Hybrid Learning และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา
โดย ศ. ดร.เนาวนิตย์ สงคราม อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรียบเรียงโดย ทีม CELT
ปัจจุบันสถานการณ์โรคระบาด COVID – 19 ทำให้อาจารย์ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนให้เป็น Online มากขึ้น และทำความรู้จักเครื่องมือหรือเทคโนโลยีช่วยสอนต่าง ๆ เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ อาทิ ZOOM Application จากเดิมที่เป็นเพียงจัด VDO Conference ก็สามารถใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันต่าง ๆ ได้อีกมากมายทั้งการสร้าง Poll หรือสร้าง Quiz เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการทำวิจัยด้านการศึกษา การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาที่จะนำมาปรับใช้กับบริบทการเรียนการสอนในปัจจุบันและอนาคต และถึงแม้สถานการณ์ของโรคระบาดจะเริ่มดีขึ้นแต่นวัตกรรมทางการศึกษาก็จะยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ โดยปัจจุบันจะถูก เรียกว่า Hybrid Learning ในบทความนี้ชี้ให้เห็นถึงความหมาย และแนวทางการจัดการสอนแบบ Hybrid Learning ในปัจจุบัน
นิยามและทฤษฎี Hybrid Learning มีคนให้ความหมายไว้หลากหลายรูปแบบตามสัดส่วนของการเรียนการสอนในห้อง (Face to Face) และการเรียนการสอน Online โดยสามารถแบ่งตามแนวคิดได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
- เรียนร่วมกันผ่านห้องเรียนออนไลน์ – พร้อมแบบทดสอบและงานที่ได้รับมอบหมายจากครู แล้วกลับมาทบทวนกับครูอีกครั้งแบบตัวต่อตัวในห้องเรียน
- แบ่งกลุ่มนักเรียนสอนออนไลน์กับออฟไลน์ – สลับให้มีนักเรียนหนึ่งกลุ่มเรียนในชั้นเรียนตามปกติแบบรักษาระยะห่าง ส่วนกลุ่มอื่น ๆ เรียนสดร่วมกันผ่านห้องเรียนออนไลน์ในช่วงเวลาเดียวกัน
- ผสมผสานกิจกรรมการเรียนรู้ที่โรงเรียนและที่บ้าน – ครูให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในห้องเรียน หลังจากนั้นให้นักเรียนกลับไปทดลองทำที่บ้าน แล้วกลับมาทบทวนอีกครั้งในห้องเรียน
ซึ่งการจัดการสอนแบบ Hybrid Learning ให้มีประสิทธิภาพนั้นจะมีแนวทางดำเนินการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความเข้าใจและจินตนาการ ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาและวัตถุประสงค์การสอน
ขั้นตอนที่ 2 การตัดสินใจและออกแบบ ผู้สอนจะต้องเลือกว่าจะใช้รูปแบบการสอน Hybrid รูปแบบใด ต้องนำไปทดสอบ เก็บข้อมูล แล้วนำมาปรับปรุงและออกแบบการสอนจริง
ขั้นตอนที่ 3 การเปิดใช้งานและการดำเนินการ หลังจากเลือกและออกแบบแล้ว ผู้สอนจึงนำมาดำเนินการสอนในชั้นเรียนจริง
ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบและปรับปรุง ในระหว่างและหลังดำเนินการ ผู้สอนควรมีการตรวจสอบการดำเนินการด้วย เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาหรือปรับแก้การดำเนินการในการสอนครั้งต่อไป
แนวทางการจัดการสอนแบบ Hybrid Learning ในปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็น Model ได้ดังต่อไปนี้
Station Rotation Model
เป็นโมเดลที่มีการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบเวียนกลุ่ม โดยการแบ่งกลุ่มผู้เรียนไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะ “ฐานการเรียนรู้” ได้แก่ ฐานการเรียนเนื้อหาผ่านบทเรียนออนไลน์ (Online instruction) ฐานการสอนจากครู (Teacher-led instruction) และฐานการทำกิจกรรมร่วมกัน (Collaborative activities and stations)
โดย Model นี้จำเป็นต้องมีการกำหนดแผนการเรียนรู้ที่ชัดเจน การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เนื้อหา และเวลาที่ชัดเจน สำหรับการเวียนกลุ่มผู้เรียนในแต่ละฐาน โดยแนวทางการสอนนี้จะเหมาะกับผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล-ประถม
Lab Rotation Model
ในโมเดลนี้ผู้เรียนจะถูกแบ่งเป็นกลุ่ม โดยมีกลุ่มที่เรียนในห้องแลปออนไลน์ (Learning Lab) และกลุ่มจะเรียนในห้องเรียนปกติ (Direct Instruction) ซึ่งการเรียนในห้องจะมีการทำแลป ในแต่ละกิจกรรมหมุนเวียนกันไป คล้ายกับ Station Rotation Model ซึ่งรูปแบบนี้ก็จำเป็นที่จะต้องมีแผนการเรียนรู้ที่ชัดเจนเช่นกัน
Flipped Classroom Model
แนวทางการสอนนี้เป็นการออกแบบภายใต้แนวคิดที่ว่า “เรียนที่บ้าน ทำงานที่โรงเรียน” โมเดลนี้จะทำให้แผนการสอนมีความยืดหยุ่น ผู้เรียนสามารถเรียนเนื้อหา ออนไลน์ได้ที่บ้าน และมาฝึกปฏิบัติ ทำโครงงาน หรือทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชั้นเรียน ซึ่งรูปแบบนี้จะต้องมีการออกแบบเนื้อหาออนไลน์ที่ Interactive มากขึ้น
Individual Rotation Model
แนวคิดนี้ผู้เรียนจะเรียนเนื้อหาหลักผ่านการเรียนออนไลน์ ส่วนการพัฒนา Social Skill และ Soft Skill จะมีการออกแบบเนื้อหาให้แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล สามารถแบ่งได้ด้วยการทดสอบ วิเคราะห์ผู้เรียนก่อนทำกิจกรรมกับผู้สอน ซึ่งมีรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น Intervention, Seminar, Direct Instruction, Group Projects, และ Personal training
Flex Model
แนวทางจัดการสอนแบบนี้จะมีความยืดหยุ่นสูงมาก ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และการปฏิบัติงานด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะเป็นผู้ชี้นำ ให้คำปรึกษา ใช้เทคนิควิธีสอน และจัดบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยแนวทางนี้จะเหมาะกับผู้เรียนระดับปริญญาตรี หรือบัณฑิตศึกษา สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ “14 วิธีสอน” ของ ศ. ดร.ทิศนา แขมมณี
A La carte Model
นักเรียนจะเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ และสามารถขอคำปรึกษาจากครูผ่านระบบออนไลน์ โทรศัพท์ หรือมาใช้พื้นที่การเรียนรู้กลาง (Cyber lounge) สำหรับการพบปะแลกเปลี่ยน ขอคำปรึกษากับครูได้
Enriched Virtual Model
เป็นลักษณะการเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) โดยมีการนัดเรียนเนื้อหา Online ได้ แต่จะมีการพบกลุ่มเป็น Face to Face Supplementation ตามศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ
แนวคิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน
นอกเหนือจากทฤษฎี แนวทางการเรียนการสอนแล้ว เครื่องมือทางเทคโนโลยีผสานทฤษฎีการเรียนรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสอนแบบ Hybrid Learning
ด้านการบริหารจัดการ (Management)
เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการ และใช้ในการสอนจะต้องเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย แก้ปัญหาได้ มีความรวดเร็ว และตอลโจทย์การใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
ด้านการสอน (Instruction)
ผู้เรียนควรจะต้องมี ICT Skills อาทิ การสร้างชิ้นงานด้วยเครื่องมือเทคโนโลยี, การค้นหาข้อมูลที่ตรงตามความต้องการและเป็นจข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ (Searching) การทำกิจกรรมในชั้นเรียน (Activities) และการนำเสนอด้วยเครื่องมือต่าง ๆ (Presenting)
เครื่องมือทางเทคโนโลยีผสานทฤษฎีการเรียนรู้
เครื่องมือทางเทคโนโลยีผสานทฤษฎีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ และง่ายต่อการใช้งาน มีดังต่อไปนี้
PowerPoint
เป็นเครื่องมือสำหรับทำสื่อนำเสนอ (Slide Presentation) ซึ่งการทำสื่อที่ดีจะต้องใส่แค่ข้อมูลที่จำเป็น มีการย่อยข้อมูล หรือการเน้นคำสำคัญ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดการทวนซ้ำ (Redundancy) อีกด้วย
Link:
Template ที่ช่วยในการออกแบบ PowerPoint
http://www.free-powerpoint-templates-design.com/free-powerpoint-templates-design/
Graphic ที่สามารถนำไปใช้ประกอบสื่อนำเสนอ
Canva
เป็นโปรแกรมในการช่วยออกแบบ Infographics ที่ช่วยเสริมสร้างความจำระยะยาว (Long term Memory) ตามทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Cognitivism ได้ สามารถใช้เป็นกิจกรรมให้ผู้เรียนสรุปเนื้อหา ในลักษณะของภาพ Slide Infographics หรือ VDO เพื่อให้ผู้เรียนได้สรุปข้อมูลเนื้อหาที่ได้เรียน
Link: https://www.canva.com/templates/infographics/
E-Book
เป็นเครื่องมือสำหรับจัดทำเอกสารคำสอนหรือหนังสือ ให้ผู้เรียนได้ใช้งาน Download ไว้อ่าน และสืบค้น
Link: https://issuu.com
Wix
เป็นโปรแกรมสำหรับทำ website ที่ใช้งานง่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้สอนหรือผู้เรียนก็สามารถใช้สำหรับนำเสนอเนื้อหาบทเรียนได้
Link: www.wix.com
Socrative Teacher
เป็นแบบทดสอบหรือ Quiz Online คล้ายกับ KAHOOT โดยสามารถสร้างเป็นพื้นที่ให้ผู้เรียนได้สอบถามหรือตั้งคำถามแบบไม่ระบุตัวตนได้
Link: https://www.socrative.com/
Schoology
เป็นพื้นที่การเรียนรู้ Learning Management System (LMS) กึ่ง Gamification ที่ผู้สอนได้จัดเตรียมไว้ มีการประเมินที่ระบุเกณฑ์ความรู้และทักษะ ระบบคะแนน มอบเหรียญตรา รางวัลแก่ผู้เรียน และระบบช่วยตรวจจับความสนใจผู้เรียนได้
Link: http://www.southwestcoloradoeschool.org/
Class dojo
เป็นโปรแกรมที่ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าการเรียนรู้ของผู้เรียนแบบรายบุคคลได้ เช่น การส่งการบ้าน การทำกิจกรรม เป็นต้น ซึ่งผู้ปกครองก็สามารถเข้าร่วมได้เช่นกัน
Link: https://www.classdojo.com/
Coggle
เป็นโปรแกรมสร้าง Mind map บนระบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำข้อมูลได้เร็วขึ้น ผ่านการระดมความคิดเห็นรายกลุ่มแบบเรียลไทม์ มีฟังก์ชันสำหรับการปรับแต่งสี ใส่ไอคอน รูปภาพ และวิดีโอ
Link: https://coggle.it/gallery
แนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต้องมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทให้สอดคล้องกับความต้องการของโลก ที่ไม่ใช่เพียงเป้าหมายในการสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ แต่ต้องเสริมด้วยการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในทุกวันนี้มีหลาย ๆ มหาวิทยาลัยมีการตื่นตัวและมีการดำเนินงานเพิ่ม Impact ของนวัตกรรมทางการศึกษามากขึ้น เช่น การสร้าง Innovation Hub, Social Hub, Start-up และ entrepreneur ร่วมกับภาคเอกชน หรือการนำศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จมาเป็น Partner เป็นต้น
ขณะเดียวกันการประเมินอาจารย์ เริ่มมีความเข้มข้นขึ้น มุ่งเน้นการทำวิจัยระดับนานาชาติ และการทำงานมืออาชีพ โดยจะมีการพัฒนางานวิจัยไปสู่สากล เช่น ได้รับการตีพิมพ์ใน Scopus, Q1, Q2, Tier 1 หรือมีการใช้ฐานข้อมูล TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) และการมุ่งเน้น publication Innovation การจดสิทธิบัตร และการขอเงินทุน โดยมีแนวโน้มที่จะนำสิ่งเหล่านี้เข้ามาประกอบการประเมินผลงาน ขอตำแหน่งวิชาการ หรือการขอทุนวิจัย นอกเหนือจากงานวิจัยและเอกสารคำสอนที่มีในปัจจุบัน
สาระจากกิจกรรม Hybrid Learning และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา
โดย ศ. ดร.เนาวนิตย์ สงคราม อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.00-15.00 น.
ผ่าน Application ZOOM
f4 thailand cap 3 sub español
This article has been of great help to the topic I was looking for for an assignment. Thank you for your posts and I’d love to see them often. 토토사이트
I’m writing on the same topic as what you posted. For me, who was quite lost, your writing is like a ray of light to me. I don’t know how fortunate I am to find this blog. 안전놀이터
I always find and read your articles. I think you are really trying to share your knowledge and thoughts. I understand how hard it can be to write a blog post. I want to applaud your efforts. I’d love to see your article. I will bookmark it. Thank you. https://totoilmi.com/
If this post is really the result of you, I’m really surprised. If possible, I would like to refer to your article and add this to my article. 토토사이트
I am very satisfied with this blog. It’s an informative topic. It helps a lot in resolving some issues. This article is a very fantastic and informative post. 먹튀검증
It’s too bad to check your article late. I wonder what it would be if we met a little faster. I want to exchange a little more, but please visit my site bitcoincasino and leave a message!!