โดย รศ. ดร.ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรียบเรียงโดย ทีม CELT
ปัจจุบันระบบการศึกษาได้มีการปรับกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบ Hybrid มีการใช้ Learning Management System (LMS) เข้ามาช่วยในการจัดการห้องเรียนเป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมออนไลน์ ทั้งการฝากไฟล์การเรียนการสอน การรับ-ส่งงานระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน การทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ การดูสื่อดิจิทัลเพื่อทบทวนการเรียน รวมทั้งการเก็บหลักฐาน การติดตามพฤติกรรมเพื่อประเมินผลการเรียนและให้ข้อมูลป้อนกลับ นอกจากนี้อาจใช้ในการออกแบบหลักสูตรและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ได้อีกด้วย
แนวคิดด้านการออกแบบการเรียนการสอน
การจัดการเรียนรู้แบบ TPACK (Technological Pedagogical Content Knowledge) เป็น Framework หนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในสภาวะปัจจุบันที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้บูรณาการร่วมกับการสอนมากขึ้น โดยประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
TCK (Technological Content Knowledge) คือ ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย น่าสนใจ และเหมาะสมกับเนื้อหา รวมทั้งสามารถพิจารณาได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศใดที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเข้าใจเนื้อหาตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective) ที่ตั้งไว้
TPK (Technological Pedagogical Knowledge) คือ ผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการสอนและการเรียนรู้ โดยสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการสอน เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้เปลี่ยนแปลงไป หรือมีความรู้ เทคนิคการสอนตามระดับความสามารถของผู้เรียน ทราบข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการเรียนการสอนได้
อุปสรรคในการสอนออนไลน์
มีหลายปัจจัยที่ผู้สอนไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ ความพร้อมของอุปกรณ์หรือเครื่องมือการเรียนการสอน ระบบอินเทอร์เน็ต สภาพแวดล้อม การสนับสนุนจากครอบครัว และทักษะการนำตนเองของนักศึกษา ส่งผลให้เกิดความกังวลของผู้สอนและเกิดปัญหากับการสอนออนไลน์ ทั้งการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลออนไลน์ โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเด็นสำคัญ ดังนี้
- เครื่องมือประชุมทางไกล
- เครื่องมือจัดสอบออนไลน์
- ปัญหาการทุจริตการสอบ
- ระบบจัดการห้องเรียนออนไลน์
- วิธีการสอนและกิจกรรมออนไลน์
จากปัญหาดังกล่าวนี้จึงเป็นแนวคิดให้เกิดการออกแบบหลักสูตรหรือกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธี Backward Design โดยใช้หลักการ Triangle of Effective Learning และ Addie Model โดยมีลำดับดังนี้
อันดับแรกนั้นจะเป็นการตั้งเป้าหมายการเรียนรู้หรือ Learning Outcome ตัวอย่างเช่น “หลังจากจบหลักสูตรนั้น หรือชั่วโมงเรียนนั้นผู้เรียนจะสามารถทำอะไรได้ทำอะไรเป็น”
จากนั้นจะเป็นการออกแบบวิธีประเมินและเลือกเครื่องมือวัดประเมินที่เหมาะสม
สุดท้ายจึงเป็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกันทั้งสามส่วน (Alignment)
ในการเรียนรู้ออนไลน์นั้นนอกจากแนวคิดการออกแบบ Backward Design แล้วจะมีแนวทางออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพิ่มเติมอีก 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- Analysis – วิเคราะห์ความพร้อมของผู้เรียน ทบทวนวัตถุประสงค์การเรียน วิธีการประเมิน กิจกรรมและงาน ศึกษา Learning Management System และเทคโนโลยีอื่น ๆ
- Design – ออกแบบรูปแบบการประเมินและ วิเคราะห์ Learning Management System กลยุทธ์การสอน ออกแบบวิธีที่เอื้อให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย โดยต้องคำนึงถึงจำนวนภาระงานที่เหมาะสม (งานใดบ้างที่จัดเป็นการประเมินผล เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนการตัดสินผลได้)
- Select & Develop – เลือก Platform เทคโนโลยี เครื่องมือ และสร้างกิจกรรมออนไลน์ในระบบ
- Utilize – สื่อสารรูปแบบการสอน แจ้งช่วงเวลาเรียน/เวลาที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ โดยใช้การถามตอบหรือป้อนกลับข้อมูลผ่านระบบ LMS ดังตัวอย่างในรูปที่ 3
- Evaluate – ประเมินผลผู้เรียนและประเมินกระบวนการสอน เพื่อปรับใช้ต่อไป
ตัวอย่าง Diagram การออกแบบการเรียนรู้
นอกจากนี้การออกแบบการเรียนรู้ของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะมีการใช้หลักการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้มีการสรุปไว้ ดังนี้
Engagement (สร้างความสนใจ) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน โดยการกระตุ้นให้เกิดความสนใจใคร่รู้ นำไปสู่ประเด็นที่จะศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
Exploration (สำรวจและค้นหา) เป็นการทำความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษา วิธีการศึกษาอาจเป็นการตรวจสอบ การทดลอง การปฏิบัติ การสืบค้นความรู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างพอเพียงในการนำไปใช้ในขั้นต่อไป
Explanation (อธิบายและลงข้อสรุป) เป็นการนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอในรูปของภาพวาด ตาราง แผนภูมิ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นการสนับสนุนหรือโต้แย้งสมมติฐานก็ได้ ผลที่ได้สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
Elaboration (ขยายความรู้) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำข้อสรุปไปอธิบายสถานการณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดความรู้ที่กว้างขึ้น
Evaluation (ประเมิน) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่ามีความรู้อะไรบ้าง รู้มากน้อยเพียงใดและนำไปประยุกต์ความรู้สู่เรื่องอื่น ๆ
ที่มา: หลักการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E (https://www.gotoknow.org)
การเลือกเครื่องมือการสอนออนไลน์ขึ้นกับรูปแบบการสอน โดยรูปแบบการสอน Synchronous Learning ที่ผู้สอนนัดหมายให้ผู้เรียนทุกคนมาเรียนพร้อมกัน จะมีเครื่องมือการสอนผ่านระบบ Teleconference อาทิ Zoom, Google Meet หรือ Webex ส่วนการสอนรูปแบบ Asynchronous Learning ที่อาจารย์จะนำเสนอบทเรียนให้ผู้เรียนได้เลือกเวลาเรียนด้วยตนเอง ผ่านระบบต่าง ๆ เช่น ระบบ Moodle ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการสอนรูปแบบใดก็ควรมีการจัดใส่ฟอร์ม เพื่อใช้สื่อสารกันในกลุ่มผู้สอน หลักสูตร ผู้ประเมินการสอนหรือผู้ประเมินหลักสูตรด้วย
แนวคิดการประเมิน
การประเมินการเรียนการสอนนั้นควรมุ่งเน้นไปในด้าน “Assessment to Improve Learning” ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุง พัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยใช้หลักการ Redesign Assessment และมีการเก็บหลักฐานการเรียนรู้จากการมอบหมายงานให้แก่นักศึกษาเพื่อระบุระดับขั้นการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมทั้งแนะแนวทางพัฒนาสมรรถนะ ความสามารถของผู้เรียนต่อได้
ที่สำคัญคือการประเมินนั้นก็จะต้อง Alignment กับเป้าหมายหรือผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างเป็นเหตุเป็นผลตามแนวคิดของ Triangle of Effective Learning และ Addie Model อีกด้วย
โดยรูปแบบการประเมินนั้นจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมินออกเป็น 3 หมวดใหญ่ ได้แก่
1.การประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning : AaL) เป็น Formative Assessment ที่มีกระบวนการรวบรวมหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนขณะเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนตระหนักในการเรียนรู้ของตน สามารถวางแผนการเรียนรู้ กํากับการเรียนรู้ วินิจฉัย ประเมิน และปรับปรุงการเรียนของผู้เรียน
2.การประเมินเพื่อเรียนรู้ (Assessment for Learning : AfL) เป็น Formative Assessment ที่มีกระบวนการรวบรวมหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ต่าง ๆ ตามสภาพจริงเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อระบุและวินิจฉัยปัญหาการเรียนรู้ และให้ข้อติชมที่มีคุณภาพแก่ผู้เรียน เพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ให้ดีขึ้นผ่านการตรวจสอบ หรือประมาณรายการสิ่งที่สามารถทำได้ตาม Check List เขียนอนุทิน (learning Journal) หรือวิธี Peer Assessment
3.การประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning : AoL) เป็น Summative Assessment มีกระบวนการรวบรวม หลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ต่าง ๆ เพื่อตัดสินคุณค่าในการบรรลุวัตถุประสงค์ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ และให้ผู้เรียน รู้ว่า “I can if I …” และพัฒนาตัวเองต่อไป
อีกเป้าหมายหนึ่งของการสอน คือ การนำพาผู้เรียนไปสู่การเป็นผู้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning Skills) และมี Metacognition (อภิปัญญา) ตามแนวคิด Key Characteristics of Self-directed Learning (King,2011)
กระบวนการสอนที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีเคล็ดลับดังนี้
- การเริ่มต้นกระบวนการเรียนการสอนในคาบเรียนแรกที่ผู้สอนต้องมีการทำข้อตกลง และชี้นำให้ผู้เรียนเห็นถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ชัดเจน
- ใช้คำถามซักถามที่แสดงถึงความห่วงใยและเข้าใจผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน
- ระหว่างการสอนต้องอาศัยการตั้งคำถามสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection Question) จากผู้สอนเป็นระยะ ซึ่งมีลำดับตั้งแต่การชวนให้ผู้เรียนประเมินความรู้-ทบทวนคำตอบ-ปรับหรือยืนยันคำตอบ และการสอบถามเพื่อค้นหาความซับซ้อนในมโนทัศน์คลาดเคลื่อน (Misconception)
- สามารถใช้เทคนิค Peer Assessment หรือ PMI (Plus Minus Interest) ได้ แต่ด้วยระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด การที่อาจารย์ต้องใช้เวลาและพลังงานในการดูแลนักศึกษาค่อนข้างมาก และภาระหน้าที่อื่น ๆ ของอาจารย์ระหว่างภาคการศึกษา อาจไม่เพียงพอต่อการนำเทคนิค PMI ไปใช้ทุกงานได้ เทคนิคนี้จึงเหมาะกับงานที่สำคัญ มีขนาดใหญ่ หรือใช้ระยะเวลาทำนาน อาทิ โครงงานจบภาคการศึกษา โดยจะเป็นการให้ผู้เรียนประเมินผลงานกันเองตาม Rubrics ที่อาจารย์กำหนดพร้อมให้ข้อมูลป้อนกลับ ซึ่ง ด้าน Plus จะเป็นการ Feedback ว่าเพื่อนต้องเติมอะไร ด้าน Minus คือลดทอนให้กระชับการทำงานขึ้น และ Interesting คือการชมสิ่งที่เพื่อนทำได้ดี
รูปแบบการประเมินสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
Assessment of Learning Process คือการตั้งคำถามให้ผู้เรียนเกิดการตรวจสอบการเรียนรู้มากกว่าการเก็บคะแนน เช่น มอบแบบฝึกหัดแก่ผู้เรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และสะท้อนผลข้อที่ผิดพลาดเพื่อปรับปรุง
Evaluation of Learning Success คือการประเมินเพื่อให้ได้ซึ่งคะแนนหรือสัญลักษณ์ตัวแทนระดับความสามารถ แต่กระบวนการนี้ผู้สอนควรทำให้ผู้เรียนทราบว่าการสอบหนึ่งครั้งไม่ได้ชี้ผลทั้งชีวิต ให้ผู้สอนทำให้ผู้เรียนรู้สึกเกิดความสำเร็จเล็ก ๆ สม่ำเสมอกับการเรียนรู้ของตน
นอกจากนี้ ยังสามารถพิจารณาเครื่องมือสำหรับใช้ประเมินจากแนวคิด Asynchronous Learning โดยสามารถช่วยเสริมสร้างการบริหารจัดการเวลาของตนเอง กระตุ้นทักษะการกำกับตนเองของผู้เรียนผ่านการได้รับคำติชมเพื่อการปรับปรุงงานได้ เช่น การนำเสนอผลงานด้วยการจัดการเรียนออนไลน์แบบต่างเวลา กลุ่มผู้เรียนจะช่วยเตือนกันเองเมื่อใกล้ถึงระยะเวลาส่งงานหรือพบเห็นเพื่อนส่งไฟล์ผิดหรือส่งไฟล์ที่เปิดเข้าชมไม่ได้ และเมื่อนำเสนอก็สามารถใช้เทคนิค กระบวนการที่ผู้สอนกำหนดไว้ เช่น เทคนิคการประเมินตนเอง (Self-Assessment) การสะท้อนคิด (Reflection) หรือการประเมินโดยเพื่อน (Peer Assessment) การวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์ (PMI: Plus-Minus-Interesting) ที่ได้กล่าวไปข้างต้นได้
โดยสรุปแล้ว Assessment ที่ดีควรเป็นกระบวนการที่นำพาให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ โดยระหว่างกระบวนการควรทำให้ผู้เรียนเห็นความสำเร็จทีละเล็กทีละน้อย ส่วนวัตถุประสงค์การประเมินที่เหมาะสมกับช่วงการเรียนการสอนออนไลน์ควรจะมุ่งเน้นไปในทาง Assessment for Learning (AfL) และ Assessment as Learning (AaL) เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิด Metacognitive Skill รู้จักประเมินตนเองเชิงบวก และเสริมสร้างเจตคติที่ดีให้ผู้เรียนมุ่งเน้นไปที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าการผ่านผลประเมินอันจะเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองและอภิปัญญาซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในทุก ๆ การเรียนรู้
สาระจากกิจกรรม Hybrid Learning และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา
โดย รศ. ดร.ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในวันอังคารที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ผ่าน Application ZOOM
for information received It’s a very good information dissemination.
ลิงค์รับทรัพย์
Great Post! You can find here more information check https://akamsremoteconnect.info/
love stage
First of all, thank you for your post. majorsite Your posts are neatly organized with the information I want, so there are plenty of resources to reference. I bookmark this site and will find your posts frequently in the future. Thanks again ^^
Thanks for sharing this useful blog
divorcio de mutuo acuerdo virginia beach va
formularios de divorcio no disputados de virginia
It’s too bad to check your article late. I wonder what it would be if we met a little faster. I want to exchange a little more, but please visit my site baccaratcommunity and leave a message!!
Very nice post. great article, thanks for putting this together! This is obviously one great post. Thanks for sharing with us.
igoal88 เครดิต ฟรี