เนื้อหา
สิ่งที่ทำได้โดยที่ไม่ต้อง login:
- อ่านบทความที่เผยแพร่ทั่วไป
- เขียน comment
สิ่งที่จำเป็นต้อง login
- การเขียนบทความใหม่ (+ใส่รูป)
- การล็อคบทความเพื่อเผยแพร่เป็นการภายใน
ใช้ระบบ KM แล้วดีอย่างไร?
- เมื่อเทียบกับการโพสต์ลง facebook (page, group)
- เมื่อเทียบกับการบันทึกลงไฟล์ในคอมพิวเตอร์
การเข้าสู่ระบบและการอ่านบทความ
สามารถเข้าสู่ระบบได้ 2 วิธีคือ
- เปิดโดยตรง http://celt.li.kmutt.ac.th/km
- เปิดจากเว็บของ CELT ที่ http://celt.li.kmutt.ac.th และคลิกที่เมนู KM บริเวณบนขวา
จะได้พบกับหน้าแรกของระบบ KM ลักษณะนี้
คลิกที่แถบเมนูด้านบนเพื่ออ่านบทความที่ tag ไว้ในแต่ละหมวดหมู่ เช่นหมวดหมู่ research ดังภาพ:
คลิกที่หัวบทความเพื่ออ่านบทความ ซึ่งในกรณีทั่วไป ทุกคนจะสามารถอ่านได้โดยไม่ต้อง sign in
แต่บางครั้งระบบจะบังคับให้ต้อง sign in เนื่องจากผู้เขียนบทความดังกล่าวต้องการเผยแพร่เป็นการภายในเท่านั้น ในกรณีนี้ท่านสามารถพิมพ์ username และ password ตรงนี้ได้ทันที เช่น:
การเขียน Comment
ท่านสามารถเขียน comment ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้อง sign in แต่ถ้าท่าน sign in ระบบจะพิมพ์ชื่อจริงให้ท่านโดยอัตโนมัติ และจะสามารถเปิดดู/ลบ/แก้ไข comment ของตนเองได้ง่ายขึ้น โดยเลื่อนหน้าจอลงมาด้านล่างสุดจะพบกล่อง comment ดังภาพ
เมื่อพิมพ์แล้วระบบจะเลือกภาพตัวแทนให้ท่านโดยอัตโนมัติ เป็น monster หนึ่งตัว ดังภาพ:
วิธีการ Sign in
โดยปกติ ท่านสามารถ sign in ได้สองวิธี จะเลือกวิธีใดก็ได้ วิธีที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการกดที่ปุ่ม Sign In ที่แถบเมนูด้านบนซ้ายสุด ดังภาพ
อีกวิธีหนึ่งคือเลื่อนหน้าจอลงมาด้านล่างสุด แล้วกรอก username กับ password ที่กล่องด้านล่างซ้าย ดังภาพ:
หลังจากนั้นจะมีแถบเมนูสีดำโผล่ขึ้นมาด้านบนสุด สามารถใช้ในการจัดการ post ต่างๆ ได้ (เช่น เขียน ลบ แก้ ฯลฯ)
การเขียนบทความใหม่
หลังจาก sign in แล้วให้กดปุ่ม + New ที่แถบด้านบนสุด แล้วเลือก Post ดังภาพ
พิมพ์ชื่อบทความ เลือก mode การแก้ไขเป็น Visual และพิมพ์เนื้อหาของบทความ (โดยอาจ copy มาจาก Microsoft Word ก็ได้)
- หากท่านมีรูปภาพ ก็ลากจากคอมพิวเตอร์ (Windows Explorer หรือ Finder) มาปล่อยลงในบริเวณข้อความเลยก็ได้
- กด Save Draft เป็นระยะๆ (สาธารณชนยังไม่เห็นบทความนี้)
- เมื่อพร้อมแล้วให้กดปุ่ม Publish สีน้ำเงิน (ข้อความจะเป็นสาธารณะทันที)
การทำภาพจั่วหัว (featured image)
บทความของท่านจะดูน่าตื่นเต้นขึ้นถ้ามีภาพจั่วหัวให้ผู้คนมองเห็นได้ทันทีในหน้าหลัก วิธีการมีดังนี้
- เลื่อนหน้าจอลงมาด้านล่างสุด แล้วมองหากล่อง Featured Image ทางขวามือ ดังภาพ:
- คลิกที่ Set featured image จะมีกล่องรูปภาพโผล่ขึ้นมา ดังภาพ:
- สามารถลากภาพจากคอมพิวเตอร์เข้าไปปล่อยในกล่องนี้ก็ได้ หรือจะกด Upload File ที่มุมบนซ้ายก็ได้ จากนั้นให้กดปุ่ม Set featured image สีน้ำเงินด้านล่างขวา
การล็อคบทความเพื่อเผยแพร่เป็นการภายใน
ข้อจำกัด:
- บุคคลภายนอกสามารถมองเห็น หัวข้อ และ ภาพจั่วหัว ของทุกบทความได้ ไม่ว่าจะเป็นบทความที่ถูกล็อคไว้หรือไม่ก็ตาม แต่บุคคลภายนอกจะไม่สามารถอ่านเนื้อหาของบทความที่ถูกล็อคไว้ตามคำแนะนำด้านล่างนี้ได้
- อย่าโพสต์เรื่องที่เป็นความลับสำคัญในระบบนี้ (เช่น username & password, ข้อมูลส่วนตัวทางการแพทย์ของบุคลากร, ความลับทางราชการ ฯลฯ) เนื่องจาก WordPress ไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็นระบบจัดเก็บและปกป้องความลับ
วิธีการ:

- เข้าสู่ระบบและพิมพ์บทความใหม่ จากนั้นให้นำ cursor ไปไว้ด้านบนสุดของบทความ
- กดปุ่ม Insert Read More Tag
- กดเลือก Block this post (ให้มีเครื่องหมายถูก)
- ท่านจะได้เห็นบรรทัดเส้นประสีเทาๆ เขียนว่า More (ดังภาพ) ซึ่งเรียกว่า More Tag
- ข้อความใดที่อยู่ด้านบน More Tag จะสามารถอ่านได้โดยทุกๆ คน
- ข้อความใดที่อยู่ด้านล่าง More Tag จะถูกปกปิดไว้ให้เฉพาะคนที่ Sign in เท่านั้น
ใช้ระบบ KM แล้วดีอย่างไร?
- เมื่อเทียบกับการโพสต์ลง facebook (page, group)
- เราสามารถนำสิ่งที่เขียนในระบบ KM ไปโพสต์บน Facebook ได้อยู่ดี!
- ระบบ KM มี URL (หรือที่เรียกว่า permalink) ที่สามารถส่งให้คนในวงกว้างได้แม้จะไม่ใช่ Friends
- ระบบ KM สามารถค้นหาบทความได้ง่ายมาก (ด้วยการพิมพ์ข้อความ หรือการกดดูตาม tag)
- ระบบ KM สามารถเขียนข้อความร่วมกับรูปภาพได้ง่าย
- ข้อความกับรูปภาพสามารถอยู่สลับที่กันได้ (ใน facebook note จริงๆ ก็ทำได้ แต่ลำบาก)
- สามารถแนบไฟล์ที่ไม่ใช่รูปภาพได้ เช่น ไฟล์เสียง, ไฟล์ pdf, Excel, Word กี่ไฟล์ก็ได้
- ข้อมูลทุกชิ้นในระบบ KM ถูกเก็บอยู่บน server ของเราเอง การอัพโหลด/ดาวน์โหลด ไฟล์ใหญ่ๆ ทำได้รวดเร็ว
- เมื่อเทียบกับการบันทึกลงไฟล์ในคอมพิวเตอร์
- ระบบ KM ทำให้สามารถแบ่งปันข้อความหรือไฟล์กับคนอื่นได้ง่ายๆ
- ระบบ KM สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่ายโดยไม่ต้องจำว่าเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องใด
- ระบบ KM มีการ backup ข้อมูลประจำทุกวันโดยอัตโนมัติ
KM 3.0
แนวคิด KM 3.0 ตามแนวทางของ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ระบุว่านอกจากจะต้องสามารถค้นหาข้อความได้ง่ายๆ แบ่งหมวดหมู่ได้ง่ายๆ แล้ว ยังจะต้องมีการสรุปข้อมูลให้เห็นเป็นภาพได้ง่ายๆ อีกด้วยโดยอาจใช้เทคนิคต่างๆ เช่น WordCloud
ณ เวลานี้ (ก.ย. 2559) เรายังไม่ถึงขั้นนั้น แต่การใช้ WordPress จะทำให้เรามีฐานข้อมูลที่สามารถประมวลผลได้ง่าย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาระบบสู่ KM 3.0 ได้ในอนาคต
ตัวอย่างที่น่าสนใจที่รวบรวมโดย Linnaeus University, Sweden http://textvis.lnu.se