Audiobooks & Podcasts
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
- การส่งข้อมูลแบบ Push
ระบบช่วยดาวน์โหลดตอนใหม่ให้อัตโนมัติ และลบตอนเก่าเมื่อฟังจบ - เรียนรู้ร่วมกับกิจกรรมอื่นได้
ฟังในรถระหว่างเดินทาง หรือฟังบนโทรศัพท์ระหว่างเดินเล่น - เหมาะกับเนื้อหายาว
ผู้ฟังใช้เวลากับสื่อทางเสียงยาวนานกว่าการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ - ปรับความเร็วได้
ปรับช้าลงเพื่อให้เข้าใจภาษาต่างประเทศ หรือปรับเร็วขึ้นเพื่อประหยัดเวลา - การทำ bookmark
ไฟล์ .m4b สำหรับ audiobook มีการแบ่งตามบท สามารถคั่นหน้าได้ - ความเท่าเทียม
ทำให้ผู้พิการทางสายตาและการอ่าน มีโอกาสเรียนรู้อย่างเท่าเทียม
เคล็ดลับ
- แบ่งงานเป็นบทเล็ก ๆ
ใช้ crowdsourcing ในการอ่านหนังสือเสียง โดยแบ่งกันอ่านคนละบท - หนังสือฉบับย่นย่อ (abridged)
แปลงหนังสือเล่มยาวให้เป็นหนังสือเสียงฉบับย่อ เพื่อให้วางขายได้เร็วขึ้น - ลองอ่านแบบ drama
ดัดเสียงตามตัวละคร หรือใช้ผู้อ่านสองคน อาจใช้เสียงดนตรีและ sound effect - ใช้พิธีกรร่วม
ทดลองรูปแบบการสัมภาษณ์ การแบ่งช่วงตอน การโต้วาที หรือเกมโชว์ - ระดมทุนด้วย crowdfunding
รับเงินบริจาคจากผู้ฟัง ขายของ freemium และให้สิทธิพิเศษแก่ผู้สนับสนุน
การนำไปใช้
- ห้องสมุดเพื่อผู้พิการ
คนตาบอดและ dyslexic สามารถฟังหนังสือเสียงผ่าน hot line ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย - ห้องสมุดยุคใหม่
ให้สมาชิกยืมหนังสือเสียงผ่านโปรแกรม OverDrive หรือ Hoopla - บันทึกการสอนในห้อง
ผู้เรียนทบทวนเนื้อหาผ่าน podcast แทนการอ่านตำรา ต้นทุนการผลิตต่ำ - สื่อสารภายในองค์กร
ใช้ podcast สร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงาน ร่วมกิจกรรมสนุกที่มีรางวัล - สมาคมนักฟัง
Audiobook & Podcast Club คล้าย Book Club เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น - สื่อนำเที่ยว
พิพิธภัณฑ์ จัดให้มี audio tour โดยผู้เข้าชมสามารถเป็นมัคคุเทสก์ให้ตนเองได้
ตัวอย่างแหล่งเรียนรู้
** audiobooks **
- Audible
มีหนังสือเสียงกว่า 150,000 เล่ม สามารถซื้อ เช่า หรือเป็นสมาชิกเพื่อรับหนังสือรายเดือนก็ได้ - โครงการ Read for the Blind
โครงการ crowdsourcing ให้คนทั่วไปช่วยกันอ่านหนังสือให้คนตาบอด - Ookbee
อุ๊คบี = อีบุ๊ค จำหน่ายทั้ง e-book และ audiobook ภาษาไทย มีหนังสือหลายประเภท เช่น การเลี้ยงลูก จิตวิทยา เด็กและเยาวชน
** podcasts **
- Intelligence Squared US
โต้วาทีประเด็นสังคม ผู้ชนะคือฝ่ายที่สามารถโน้มน้าวให้คนเปลี่ยนใจได้มากที่สุด - WiTcast
รายการคุยวิทย์ติดตลก โดย แทนไท ประเสริฐกุล เนื้อหาเป็นวิทยาศาสตร์เบาสมอง บนเว็บไซต์มีภาพประกอบการสนทนา - The Momentum Podcast
Carpe Diem (การทำงาน), Hollywood Insider (ภาพยนตร์), The Money Coach (การเงิน), Eargasm (ดนตรี), และ What Do You Say (การสื่อสาร)
Credits
ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอผลงาน “โครงการศึกษาวิจัยรูปแบบการเรียนรู้สำหรับคนรุ่นใหม่” ดำเนินการวิจัยโดย สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) จัดเผยแพร่ผลงานภายใต้หัวข้อ
Make Learning Great, Again and Again and Again!
วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 เวลา 8:30 – 12:30 น.
ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์ อาคารเรียนรวม 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
website: http://MLGAAA.com
Some images are taken from FreePik.com. Those images are created by FreePik.