สถาบันการเรียนรู้ มจธ. ให้ความร่วมมือกับ สสวท. ในการร่วมวางกรอบหลักสูตรวิชา Computing Science ระดับประถม และมัธยม ผู้เขียนโชคดีที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมพิจารณา learning outcome ในวันนี้ด้วย ทำให้ได้สัมผัสกระบวนการออกแบบหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (outcome-based curriculum) ที่มีผลกระทบสูงในระดับประเทศ
ความโชคดีอีกประการหนึ่ง คือมีโอกาสได้พบกับ “อาจารย์คนแรกๆ” ของผู้เขียนในวงการ computer science ที่ไม่ได้พบกับท่านมาตั้ง 16 ปี นั่นคือ รศ. ยืน ภู่วรวรรณ (คราวที่แล้วผู้เขียนยังเป็นนักเรียน ม.6 ตัวเล็กๆ) ในวันนี้ได้เรียนรู้ทัศนคติในการทำงานที่ดีหลายประการจากตัวอย่างและโอวาทของท่าน
หลักสูตรใหม่ที่กำลังออกแบบกันอยู่นี้ กระทรวงศึกษาธิกาวางแผนจะประกาศใช้ราวเดือน ก.พ. ปี 2560 สำหรับทุกโรงเรียนในประเทศไทย ทั้งในระดับประถมและมัธยม (ป.1 – ม.6) เพื่อเตรียมพร้อมเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต
วิสัยทัศน์หลักที่เป็นแนวทางในการวางหลักสูตรนี้ก็คือ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเป็นขั้นตอน (ทักษะการคิดเชิงคำนวณ) ตลอดจนสมรรถนะอื่นๆ ที่เกียวข้องกับวิชา computer นั้น ล้วนเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตในอนาคต ไม่ว่านักเรียนจะเติบโตขึ้นมาแล้วประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์หรือไม่ก็ตาม
เกี่ยวกับบทความนี้
บทความนี้ไม่ใช่บันทึกการประชุม ไม่ใช่เอกสารประชาสัมพันธ์ และไม่ใช่ถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการของ สสวท หรือหน่วยงานอื่นใด เป็นเพียงบันทึกตามความเข้าใจและความคิดเห็นของผู้เขียน ซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับความเห็นของที่ประชุม
หลักสูตรของประเทศอื่น
ก่อนการประชุม สสวท. ได้เตรียมข้อมูลกรอบหลักสูตรของสองประเทศคือ UK และ USA เพื่อใช้เป็นแนวทางอ้างอิง ลักษณะทั่วไปเชิงโครงสร้างมีดังนี้
- UK: แยกเป็น 4 Key States
- เทียบคร่าวๆ ได้เป็น ป.ต้น ป.ปลาย ม.ต้น ม.ปลาย
- นักเรียนทุกคนต้องเรียนตามที่กำหนดเป็นอย่างน้อย
- USA: กำหนดโดย ACM CSTA แบ่งเป็น 3 levels
- เทียบคร่าวๆ ได้ว่า level 1 = ประถม, level 2 = ม.ต้น, level 3 = ม.ปลาย
- นักเรียนทุกคนต้องเรียนตาม level 1 และ 2
- level 3 แบ่งเป็นสามส่วน ทุกคนต้องเรียนส่วนแรก อีกสองส่วนมีไว้สำหรับผู้สนใจประกอบอาชีพด้านคอมพิวเตอร์
ความแตกต่าง
ในภาพกว้าง กรอบหลักสูตรของ UK จะเขียนในลักษณะของ guideline ที่ไม่ละเอียดนัก เปิดโอกาสให้ผู้อ่าน (ครู) ตีความได้มาก ส่วนหลักสูตรของ ACM จะระบุรายละเอียดมากกว่า (แต่ก็ไม่ได้จำกัดอิสระไปทั้งหมด)
ความเหมือน
- ทั้งหลักสูตรของ UK และ USA ต่างเน้นความสำคัญของแง่มุม “วิทยาศาสตร์” ใน computer science ที่เข้มข้นตั้งแต่อายุยังน้อยมาก
- เช่น UK กำหนดไว้ใน outcome ข้อแรกของ Key State 1 (5 ขวบ) ว่านักเรียนจะต้องรู้ว่า algorithm คืออะไร, จะต้องเขียนโปรแกรมและ debug ได้ (น่าจะหมายรวมถึงโปรแกรมแบบที่เป็น non-computer based ด้วย)
- เช่น USA กำหนด outcome สำหรับ Level 1 ไว้ว่านักเรียนจะต้องแสดงได้ว่าเลข 0, 1 สามารถใช้เก็บข้อมูลได้อย่างไร, จะต้องสร้างกลุ่มของคำสั่งที่ทำงานบางอย่างได้ (เช่นสั่งเต่าให้เคลื่อนที่)
- หลักสูตรถูกแบ่งเป็นสามส่วนใหญ่ๆ สำหรับทุกๆ ช่วงอายุ คือ
- Coding / Computer Science
- การเขียนโปรแกรม ความเข้าใจ algorithm, data structure และการนำไปใช้
- อาจกล่าวได้ว่านี่คือส่วนที่เป็นส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สุด สอนยากที่สุด และสำคัญที่สุดในการปลูกฝังทักษะการคิดเชิงคำนวณ (computational thinking)
- media and information
- การค้นหา รวบรวม จัดระเบียบ วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูล
- การประเมินความน่าเชื่อถือ การให้นำหนักข้อมูล
- การนำข้อมูลมาใช้อย่างชาญฉลาด
- ICT
- ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ
- การใช้ Internet และบริการต่างๆ
- ความปลอดภัยบนโลกออนไลน์
- Coding / Computer Science
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
อ.ยืน แนะนำให้ศึกษาหลักสูตรและแหล่งข้อมูลเหล่านี้ไว้ด้วย
- Code.org
- UNESCO: Media and Information Literacy Curriculum for Teachers
- CMU: Viewpoint on Computational Thinking
ความท้าทายของประเทศไทย
abc
(ยังเขียนไม่จบ)
ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม
- ประชุมพิจารณากรอบหลักสูตร Computing Science
- จัดโดย สสวท. (IPST)
- วันพุธที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 08.30 – 16.30 น.
- อาคาร E88 พระโขนง http://www.e88bangkok.com/th/