สัปดาห์นี้ผมได้มีโอกาสทดลองเรียนรู้เรื่องราวบางอย่างจาก MOOCs (Massive Open Online Courses) ของ Stanford และ MIT จึงอยากเล่าแง่มุมที่น่าสนใจของประสบการณ์นี้ให้ฟัง
ในเบื้องต้นนี้ขอเล่าแบบคร่าวๆ โดยมีภาพประกอบไว้ก่อน หากมีผู้สนใจอยากรู้เพิ่มเติมผมจะมาเขียนอธิบายเพิ่มเติมในภายหลัง หรือจะพูดคุยกับผมเป็นการส่วนตัวก็ได้ ผมยินดีแลกเปลี่ยนประสบการณ์เป็นอย่างยิ่งครับ
🙂
รูปแบบการมีส่วนร่วม
- สิ่งที่ผมทำ เรียกว่า lurking หรือ sampling เพราะผมไม่ได้เรียนเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ ผมไม่ได้ทำแบบฝึกหัด ไม่ได้ร่วมถามตอบใน forum แต่ผมเลือกอ่านและฟังในเรื่องราวที่ผมสนใจจะรู้เท่านั้น
- การประเมินความสำเร็จของหลักสูตร แบบเดิมๆ นั้น จะนับจำนวนผู้ที่จบการศึกษา หารด้วยจำนวนผู้เรียนทั้งหมด ทำให้ lurkers และ samplers อย่างที่ผมเพิ่งทำไป ส่งผลในทางลบต่อ “คะแนนประเมิน” ของหลักสูตรที่ผูกติดกับ “อัตราการสำเร็จการศึกษา”
- อย่างไรก็ดี ผมกลับได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ครั้งนี้จริงๆ อย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือ ผมได้รื้อฟื้นความรู้ ผมได้ศึกษาเทคนิคการสอน ผมได้เห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม และได้ฟังตัวอย่างคำถามที่ผู้เรียนมักสงสัย ในหัวข้อที่ผมสนใจ ทำให้ผมสามารถนำความรู้นี้ไปถ่ายทอดต่อให้ลูกศิษย์ได้
- ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการและวงการผู้ปฏิบัติจริงมากขึ้นแล้วว่าการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ MOOCs จะใช้เกณฑ์คุณภาพแบบเดิมไม่ได้ (เช่น อัตราการสำเร็จการศึกษา หรือ สัดส่วนครูต่อนักเรียน) การมี lurkers และ samplers ในระบบจำนวนมาก ควรนับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่หลักสูตรออนไลน์ดังกล่าว ส่งผลประโยชน์ต่อผู้คนในวงกว้าง
การสอนแบบ Lecture
MOOCs หลายแห่งยังคงมีการสอนแบบ lecture เฉกเช่นกับการสอนในห้องเรียนตามปกติ ซึ่งการสอนแบบนี้กำลังถูกโจมตีอย่างหนักว่าเป็นรูปแบบที่โบราณคร่ำครึ อย่างไรก็ดี ผมกลับคิดว่ารูปแบบ lecture ยังคงมีบทบาทที่สำคัญสำหรับวิชาบางประเภท อย่างเช่นวิชา algorihtms
บางที สาเหตุที่เราคิดว่า lecture นั้นเป็นสิ่งไม่ดี อาจเป็นเพราะ
- เราอาจจะยังไม่พบคนที่สอน lecture ได้ดี อย่างเช่นอาจารย์ที่สอนใน Stanford หรือ MIT
- เรายังไม่ได้เตรียมผู้เรียนให้พร้อมกับการเรียนแบบ lecture ได้ดี กล่าวคือ ยังไม่ได้สร้างความกล้าในการถามคำถาม คัดค้าน และแสดงความคิดเห็น อย่างสร้างสรรค์ การสอน lecture ที่พบเห็นส่วนใหญ่จึงเป็นการถ่ายทอดข้อมูลแบบทางเดียว
- เราพบเห็นการใช้ lecture มากเกินไป โดยไม่ใช้ผสมผสานกับรูปแบบอื่นเลย จึงเผลอคิดแบบเหมารวมไปว่า lecture นั้นเป็นสิ่งเลวร้าย และหลงคิดแบบสุดโต่งไปในอีกทิศทางหนึ่งว่าจะต้อง ban การใช้ lecture จนหมดสิ้น
ทางออกที่ถูกต้อง คงจะอยู่บนทางสายกลาง
การใช้กระดานดำ
ผมได้เห็นการใช้กระดานดำขั้นเทพของอาจารย์สองท่าน เท่าที่สังเกตดู ทั้งจากการเรียนครั้งนี้และประสบการณ์การเรียน (ในห้องเรียนจริง) ที่ Carnegie Mellon และ UC Santa Barbara ในอดีต การใช้กระดานดำมีข้อได้เปรียบเทียบกับการใช้ slide (PowerPoint) ดังนี้
- ผู้เรียนได้เห็นการเขียนทีละขั้นตอนไปพร้อมกับอาจารย์ ทำให้ผู้เรียนรู้ว่าจะใช้สมาธิ มุ่งสนใจ (pay attention) กับข้อความส่วนใด
- slide ที่ออกแบบมาดีๆ อาจจะบรรเทาปัญหานี้ได้ แต่การออกแบบ slide ให้มีคุณลักษณะเช่นนี้ ทำได้ยากมาก
- ผู้เรียนมั่นใจได้ว่าอาจารย์จะไม่ขี้โกง เร่งสอนจนเร็วเกินไป เพราะความเร็วในการสอนจะถูกจำกัดอยู่ที่ความเร็วในการเขียนกระดาน ระหว่างที่อาจารย์เขียน ผู้เรียนสามารถใช้เวลาคิดตามเพื่อทบทวนจุดที่เข้าใจยากได้
- อาจารย์ที่ใช้ slide ได้เก่งๆ ย่อมสามารถป้องกันปัญหานี้ได้เช่นกัน
- ผู้เรียนมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ บนกระดานได้ง่าย ผ่านการขีดเส้นด้วยชอล์ค หรือด้วยกิริยาท่าทางของอาจารย์ (การชี้ การโบกไม้โบกมือ การแสดงท่าทางต่างๆ หน้ากระดาน)
- slide ที่ดี ย่อมป้องกันและบรรเทาปัญหานี้ได้เช่นกัน โดยการวาดเส้นเชื่อมโยงไว้ล่วงหน้า การวาดสดระหว่างบรรยาย หรือการชี้ด้วย cursor หรือ laser pointer
- ผมมีสมมติฐานว่าการเขียนด้วยลายมือ อาจมีผลทางจิตวิทยาต่อผู้เรียน ทำให้รู้สึกว่าเป็นกันเองมากขึ้น สิ่งที่เขียนมี “บุคลิกภาพ” และ “ความเป็นตัวตน” ของอาจารย์แฝงอยู่ในนั้นมากกว่าสิ่งที่พิมพ์บน slide นอกจากนี้ยังอาจแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ และความลงทุนลงแรงของอาจารย์ที่เขียนให้ผู้เรียนได้ดูแบบสดๆ แทนที่จะเป็นเพียงการจัดแสดง slide ที่เตรียมไว้ล่วงหน้า (เตรียมไว้ตั้งแต่ปีไหนก็ไม่รู้ ใช้ซ้ำกี่รอบแล้วก็ไม่รู้)
- การสร้างตัวตนใน slide สามารถทำได้เช่นกัน ผ่านทางการใช้ภาพ การใช้ animation การใช้โทนสี ฯลฯ แต่คนที่จะทำได้ดีจริงๆ คงจะต้องมี background ทาง graphic design และ digital storytelling ซึ่งทักษะเหล่านี้ไม่ใช่ทักษะที่ฝึกฝนได้ง่าย และถึงแม้อาจารย์จะมีทักษะด้านนี้จริงๆ การเตรียม slide ให้มีคุณลักษณะเช่นนี้ย่อมใช้เวลานานมาก
- ห้องเรียนที่ดีจะมีหลายกระดาน สามารถดึงขึ้นดึงลงได้ จากวีดิโอที่ผมได้ดู ห้องเรียนที่ MIT มี 9 กระดาน เรียงกันได้มองเห็นพร้อมกัน 6 กระดาน (2 แถว, 3 คอลัมน์, และมีกระดานซ่อนอยู่คอลัมน์ละหนึ่งกระดาน) ส่วนห้องเรียนที่ Stanford เป็นห้องเล็ก มีแค่ 3 กระดาน โดยมองเห็นพร้อมกันได้ 2 กระดาน นอกจากนั้น ยังมีชอล์คหลากสีไร้ฝุ่น (ชอล์คดีกว่าปากกา whiteboard ตรงที่หมึกไม่จางลง) และแปรงลบกระดานใหญ่ยักษ์ที่สามารถลบได้อย่างรวดเร็ว
- ห้องเรียนที่มีหลายกระดาน มีข้อดีคือ ทำให้อาจารย์ไม่ต้องเขียนตัวเล็กมาก และสามารถแสดงข้อมูลหลายหน้าได้พร้อมกัน เช่น อาจารย์สามารถวาดภาพตัวอย่างไว้บนกระดานหนึ่ง, เขียนอธิบาย algorithm บนอีกกระดานหนึ่ง, และเขียนบทพิสูจน์บนอีกกระดานหนึ่ง ผู้เรียนสามารถมองเห็นข้อมูลสำคัญทั้งสามส่วนได้พร้อมกัน
- การจะออกแบบ slide ให้มีคุณลักษณะเช่นนี้ ทำได้ยากมาก หรืออาจกล่าวได้ว่า ทำไม่มีทางได้เลย! เพราะพื้นที่บนจอภาพใน lecture hall แบบมาตรฐานนั้น มีน้อยกว่าพื้นที่บนกระดานดำมาก ทางเดียวที่จะแก้ปัญหานี้ได้คือจะต้องจัดการสอนแบบที่มีหลายจอภาพ, หลาย projector, แต่ละจอแสดงภาพจาก slide คนละแผ่น ซึ่งปัจจุบันยังเป็นความยุ่งยากทางเทคนิคเกินกว่าที่อาจารย์และสถานศึกษาทั่วไปจะรับมือได้


การติดสินบนผู้เรียน
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตอบคำถามในห้อง ผมมักติดสินบนนิสิต-นักศึกษา ด้วยขนม เช่น Chupa-chup เซียงไฮ้ คิทแคท เลย์ กล้วยตาก กระดาษทิชชู่ แผ่นมาสก์หน้าคอลลาเจน (ขอบคุณน้องพลอย) Me-O ฯลฯ
แรงจูงใจที่ทำให้ผมทำเช่นนั้นคือ TA ของผมที่ Carnegie Mellon สมัยที่ผมเรียน ป.ตรี ปีหนึ่ง ผมรู้สึกประทับใจมาก จึงยึดถือเป็นแนวปฏิบัติตลอดมา (เท่าที่ยังพอมีทุนทรัพย์)
ผมคิดอยู่นานเหมือนกันว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องไร้สาระหรือไม่ แต่พอได้พบว่าอาจารย์ Srinivas Devadas ที่ MIT ท่านก็ “แจกของ” เหมือนกัน ผมจึงสบายใจมากขึ้น โดยสิ่งที่เขาแจกนั้นไม่ใช่ขนม แต่เป็น “เครื่องรางของขลัง” เลยทีเดียวเชียวครับ เขาแจก “จานบิน” (frisbee) ที่มีรูปกราฟตัวอย่าง สำหรับการสาธิต worst case analysis ของ Ford Fulkerson’s Augmenting Path Algorithm ซึ่งเป็นเนื้อหาไฮไลท์ของ lecture
เมื่อใครตอบคำถามถูกต้อง เขาจะร่อนจานบินไปให้
ผู้เรียนก็จะระลึกถึงวิชานี้ทุกครั้งที่ออกไปโยน frisbee เล่นกับเพื่อนๆ และลวดลาย nerdๆ บน frisbee ก็คงทำให้เพื่อนๆ คนอื่นอดสงสัยไม่ได้ว่า “frisbee นี้ท่านได้แต่ใดมา?” นับว่าเป็นการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนที่ดีมากวิธีหนึ่ง!


การเรียนแบบ ทุกที่ ทุกเวลา
ข้อดีของการอัด lecture เป็นวีดิโอ แล้วเผยแพร่บน YouTube แม้ว่าจะไม่ต้องมี special effect ใดๆ เลย ก็คือว่าผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา บนอุปกรณ์ใดก็ได้ จะเรียนช้าเรียนเร็วเท่าใดก็ได้ จะฟังเฉยๆ หรือจะจดไปด้วยก็ได้ จะ pause เพื่อจดหรือเพื่อคิดทบทวนเมื่อใดก็ได้ จะไปหาข้อมูลมาเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นแล้วค่อยมาฟังต่อก็ได้
ขอยกตัวอย่างเทคโนโลยี 4 ชิ้น ในปัจจุบัน ที่ผมเคยใช้จริง และทำให้การเรียนแบบทุกที่ทุกเวลาเป็นไปได้อย่างราบรื่น
- การ save offline (หรือ Make available offline) ของ YouTube app บน iOS (คิดว่าบน Android ก็ต้องทำได้เหมือนกัน) เพื่อใช้เปิดดูในสถานที่ที่ไม่มี wifi เช่น ในสวนสาธารณะ บนรถ หรือเครื่องบิน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ smart phone หรือ tablet ของผู้เรียนจะต้องมีความจุเพียงพอ
- การปรับความเร็วในการดูให้เร็วขึ้นหรือช้าลง (เช่นแบบ 2x หรือ 0.5x) ซึ่งทำได้บน PC/Mac แต่น่าเสียดายที่ยังทำบน iOS App ของ YouTube ไม่ได้ (มี app อื่นทีทำได้แต่ผมยังไม่ได้ลอง)
- การใช้ subtitle ทำให้ผู้เรียนที่ไม่คุ้นเคยกับสำเนียงของอาจารย์ ติดตาม lecture ภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้น
- ขาตั้งเพื่อดู lecture จะได้ไม่เมื่อยมือ! เป็นเทคโนโลยีราคาถูกที่ทุกคนควรจะมีใช้!!!

อุปสรรค: ตัวอย่างที่ไกลตัว (สำหรับคนไทย)
ปัญหาของ MOOCs ต่างประเทศอย่างหนึ่งก็คือ อาจารย์มักเลือกตัวอย่างที่ “ใกล้ตัว” ผู้เรียนของตนเอง โดยคำนึงถึงผู้เรียนในพื้นที่รอบๆ มหาวิทยาลัยเป็นหลัก เช่นในกรณีของ MIT ซึ่งอยู่ในรัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา ผู้คนชอบกีฬา baseball กันมาก อาจารย์ Devadas จึงยกตัวอย่างของการวิเคราะห์การจัดแข่งขัน baseball ซึ่งอาจไม่ตรงใจกับผู้เรียนมากเท่าไรนัก
ดังนั้นหากอาจารย์ไทยจะนำ MOOCs ของต่างประเทศมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะด้วยการให้ผู้เรียนไปดูเองก็ดี หรือจะเป็นการ “ขอยืม” เนื้อหามาสอนบ้างก็ดี (ผมทำเป็นประจำ โดยให้เครดิตแหล่งข้อมูลอย่างชัดเจน) อาจารย์จะต้องคิดคำนึงอยู่เสมอว่าตัวอย่างที่อาจารย์ต่างประเทศนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับบริบทของสังคมไทยมากน้อยแค่ไหน ในบางกรณีอาจารย์ไทยควรคิดตัวอย่างขึ้นมาเองเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกร่วมได้ง่ายขึ้น

วันนี้ขอเล่าสั้นๆ เพียงเท่านี้ก่อน
ยังมีประเด็นที่สนุกอีกมากมายเลยครับ
ถ้าใครสนใจเพิ่มเติม ชวนผมคุยได้ครับ
(ระวัง: ถ้าผมเริ่มคุยเรื่องนี้ผมอาจจะหยุดพูดไม่ได้ครับ)
It’s hard to find well-informed people in this particular topic,
but you sound like you know what you’re talking about!
Thanks
Constantly i used to read smaller articles or reviews that as well clear their motive, and that is also happening with this piece
of writing which I am reading now.
I really like and appreciate your blog.Thanks Again. Awesome.
Quality articles or reviews is the key to interest the users to go to see the web page,
that’s what this website is providing.
You must continue your writing. I’m sure, you’ve a huge readers’ base already! want to learn more? click the link here: 온라인카지노
I would appreciate you that you pick up an important topic to write a thoroughly informative post on. 온라인카지노
that’s what I was looking for, what a information! 바카라사이트
Thanks for sharing This is really inspiring and I love to read more about this. 온라인카지노
It’s the same topic , but I was quite surprised to see the opinions I didn’t think of. My blog also has articles on these topics, so I look forward to your visit. safetoto