ
- https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10213442708359775&id=1162233576
- เผยแพร่เมื่อ 20 มีนาคม 2561
- รศ. ยืน ภู่วรวรรณ: การอ่านออกเขียนได้ทางดิจิทัล (Digital Literacy) กับ วิทยาการคำนวณ
- https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10213931980231266&id=1162233576
- เผยแพร่เมื่อ 29 พฤษภาคม 2561
ในสื่อมวลชน
ผมรู้สึกขอบคุณ Dek-D เป็นอย่างมากที่ได้กรุณาเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับหลักสูตรอยู่บ่อยครั้ง ทั้งการสัมภาษณ์ การรีวิวหนังสือแบบเรียน และการเผยแพร่บทความที่มีประโยชน์ต่างๆ โดยทาง Dek-D ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชน ไม่ได้รับการว่าจ้าง ไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือค่าโฆษณาจากผมหรือทาง สสวท. เลยสักครั้ง (และผมก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนจาก Dek-D เช่นกัน) ผมยินดีและอยากเชิญชวนสื่อมวลชนท่านอื่นให้ทำข่าวด้านนี้มากขึ้น โดยยินดีให้ความร่วมมือในการให้สัมภาษณ์และให้ข้อมูลกับทุกกลุ่มอย่างเต็มที่ตราบเท่าที่มีกำลังความสามารถ
ปัจจุบันเริ่มมีเว็บไซต์อื่นช่วยเผยแพร่ข่าวสารแล้ว เช่น สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย blognone, Drama-Addict, ลงทุนแมน, และ The MATTER ผมหวังว่าจะมีสื่อ/องค์กรอื่น มาร่วมด้วยช่วยกันมากขึ้น และยินดีให้ความร่วมมือครับ
- บทความหัวข้อ: วิทยาการคำนวณ คืออะไร? วิชาบังคับพื้นฐานใหม่ล่าสุดสำหรับเด็ก พร้อมบทสัมภาษณ์จากผู้ก่อตั้ง
- เขียนโดย สอนลูกเขียนโปรแกรม by Dek-D.com
- เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561
- https://school.dek-d.com/blog/kidcoding/computational-science/
- บทความหัวข้อ: 9 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ เตรียมตัวลูกให้พร้อมเรียนวิชาเขียนโปรแกรม (วิทยาการคำนวณ) ปี 61
- เขียนโดย สอนลูกเขียนโปรแกรม by Dek-D.com
- เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561
- https://school.dek-d.com/blog/featured/computational_syllabus/
- บทความบน Blognone หัวข้อ: รู้จักกับ “วิทยาการคำนวณ” วิชาบังคับพื้นฐานตัวใหม่ของไทย สอนเขียนโปรแกรม เริ่มเรียนตั้งแต่ ป. 1
- เขียนโดย arjin
- เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2561
- https://www.blognone.com/node/102435
- บทสนทนาสุดแซ่บ บน Facebook Page ของ Drama-addict
- เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2561 โดยอ้างอิงบทความของ Blognone
- https://www.facebook.com/DramaAdd/posts/10156582828433291
- เพจ ลงทุนแมน: วิชาเขียนโปรแกรม ถูกบรรจุในหลักสูตรแล้ว
- เผยแพร่เมื่อ 1 มิถุนายน 2561 โดยอ้างอิงบทความของ Blognone และ Dek-D
- https://www.facebook.com/longtunman/posts/337425213456760 หรือ http://longtunman.com/6854
- ชมวิดีโอได้ที่ https://www.facebook.com/longtunman/videos/341249039741044/
- บทความโดย The MATTER: ไม่ต้องเป็นเด็กเนิร์ด ก็เรียนเขียนโปรแกรมได้ คุยกับ อ.ผนวกเดช สุวรรณทัต
- เขียนโดย กรุณพร เชษฐพยัคฆ์ (คุณเอิน) เผยแพร่เมื่อ 15 มิถุนายน 2561
- https://thematter.co/pulse/coding-subject-interview/52976
- รับชมวิดิโอสั้นได้ที่ https://www.facebook.com/thematterco/videos/2055140524701339/
วิดีโอเกี่ยวกับหลักสูตร
webdekd: รู้จักวิชา “วิทยาการคำนวณ” วิชาบังคับใหม่ ที่เริ่มเรียนตั้งแต่ปี 2561
- https://youtu.be/Wpwx-Pu-LKE
- สัมภาษณ์ ผนวกเดช สุวรรณทัต และ รศ. ยืน ภู่วรวรรณ โดย Dek-D เผยแพร่เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2561
—
webdekd: รู้จักวิชาบังคับใหม่เริ่ม พ.ค. 2561 นี้ วิทยาการคำนวณ สอนเขียนโปรแกรมทุกโรงเรียนตั้งแต่ป. 1 – ม.6
- https://youtu.be/VLQeozwXf0U
- เป็น remix ของวิดีโอก่อนหน้า
- สัมภาษณ์ ผนวกเดช สุวรรณทัต และ รศ. ยืน ภู่วรวรรณ โดย Dek-D เผยแพร่เมื่อ 12 มีนาคม 2561
- อ่านสรุป โดย ครูเกียรติ Dek-D ได้ที่ https://school.dek-d.com/blog/วิทยาการคำนวณ/รู้จักวิชา-วิทยาการคำนว/
—
สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท: แนะนำหลักสูตรวิทยาการคำนวณ
- https://youtu.be/TFn0FiJl0QM
- สื่ออบรมครูออนไลน์ โดย รศ. ยืน ภู่วรวรรณ เผยแพร่เมื่อ 30 เมษายน 2561
—
Facebook Live งาน วทร: การบรรยายเรื่อง Computational Thinking
- งาน วทร. จัดโดย สสวท. บรรยายโดย ผนวกเดช สุวรรณทัต วันที่ 16 ตุลาคม 2560
- สไลด์ประกอบการบรรยาย (PDF) : 171016 BITEC Computational Thinking
- https://youtu.be/qdrNl4FyXjk
—
The MATTER: ไม่ต้องเป็นเด็กเนิร์ด ก็เรียนเขียนโปรแกรมได้
- https://www.facebook.com/thematterco/videos/2055140524701339/
- สัมภาษณ์เมื่อ 30 พฤษภาคม 2561 โดยคุณเอินและทีมงาน The MATTER
- เผยแพร่เมื่อ 7 มิถุนายน 2561
- อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://thematter.co/pulse/coding-subject-interview/52976
—
คุณครู นวกานต์ มณีศรี: วิดีโอบันทึกกิจกรรม ป.4 บทที่ 1
- https://youtu.be/ZyzJkbb-nSA
- โดย คุณครู นวกานต์ มณีศรี จ.กาญจนบุรี เผยแพร่เมื่อ 4 มิถุนายน 2561
- ตัวอย่างการสอนจริง คุณครูสอนอัลกอริทึมโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ น่าสนุกมาก บรรยากาศคึกครื้น มีทั้งเด็กหญิงเด็กชายและเณรน้อย
—
โรงเรียนแม่สะเรียงบริพัตรศึกษา: การชี้แจงหลักสูตรวิทยาการคำนวณ ให้กับคุณครูใน จ.แมฮ่องสอน มีการถ่ายทอดสดหลายวิดีโอ แต่นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนครับ เริ่มต้นก่อนขึ้นบรรยายด้วยการ ฉีกหนังสือ ฉีกอุปสรรคทุกอย่างให้หมดสิ้น!!
- จัดโดย งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประสานงานโดย คุณกิตติยา บำบัดภัย นักวิชาการ สวทช.
- วิทยากร: ผนวกเดช สุวรรณทัต (มจธ.), ผศ. ดร. ธนาวินท์ รักธรรมานนท์ (ม.ก.) และ อ.สุรเดช พหลโยธิน (ผู้เชี่ยวชาญ สสวท.)
- จัดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมโรงเรียนแม่สะเรียงบริพัตรศึกษา อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กราบขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการวิเชียร ชูเกียรติ มากๆ ครับ ที่เอื้อเฟื้อสถานที่
- Videos แบ่งเป็นหลายช่วง:
- ฉีกหนังสือ https://www.facebook.com/iammock/videos/10101898561753869/
- เริ่มบรรยาย (กำลังหามุมกล้อง) https://www.facebook.com/iammock/videos/10101898609543099/
- ช่วงที่สอง (ขออภัยครับ เสียงไม่ชัด) https://www.facebook.com/iammock/videos/10101898688375119/
- ติดบุหรี่เป็นมะเร็ง ติดสำเพ็งเป็นอะไร? มาฟังคำตอบกันครับ (คลิปนี้เสียงชัดขึ้นแล้วครับ)
https://www.facebook.com/iammock/videos/10101898717312129/ - เตรียมครูอย่างไร? https://www.facebook.com/iammock/videos/10101898821922489/
- แนะนำหนังสือแบบเรียนฉบับการ์ตูน https://www.facebook.com/iammock/videos/10101898898523979/
- ฝ่าฟัน 1,864 โค้ง https://www.facebook.com/iammock/videos/10101898957051689/
- slides: CS_Roadshow_MHS_v3.pdf (108 หน้า, 90 MB) อนุญาตให้นำไปใช้เพื่อการศึกษาได้โดยบอกแหล่งที่มา (ให้เครดิต สสวท.)
—
บริษัท ThoughtWorks: เชิญรับชม Facebok Live ของการอธิบายหลักสูตรวิทยาการคำนวณ และแนะนำหนังสือเรียนฉบับการ์ตูน #โป้งก้อยอิ่ม ที่บริษัท ThoughtWorks (สำนักงาน G Tower พระรามเก้า) ขอบคุณพี่ไมเคิลและทุกคนในบริษัทนี้มากๆ ครับที่ให้ความสนใจกับอนาคตของประเทศไทยและนำข้อมูลไปบอกต่อตามที่ต่างๆ รวมถึงสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย
- https://www.facebook.com/thoughtworksthailand/videos/1968320756811803
- ถ่ายทอดสด เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561 บรรยายโดย Mock
- ใช้สไลด์ชุดเดียวกับที่แม่ฮ่องสอน แต่แปลบางหน้าเป็นภาษาอังกฤษ
- slides: CS_Roadshow_ThoughtWorks1.pdf (108 หน้า, 90 MB)
- อนุญาตให้นำไปใช้ได้เพื่อการศึกษาโดยระบุแหล่งที่มา (ให้เครดิต สสวท.)
- Permission for educational use is hereby granted. You must credit the sources (and give credits to IPST).
—
What about an English version? Here’s the first episode:
- https://youtu.be/5FneKv37Au4
- More will be posted at http://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/computing-curriculum-in-eng/
กิจกรรมประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ต่าง ๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการอบรมที่ จ.ศรีสะเกษ (ภาพถ่าย วิดิโอ กิจกรรม ฯลฯ) วันที่ 3 – 4 ธันวาคม 2561
http://iammock.com/sikaset
FAQ: คำถาม และความคิดเห็นของประชาชน
- ตัวอย่างของความคิดเห็นที่สนับสนุนหลักสูตรวิทยาการคำนวณ
https://docs.google.com/document/d/19rCNbE5tTUD8VuzH6KTgfLZMSQIEWcWTy-u7dhZ-wVQ/edit?usp=sharing - ตัวอย่างความคิดเห็นวิจารณ์หลักสูตรวิทยาการคำนวณ และแนวทางการชี้แจง
https://docs.google.com/document/d/1aRhHPWO7BxLtaV8V0OHfGKXAsohZsqofIlgJewMKFG8/edit?usp=sharing - FAQ: คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาการคำนวณ (บางคำถามก็พบไม่บ่อยหรอกครับ แต่อยากตอบ)
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1k6v–40Gxp83EuezvUDnTiHddPiimxGCFIORnw1AX6A/edit?usp=sharing- เอกสารนี้เตรียมไว้เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2561 สำหรับรายการบ่ายนี้มีคำตอบ ช่อง 9 แต่อาจมีประโยชน์สำหรับสถานการณ์อื่นด้วย
- คำตอบเขียนโดย ผนวกเดช สุวรรณทัต ตอบในนามส่วนตัว ไม่ใช่คำตอบอย่างเป็นทางการของ สสวท. ดังนั้นถ้า สสวท. ให้คำตอบเป็นอย่างอื่น ขอให้ท่านเชื่อตาม สสวท.
หมายเหตุ
ข้อความทั้งหมดนี้ผมเผยแพร่เป็นการส่วนตัว และมีแหล่งข้อมูลจากที่อื่น ผมพยายามเลือกเฉพาะแหล่งข้อมูลที่ผมเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ผมไม่สามารถรับประกันความแม่นยำของข้อมูลจากทุกแหล่งได้ ข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยที่ผมไม่จำเป็นต้องแจ้งหรืออัพเดตให้ท่านทราบ ข้อมูลส่วนที่เป็นความคิดเห็นนั้นเป็นความคิดเห็นของผมเพียงผู้เดียว ไม่ใช่ความคิดเห็นของกลุ่มคน สถาบัน หรือของมหาวิทยาลัยใด
ขอเป็นกำลังให้ให้คุณครูทุกท่านปฏิบัติหน้าที่อันทรงคุณค่า เพื่อลูกหลานของเราครับ 🙂
การดูหนังออนไลน์ครบวงจรพร้อมเกมมากมายที่รอคุณอยู่เช่นเกมตกปลา,ยิงปลามหาสนุก ทั้งนี้ยังมีบริการฝากถอนโอนอีกด้วย
ท่าสามารถใช้บริการเคลือข่ายได้ทุกรูปแบบต่อเนื่องตลอด 24hr.