ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุง (Feed forward)
Presented by สุขุมาลย์ หนกหลัง นักวิจัย สถาบันการเรียนรู้
การประเมินเพื่อการปรับปรุงหรือการประเมินระหว่างการเรียน (formative assessment) เป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนในระหว่างกระบวนการเรียนรู้ และช่วยให้ผู้สอนเห็นว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ผู้เรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใดและมีสมรรถนะที่พึงประสงค์ในระดับใด โดยการประเมินในลักษณะนี้เป็นการประเมินที่เกิดปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้สอนจะมีโอกาสให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ที่ช่วยกระตุ้นพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้นการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จึงนับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เป็นการให้ข้อมูลในลักษณะข้อความ เสียง รูปภาพหรือสัญลักษณ์ หลังจากการประเมินการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่า ผลการทดสอบถูกต้องหรือไม่ ผู้เรียนมีจุดอ่อน/ข้อบกพร่องตรงไหนและนำไปสู่การปรับปรุง พร้อมทั้งทำให้ผู้เรียนรับรู้ถึงความก้าวหน้าของตนและเป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนอีกด้วย หากผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีคุณภาพจะสามารถชี้แจงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจจนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ และหากข้อมูลป้อนกลับที่ผู้เรียนได้รับสามารถชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการต่อยอดและพัฒนาชิ้นงานให้ดียิ่งขึ้นจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ความมุ่งมั่นและความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
การให้ข้อมูลป้อนกลับที่ประสบความสำเร็จจะต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะ 4 ด้าน ดังนี้ 1) การให้ข้อมูลป้อนกลับทันที เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจที่ถูกต้องได้อย่างต่อเนื่องจากการเรียนในห้องเรียน พร้อมทั้งควรการให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึงผู้เรียนทุกคน หากผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับเฉพาะผู้เรียนบางคนอาจทำให้ผู้เรียนรู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำภายในห้องเรียน 2) การให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีคุณภาพ จะช่วยในการพัฒนาผลงานของผู้เรียนในอนาคต หากการให้ข้อมูลป้อนกลับเป็นเพียงคะแนนเท่านั้นอาจทำให้ความสนใจต่อการประเมินลดลงเนื่องจากผู้เรียนไม่ทราบว่าจะต้องปรับปรุงแก้ไขในส่วนใดบ้าง 3) การให้ข้อมูลป้อนกลับไม่ซ้ำซ้อนในประเด็นเดียวกัน ในบางครั้งโจทย์ที่ใช้ในการฝึกฝนผู้เรียนอาจมีประเด็นเดียวกันแต่ให้ฝึกฝนจำนวนหลายข้อโดยการให้ข้อมูลป้อนกลับของผู้สอนไม่ควรให้ข้อเสนอแนะที่ย้ำความผิดพลาดซ้ำ 4) การให้ข้อมูลป้อนกลับที่เข้าใจได้ง่าย ไม่วิพากษ์มากเกินไป ไม่เน้นจุดเฉพาะ ไม่ระบุสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้หรือไม่ระบุถ้อยคำที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ นอกจากนี้ให้ข้อมูลป้อนกลับในลักษณะเชิงเสียดสีจะทำให้ลดแรงจูงใจในการพัฒนาตัวเองของผู้เรียนซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยเช่นกัน
รูปแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามระดับของรายละเอียดในการให้ข้อมูล
1) การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบบอกผลการกระทำ (Knowledge of Result Feedback; KORE) หมายถึง ข้อมูลป้อนกลับแบบเฉลยคำตอบ (Correct/Incorrect Message) ซึ่งจะบอกผู้เรียนว่าคำตอบของ ผู้เรียนถูกหรือผิด ถ้าผิดจะมีการเฉลยคำตอบ
2) การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง (Corrective Feedback หรือ Knowledge of Corrective Result Feedback; KCRF) หมายถึง การให้ข้อมูลป้อนกลับที่ให้ข้อมูลหรืออธิบายเกี่ยวกับการ กระทำของผู้เรียนว่าถูกหรือผิด พร้อมทั้งบอกแนวทางที่ถูกต้องให้กับผู้เรียน
3) การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบแสดงรายละเอียด (Elaborated Feedback/Explanatory Feedback) หมายถึง การบอกข้อมูลผลการตอบคำถามของผู้เรียนว่ามีความถูกต้องหรือไม่ อธิบาย รายละเอียดว่าทำไมคำตอบที่ถูกจึงถูกหรือทำไมคำตอบที่ผิดจึงผิด อีกทั้งยังบอกขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างละเอียดและหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องหรือความเข้าใจผิดอันจะเพิ่มเติมความรู้ให้ผู้เรียน โดยการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบอธิบายรายละเอียดเป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับในรูปแบบที่ซับซ้อน (Complex Forms) ซึ่งอาจใช้การอธิบาย (Explain) การชี้นำ (Direct) หรือการกำกับติดตาม (Monitor) ซึ่งอาจจะใช้ร่วมกับข้อมูลป้อนกลับแบบบอกผลการกระทำ (Knowledge of Result Feedback; KORF) เพื่อให้ผู้เรียนทราบหลักการที่มาของการแก้ปัญหาแต่ละขั้นตอน
Hattie & Timperley (2007) Gorard & Siddiqui (2016) ได้จัดประเภทการให้ข้อมูลป้อนกลับไว้ในโมเดล A Model of Feedback to Enhance Learning ซึ่งประกอบด้วย
1) Where am I going? (Feed up) เป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับในประเด็นที่เน้นสิ่งที่ผู้ถูกประเมินควรจะทราบความถูกหรือผิดของข้อมูลที่กำลังวัด
2) How am I going? (Feedback) บอกวิธีการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนาชิ้นงาน รวมถึงวิธีการค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาศักยภาพของตน
3) Where to next? (Feed forward) การข้อมูลป้อนกลับเพื่อชี้แนะแนวทางในการต่อยอดและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยข้อมูลป้อนกลับที่ดีไม่ควรมีเพียงความคิดเห็นต่อผลงานเท่านั้นแต่ควรมีการแนะนำถึงสิ่งที่ควรกระทำในครั้งต่อไปร่วมด้วย
ตัวอย่างการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบเสียง
การให้ข้อมูลป้อนกลับ | Feed up | Feedback | Feed forward |
สถานการณ์: เมื่อนักศึกษา เขียนโปรแกรมยืมคืนหนังสือห้องสมุด |
ใช่เลย ลำดับความคิดถูกต้องแล้ว โปรแกรมดำเนินงานได้ดีค่ะ | โปรแกรมโอเคแล้วนะคะ ถ้าอยากให้โปรแกรมดำเนินงานเร็วขึ้นสามารถหา syntax เพิ่มได้ใน stack workflow นะคะ | ครูคิดว่า ส่วนนี้ที่นักศึกษาทำมาสามารถต่อยอดเป็นแอปพลิเคชั่นเพื่อนำไปใช้จริงได้เลยนะคะ |
หากครูผู้สอนได้รับการฝึกฝนสำหรับการให้ข้อมูลป้อนกลับจะทำให้ผู้สอนสามารถสอบถาม กระบวนการ และระดับของการกำกับตนเองตามระดับของความรู้ ของ Bloom’s Taxonomy คือ 1) ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงและความรู้เชิงมโนทัศน์ (Factual Knowledge & Conceptual Knowledge) คือการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเนื้อหา และเข้าใจความสัมพันธ์ จัดประเภท หลักการของเรื่องที่กำลังศึกษา 2) ความรู้ในการดำเนินการ (Procedural Knowledge) คือ การเข้าใจเทคนิคการทำงาน ทักษะเฉพาะ และ 3) ความรู้อภิปัญญา (Metacognitive Knowledge) คือ ความรู้ความเข้าใจ สรุปความคิด สามารถแก้ปัญหาภายใต้เงื่อนไข และทราบจุดแข็งจุดอ่อนตนเอง
การให้โจทย์และการให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีประสิทธิภาพตามมิติความรู้ของ Bloom’s Taxonomy
มิติความรู้ | การให้โจทย์และการให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ | ||
Feed up | Feedback | Feed forward | |
ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงและความรู้เชิงมโนทัศน์
(Factual Knowledge & Conceptual Knowledge)
|
ก่อนมอบหมายงานจะยกตัวอย่าง “ให้ผู้เรียนบอกอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร และให้นักเรียนจัดลำดับพร้อมทั้งอธิบายเหตุผล” | เมื่อทำการตรวจงานนักเรียน จะหลีกเลี่ยงการการตรวจและเฉลยทีละข้อ แต่จะให้นักเรียนทราบจำนวนข้อที่ถูกและผิด เช่น “ถูกเจ็ดข้อ ผิดสามข้อ จงหาข้อที่ผิดและทำการแก้ไข” | ให้ข้อมูลนักเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาเพิ่มเติมที่จำเป็นในการทำงานที่สั่ง “ความจำเป็นที่ต้องทราบเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง” ภาพหลังการเรียนเรื่อง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง |
ความรู้ในการดำเนินการ (Procedural Knowledge) |
ให้นักเรียนมีอิสระในการออกแบบคำตอบของพวกเขา | ช่วยเหลือนักเรียนโดยการให้คำสั่งที่เฉพาะเจาะจงแก่นักเรียน เช่น “ไม่ควรลืมระบุประเด็น หลักฐาน และคำอธิบาย ควรมีคำอธิบายของประเด็นต่างๆ ในงานของนักเรียน” | บอกนักเรียนว่า “ลองดูหัวข้อถัดไปของหนังสือเรื่องของสมการกำลังสอง อะไรคือขั้นตอนที่ใช้ในการแก้โจทย์สมการ เราจะเรียนส่วนถัดมากันในลำดับต่อไป” |
ความรู้อภิปัญญา (Metacognitive Knowledge) |
ให้ตัวอย่างของงานแล้วถามนักเรียนถึงเงื่อนไขในการสร้างสรรค์ผลงานที่ “โดดเด่น”ให้ความสำเร็จ | ก่อนจะส่งงาน ให้นักเรียนประเมินตนเองหรือให้เพื่อนประเมินงานโดยใช้เงื่อนไขหรือข้อชี้แนะในการปรับปรุงงาน | นักเรียนควรสร้างแผนการดำเนินงานสำหรับขั้นตอนต่อไปของโครงการด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่มเพื่อยกระดับงานให้สูงขึ้น |
งานวิจัยจำนวนมากอธิบายถึงการให้ข้อมูลป้อนกลับชี้แนะเพื่อการปรับปรุง (Feed forward) เป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวกที่จะส่งผลให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการทำงานที่ท้าทายความรู้ ความสามารถของตนมากขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการทำงาน เกิดความพยายามที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเพื่อก่อให้เกิดความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นลักษณะการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ดีกว่าการให้ข้อมูลป้อนกลับในลักษณะเดิมทุกครั้ง
นอกจากการให้ข้อมูลป้อนกลับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่กำลังเรียนรู้นั้น จะสามารถเพิ่มเติมรายละเอียดอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น เช่น การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบจูงใจหรือเสริมแรง (Motivational Feedback) โดยให้การชมเชยหรือรางวัลเพื่อเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดความคงทนในการทำงานและสร้างกําลังใจในการเรียนรู้ การให้ข้อมูลป้อนกลับในเชิงบวก (Positive Feedback) การบรรยาย/อธิบายถึงพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับว่ามีพฤติกรรมที่ดีอย่างไร สิ่งใดเป็นการกระทำที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับเกิดแรงจูงใจที่จะปฏิบัติพฤติกรรมนั้นอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
Reference:
Butler, A. (2022, March 1). When Feedback Met Bloom. https://leadinglearner.me/2013/12/08/when-feedback-meet-bloom/
Carless, D. (2006). Differing perceptions in the feedback process. Studies in higher education, 31(2), 219-233.
Carless, D., Salter, D., Yang, M., & Lam, J. (2011). Developing sustainable feedback practices. Studies in higher education, 36(4), 395-407.
Goldsmith, M. (2003). Try feedforward instead of feedback. Journal for Quality and Participation, 38-40.
Govaerts, M. J., van de Wiel, M. W., & van der Vleuten, C. P. (2013). Quality of feedback following performance assessments: does assessor expertise matter?. European Journal of Training and Development. 37(1), 105-125.
Hattie, J., & Timperley, H. (2007). The power of feedback. Review of educational research, 77(1), 81-112.
Penn, P., & Wells, I. (2017). Enhancing Feedback and Feed-Forward via Integrated Virtual Learning Environment Based Evaluation and Support. Psychology Teaching Review, 23(2), 60-65.
Scherer, M. (Ed.). (2009). Engaging the whole child: Reflections on best practices in learning, teaching, and leadership. ASCD.
See, B. H., Gorard, S., & Siddiqui, N. (2016). Teachers’ use of research evidence in practice: A pilot study of feedback to enhance learning. Educational Research, 58(1), 56-72.
Shute, V. J. (2008). Focus on formative feedback. Review of educational research, 78(1), 153-189.
Sutton, P., & Gill, W. (2010). Engaging Feedback: Meaning, Identity and Power. Practitioner Research in Higher Education, 4(1), 3-13.
Everyone! Hurry up and read this! Not only is it beneficial, but it’s even free! I really like to see your blog. It’s like I’m having eyes to see the world more and more properly. I’m so glad I found you. Please continue to post good comments. 안전토토사이트
I read your article in an instant. You have no idea how hard I’ve been trying to find a good article on this topic for a week. I think that’s why your writing shines more. Thank you so much for sharing good information. I’ll look for more of your posts. And I think my writing on the topic you wrote will help you. I hope you come to my blog and read it. 메이저토토사이트
I think this article is very useful. It’s full of information for my work. Thanks to you, I’m glad I got a lot of good information. Thank you for writing this article. 😀 먹튀검증
Wendy’s is an American international fast food restaurant chain. It was founded on November 15, 1969 by Dave Thomas, in Columbus, Ohio.
Wendy’s Breakfast Menu 2022