การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “การสอนวิชา GEN” ครั้งปฐมฤกษ์ เพื่อจัดทำเป็น KM จะจัดขึ้นในวันและเวลาต่อไปนี้:
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 11 สถาบันการเรียนรู้ มจธ.
ระยะเวลา: อาจจะ 1-2 ชั่วโมง แล้วแต่ความปรารถนาของผู้เข้าร่วมประชุม
ผู้ที่ตอบรับการเข้าร่วมประชุมแล้วคือ:
- อ.โตโต้
- อ.สุภโชค
- อ.จันทิมา
- Mock
- อ้อมชาย
- เซี้ยม
- ว้า
ขอเชิญบุคลากรท่านอื่นเข้าร่วมถ้าหากท่านสะดวกครับ โดยเฉพาะท่านที่กำลังสอนหรือเคยสอนวิชา GEN
ตัวอย่างคำถามเพื่อนำการสนทนา (ไม่ได้เรียงตามลำดับความสำคัญ):
- สอน GEN แล้วได้อะไร? (ตัวท่านได้อะไร? หน่วยงานได้อะไร? มหาวิทยาลัยได้อะไร? อาจารย์ มจธ. ท่านอื่นได้อะไร?)
- สอน GEN ทำไม? (เป็นเรื่องที่สนใจ? เป็นเรื่องที่เชี่ยวชาญ? เพื่อเพิ่มภาระงาน?)
- จะขยาย impact จากผลประโยชน์ที่ได้จากการสอน GEN ไปสู่วงกว้างมากขึ้นได้อย่างไร? วิธิที่อาจนำมาใช้มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง? (เช่น ทำ KM? อัดวิโอ? ทำ PLC? ทำ classroom research?)
- ถ้าไม่สอน GEN แล้วจะทำอะไรดี?
- การสอน GEN มีส่วนคล้ายและส่วนต่างกับการสอนวิชาอื่นๆ อย่างไร? (เช่น HCI, STEM, วมว, ฯลฯ)
- ฯลฯ
หลังจากประชุมเสร็จแล้ว ผู้เข้าร่วมประชุมจะจดบันทึกเป็น KM โดยจะนำเผยแพร่ในเว็บนี้ต่อไป (ข้อมูลบางส่วนอาจเผยแพร่เป็นการภายใน)
image credits: http://gened.kmutt.ac.th/paper/logofordownload/
บันทึกสรุป
(เขียนสรุปโดยม็อค จากไฟล์ 29081601 km gen.PDF)
ผู้เข้าร่วมประชุม
มีผู้เข้าร่วมประชุม 9 คน เป็นนักวิจัย 4 คน, อาจารย์ 4 คน, และนักพัฒนาการศึกษา 1 คน ทุกคนเคยสอนหรือกำลังสอน GEN ยกเว้น Mock ซึ่งทำหน้าที่เป็น moderator
- Mock
- ว้า
- เซี้ยม
- อ้อมหญิง
- อ้อมชาย
- เค
- หนวด
- ย้วย
- โตโต้
คำถามที่ 1: สอน GEN แล้วได้อะไร?
- พัฒนา presentation skill
- ทั้งนักพัฒน์และนักวิจัย จำเป็นต้องมีทักษะการเป็นวิทยากร ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมามีงานหลักที่เป็นลักษณะของวิทยากรน้อยลง ทำให้ไม่ค่อยได้ฝึกฝนทักษะดังกล่าว จึงต้องไปฝึกในสนามของวิชา GEN
- ได้แสดงความสามารถในการสอน
- ทำให้ภูมิใจในตนเอง มีพลังมากขึ้น
- ทำให้บุคลากรของ LI มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานอื่น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดอบรม, การประสานงาน
- ได้ฝึกฝนและพัฒนาเทคนิคการสอน
- ได้ทราบว่าการอธิบายเรื่องง่ายๆ นั้นมันยากนะ
- ได้หัดใช้คำถามปลายเปิดกับนักศึกษา
- ได้ฝึกทักษะการจัดการกลุ่มอธิปราย (managing discussions), การกระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
- ได้มีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษา
- ได้นำวิธีออกแบบหลักสูตรไปประยุกต์ในการออกวิขาอื่นๆ (เช่น Polymer)
- ได้ทดลองออกแบบรายวิชา แบบต่างๆ แล้วทดลองเพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุด และนำไปใช้กับวิชาอื่นได้
- ได้นำเทคนิคการสอนต่างๆ ไปใช้ในวิชาเฉพาะทาง (เช่นวิชา Physics)
- ได้เรียนรู้
- ได้เรียนรู้เนื้อหาวิชาใหม่ทุกครั้งที่ได้สอน เพราะคำถามจากนักศึกษาเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทุกปี
- ได้เรียนรู้จากอาจารย์ท่านอื่นๆ รวมถึงอาจารย์ใหม่ที่มีเทคนิคการดึงความสนใจนักศึกษาที่ได้ผลดี
- ได้ฝึกสมองตนเองให้เป็นคนที่คิดเร็วขึ้น คิดละเอียดขึ้น
- ได้ product ใหม่ๆ เกี่ยวกับ active learning
- เช่น การพัฒนาโปรแกรมช่วยตัดคะแนน สำหรับ GEN 121
- เช่น การค้นหาหนทางให้ GEN 441 (ท่องเที่ยว) ไม่ต้องมีการสอบ
- เช่น inquiry based learning (IBL)
- เช่น การออกแบบหลักสูตร hands-on ให้กับ วมว. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ LI
- ได้ connection กับอาจารย์ในคณะอื่นๆ
- แก้เครียด แก้เบื่อ
คำถามที่ 2: ทำไมจึงสอน GEN?
- ยังไม่แน่ใจในภาระงานของตน
- ยังไม่แน่ใจว่ามีทางเลือกในการทำงานใดบ้าง จึงลองสอนดูก่อน
- ต้องการภาระงานสอน (คะแนน)
- คนที่เป็นอาจารย์ทุกคนจำเป็นต้องมีคะแนนส่วนนี้
- คนที่เป็นนักวิจัยบางคนต้องการเพิ่มคะแนนให้ครบเท่าที่ต้องการ งานในส่วนอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบ แม้จะใช้เวลาไปมาก แต่ไม่สามารถ claim คะแนนได้เพียงพอ จึงต้องหาแหล่งคะแนนเพิ่มจากการสอน GEN
- เมื่อเทียบกับการสอน วมว. คะแนนการสอนวิชา GEN มีมูลค่ามากกว่า และใช้เวลาในการเตรียมสอน GEN น้อยกว่า
- GEN เป็นเวทีสำคัญที่สอดคล้องกับพันธกิจหลักของ LI
- พันธกิจหลักของ LI คือปรับเปลี่ยน มจธ สู่ active learning
- LI จึงได้สร้าง GEN เพื่อเป็นเวทีในการทดลองและสาธิต active learning
- บุคลากรของ LI ควรสอน GEN
- เพื่อจะได้รู้จัก active learning
- จะได้ช่วยสร้าง product ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ active learning ได้
- มองเห็นความสำคัญของ SKA ที่นักศึกษาจะได้รับ
- ต้องการให้นักศึกษามีทักษะการแก้ปัญหา
- ต้องการแก้ปัญหา project management ของนักศึกษา
- ผู้สอนมีความสุขในการสอน, การประเมิน, และการให้คำปรึกษา
คำถามที่ 3: ถ้าไม่สอน GEN แล้วจะทำอะไรดี?
- สอนเรื่องที่ตนเองถนัด
- หลายคนแสดงความเห็นพ้องกับท่าน ผ.อ. ว่า ถ้าเป็นไปได้อยากสอนเรื่องที่ตนเองถนัดเฉพาะทางมากกว่า แต่ยังไม่มีโอกาสได้สอนวิชาเฉพาะเหล่านั้น (อาจเพราะยังไม่มีใครเชิญ ยังไม่มี connection หรือยังไม่มีใครช่วยผลักดันให้)
- บางคนมีวิชาเฉพาะทางที่สอนอยู่แล้ว
- โฟกัสกับการทำวิจัย
- นักวิจัยบางท่านแสดงความเห็นว่าจริงๆ แล้วอยากทุ่มเทเวลาให้กับการวิจัยมากกว่า แต่การวิจัยมีความเสี่ยง ถ้าไม่เกิน paper ก็ไม่มีแต้ม และความก้าวหน้าของงานวิจัยอาจสะดุดเนื่องจากมีภาระอื่นมาก (เช่นงานที่เกี่ยวข้องกับ CELT หรืองานช่วยเหลือคณะอื่น)
ไม่ยอมเสียใจ
คำถามที่ 4: จะทำให้อาจารย์คนอื่นๆ ได้ประโยชน์จาก GEN ได้อย่างไร?
- ทำ CoP, PLC (เพิ่มโปรแกรมในโครงการของ อ.วุฒิ)
- จัด event ในการเผยแพร่สิ่งที่ได้เรียนรู้
ประเด็นอื่นๆ
ประเด็นที่ไม่ได้คุยรายละเอียดกันในวันนี้ สมควรสนทนากันเพิ่มเติมในโอกาสหน้า
- สำหรับคนที่สอน GEN มาหลายครั้งแล้ว รู้สึกว่าเพียงพอหรือยัง? หรือยังได้อะไรเพิ่มขึ้นอยู่?
- บางท่านให้ความเห็นว่าอาจมี point of diminishing returns
- ปัญหานักศึกษาไม่ชอบ และไม่เห็นความสำคัญของวิชา GEN
- ควรถามความเห็นของผู้ที่เคยสอน GEN แต่ปัจจุบันไม่ได้สอน GEN แล้ว ทำไมจึงเลิกสอน?
- ผลกระทบ/ข้อเสีย ของการสอน GEN มีหรือไม่? อะไรบ้าง?
- การสอน GEN มีส่วนช่วยเหลือภารกิจของ CELT ได้อย่างไรบ้าง?
- ประเด็นนี้มีการพูดคุยบ้างแล้วเล็กน้อย
- การที่บุคลากรของ CELT ได้พัฒนาตนเอง ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน บางคนเห็นว่าประโยชน์ในส่วนนี้มีความสำคัญมากๆ และควรนับได้ว่าเพียงเท่านี้ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่เพียงพอแล้วที่จะไปสอน GEN
- แต่ GEN ยังมีประโยชน์ในแง่อื่นอีก บางแง่ได้กล่าวไปแล้ว (ด้านบน ในคำถามที่ 1) แต่ควรมีการสนทนากันเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นภาพเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ต้องขอขอบคุณที่ช่วยกันคิดวิเคราะห์เรื่อง GEN เท่าที่ฟังส่วนใหญ่กลัวเรื่องการประเมินมากกว่า เพราะถ้าไม่สอนก็กลัวว่าจะตกประเมิน จริงๆแล้ว ส่วนของนักวิจัยไม่จำเป็นต้องกลัวถ้าเราทำงานอย่างเต็มที่และมีการวางแผนอย่างรอบครอบ เช่น ถ้าทำวิจัยก็ทำวิจัยประมาณสามเรื่อง โดยจะมีการเวียนการตีพิมพ์ไป conference ก่อนในระดับเบื้องต้นแล้วค่อยพัฒนาไปตีพิมพ์วารสารไทย แล้วจึงไปวารสารต่างชาติ หรือมีการจัดกลุ่มวิจัยเป็นทีมจะทำให้มีศักยภาพการทำงานได้ดีกว่าทำคนเดียว
ในส่วนของอาจารย์ เข้าใจว่าที่กำลังสอนเพราะยังไม่มีหลักแหล่งอื่นให้สอน วิธีการคือ สามารถทำ Work agreement เช่น สอนวิชาเดียวที่ตรงกับสาขาที่ตัวเองจะสอน หรือ ให้ผอ.ไปเจรจาตกลงกับคณะต่างๆให้ชัดเจน การสอน วมว. ไม่ใช่ว่าจะได้คะแนนต่ำกว่าเพราะว่ามี MyEva คิดคะแนนเท่ากันอยู่แล้ว เพียงแต่วิชาที่สอนมักจะถูกหักสัดส่วนไปหลายคน ดังนั้นควรจะสอนหลายวิชาแทน อีกทั้งการสอนใน วมว.คือการทดลองวิชาต่างๆ ที่สอน โดยสังเกตแล้วการสอน GEN ก็คือพัฒนาตนเอง ยังไม่ถึงระดับที่สามารถเอาหลักการความรู้ไปอบรมพัฒนาอาจารย์ต่อได้ อันนี้ต้องชัดเจนเป้าหมายก่อนว่าเป้าหมายคือการพัฒนาอาจารย์ และวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายก็ทำได้หลายอย่าง เช่น การจัด COP การทำคู่มือเทคนิคการสอน การทำสื่อการสอนออนไลน์ การไปสังเกตห้องเรียน การให้คำปรึกษาแก่อาจารย์ หรือ การจัดฝึกอบรมให้อาจารย์ ถ้ามองเป็นภาพรวมแล้วไม่เข้าข้างที่ใดที่หนึ่ง เราก็มีคำถามว่าวิชาหรือคณะอื่นๆในมหาวิทยาลัยก็มีความสำคัญ เช่น สถาปัตย์ ครุศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ คำถามคือว่า ถ้าเราไปพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งมากไปส่วนที่เหลือใครจะพัฒนา เราควรที่จะจัดสมดุลย์ให้เกิดการพัฒนาเป็นองค์รวมทั้งมหาวิทยาลัย ขอบคุณมากที่ช่วยคิดครับ